แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นเรื่องตีความข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง1(2)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคือ200บาท
ย่อยาว
คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 6ส่งมอบ น.ส. 3 เลขที่ 111, 125, 138, 139 และ 145 ซึ่ง เป็น ของจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5 ให้ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5ไป จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ทะเบียน ที่ดิน ตาม น.ส. 3 ดังกล่าว ซึ่งจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 5 กับพวก อีก 2 คน ได้ ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน ทั้ง5 แปลง พร้อม ที่ดิน มือเปล่า อีก 3 แปลง รวม 8 แปลง ให้ แก่ โจทก์ต่อมา วันที่ 18 เมษายน 2534 โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง หก ได้ ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน ศาลชั้นต้น พิพากษา ตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ ผิดนัด ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ข้อ 1จำเลย ที่ 6 จึง ปฏิบัติ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ข้อ 5 และ จะ เข้าครอบครอง ที่ดิน ทั้ง 8 แปลง ตาม ฟ้อง ทั้งหมด แต่ โจทก์ ไม่ยอม วันที่27 กุมภาพันธ์ 2535 จำเลย ที่ 6 ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลชั้นต้น ตีความข้อความ ใน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ว่า ที่ดินพิพาท ที่ ระบุ ในสัญญา ประนีประนอม ยอมความ รวม ถึง ที่ดิน มือเปล่า ทั้ง 3 แปลงด้วย หรือไม่ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง เมื่อ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536วินิจฉัย ว่า รวม ถึง ที่ดิน มือเปล่า ทั้ง 3 แปลง ด้วย
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง โดย เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ อย่าง คดีไม่มี ทุนทรัพย์ และ ยื่น คำร้องขอ ทุเลาการบังคับคดี ศาลชั้นต้น สั่ง ให้โจทก์ เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ อย่าง คดีมีทุนทรัพย์ ครั้น วันที่9 มีนาคม 2536 โจทก์ ได้เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ เพิ่ม อีก 7,100 บาทศาลชั้นต้น ได้ สั่ง รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ สำเนา ให้ จำเลย ต่อมา วันที่17 มีนาคม 2536 โจทก์ ได้ ยื่น คำร้องขอ แก้ไข อุทธรณ์ ว่า อุทธรณ์ ของโจทก์ เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ ขอให้ ศาลอุทธรณ์ เพิกถอน คำสั่งศาล ชั้นต้นและ สั่ง คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ จำนวน 7,100 บาท ให้ แก่ โจทก์ และใน วันเดียว กัน นั้น โจทก์ ได้ ยื่น คำร้องขอ ถอน อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึง ส่ง สำนวน ไป ศาลอุทธรณ์ เพื่อ พิจารณา สั่ง
ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ ถอน อุทธรณ์ คืน ค่าขึ้นศาลให้ โจทก์ สาม ใน สี่ จำหน่ายคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า โจทก์ ขอ ถอน อุทธรณ์เฉพาะคดี แพ่ง หมายเลขแดง ที่ 243/2534 ของ ศาลชั้นต้น แต่ ศาลอุทธรณ์อนุญาต ให้ โจทก์ ถอน อุทธรณ์ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 244/2534ของ ศาลชั้นต้น ด้วย จึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ ชอบ ที่ จะ มี คำสั่งให้ จำหน่ายคดี เฉพาะคดี แพ่ง หมายเลขแดง ที่ 243/2534 และ ดำเนินการพิจารณา คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 244/2534 เกี่ยวกับ อุทธรณ์ คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี และ คำร้องขอ คืน ค่าฤชาธรรมเนียม ต่อไป นั้นเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ จำหน่ายคดี นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจาก ศาลอุทธรณ์ ได้ มี คำสั่ง คืน ค่าขึ้นศาล ให้ โจทก์สาม ใน สี่ จึง พอ ถือได้ว่า โจทก์ ฎีกา ใน เรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่ง โจทก์ได้ ยื่น คำร้องขอ แก้ไข อุทธรณ์ ใน เรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียม ไว้ แล้วโจทก์ อุทธรณ์ คัดค้าน คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น เรื่อง ตีความ ข้อความใน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ จึง เป็น คดี ที่ มี คำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์อัน ไม่อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ ต้อง เรียกเก็บ ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ตาราง 1(2) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคือ เรื่อง ละ 200 บาท การ ที่ ศาลชั้นต้น เรียกเก็บ ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ตาม ทุนทรัพย์ จึง ไม่ถูกต้อง ตาม กฎหมาย และ ศาลอุทธรณ์สั่ง คืน ค่าขึ้นศาล ให้ โจทก์ สาม ใน สี่ ก็ เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ อื่น ไม่จำต้อง วินิจฉัย
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ จำนวน 7,100 บาทที่ เสีย เกิน มา ให้ โจทก์ โจทก์ เสีย ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ มา สำนวน ละ200 บาท ซึ่ง เป็น อัตรา อย่าง ต่ำ จึง ไม่คืน ให้ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็นไป ตาม คำสั่งศาล อุทธรณ์