แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ก็เป็นบุตรนายย. ซึ่งเป็นคนญวนอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิชอบแล้วได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับนาง ว.ซึ่งเกิดที่จังหวัดสกลนครและมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแม้โจทก์ที่1ถึงที่8และโจทก์ที่9ถึงที่12จะมิได้ถูกถอนสัญชาติไทยและมิได้ถูกจำกัดมิให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แต่โจทก์ทั้งสิบสองก็เป็นผู้ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา7ทวิวรรคหนึ่ง(3)แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา5เพราะพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา11บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ สอง เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทยและ ให้ ถอน ชื่อ โจทก์ ทั้ง สิบ สอง ออกจาก ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ ห้าม จำเลยกระทำการ ใด ๆ รบกวน หรือ โต้แย้ง สิทธิ เกี่ยวกับ สัญชาติ ของ โจทก์ทั้ง สิบ สอง
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ สอง เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทยให้ ถอน ชื่อ โจทก์ ทั้ง สิบ สอง ออกจาก ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ ครอบครัว ที่137 ของ สำนักงาน 114 จังหวัด สกลนคร
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ ทั้ง สอง ฝ่าย ไม่ โต้เถียง กันคง รับฟัง ยุติ ได้ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ สอง เป็นบุตร นาย ยุง ฮวางวัน กับ นาง เวียง ห่อตัน ซึ่ง อยู่กิน เป็น สามี ภริยา กัน โดย มิได้ จดทะเบียนสมรส นาย ยุง เป็น คนญวน อพยพ ที่ เข้า มา อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย นาง เวียง เกิด ที่ จังหวัด สกลนคร และ มี ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว โจทก์ ทั้งสิบ สอง เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย จำเลย ดำรง ตำแหน่ง ปลัดจังหวัดสกลนคร และ ได้รับ การ แต่งตั้ง เป็น นายทะเบียน สำนักงาน 114 จังหวัดสกลนคร ตาม สำเนา คำสั่ง กองอำนวยการ รักษา ความ มั่นคง ภายในที่ 31/2531 เอกสาร หมาย จ. 4 โจทก์ ทั้ง สิบ สอง ถูก จด แจ้ง ชื่อ ลง ในทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ ว่า เป็น ผู้ มี สัญชาติ ญวน ตาม สำเนา ทะเบียนบ้านญวน อพยพ ครอบครัว ที่ 137 และ สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสาร หมาย จ. 5 และ จ. 6คดี มี ปัญหา วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ตาม ฎีกา จำเลย ว่า โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8ถูก ถอน สัญชาติ ไทย และ โจทก์ ที่ 9 ถึง ที่ 12 ถูก จำกัด มิให้ ได้รับสัญชาติ ไทย หรือไม่ และ โจทก์ ทั้ง สิบ สอง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย หรือไม่ซึ่ง จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ สอง เป็น ผู้ ไม่มี สัญชาติ ไทย โดย นาย ยุง บิดา โจทก์ ทั้ง สอง เป็น คนญวน อพยพ ที่ เข้า มา อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำ ว่า “บิดา ” ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 มิได้ หมายถึง บิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย เท่านั้นแต่ รวม ถึง บิดา ตาม ความ เป็น จริง ด้วย โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8 เกิด ก่อนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้ บังคับ โจทก์ ที่ 9 ถึง ที่ 12เกิด เมื่อ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้ บังคับ แล้วโจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8 จึง ถูก ถอน สัญชาติ ไทย ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ส่วน โจทก์ ที่ 9 ถึง ที่ 12 ก็ เป็น ผู้ ถูก จำกัด มิให้ได้รับ สัญชาติ ไทย ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2และ โจทก์ ทั้ง สิบ สอง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ซึ่ง เป็น นายทะเบียน ให้ถอน ชื่อ โจทก์ ทั้ง สิบ สอง ออกจาก ทะเบียนบ้าน ญวน อพยพ
ปัญหา ว่า โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8 ถูก ถอน สัญชาติ ไทย และ โจทก์ที่ 9 ถึง ที่ 12 ถูก จำกัด มิให้ รับ สัญชาติ ไทย หรือไม่ ปรากฏว่า ก่อน ที่จำเลย จะ ยื่นฎีกา ได้ มี พระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535มาตรา 3 บัญญัติ ให้ยก เลิก ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 มาตรา 4 และ 5 บัญญัติ ให้ยก เลิก ความในมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 โดย ให้ ใช้ ความ ใหม่ แทนและ เพิ่ม มาตรา 7 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508ดัง มี ข้อความ ต่อไป นี้
“มาตรา 7 บุคคล ดัง ต่อไป นี้ ย่อม ได้ สัญชาติ ไทย โดย การ เกิด
(1) ผู้ เกิด โดย บิดา หรือ มารดา เป็น ผู้ มี สัญชาติ ไทย ไม่ว่า จะ เกิดใน หรือ นอก ราชอาณาจักรไทย
(2) ผู้ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย ยกเว้น บุคคล ตาม มาตรา 7 ทวิวรรคหนึ่ง
มาตรา 7 ทวิ ผู้ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย โดย บิดา และ มารดา เป็นคนต่างด้าว ย่อม ไม่ได้ รับ สัญชาติ ไทย ถ้า ใน ขณะที่ เกิด บิดา ตาม กฎหมายหรือ บิดา ซึ่ง มิได้ มี การ สมรส กับ มารดา หรือ มารดา ของ ผู้ นั้น เป็น
(1) ผู้ที่ได้รับ การ ผ่อนผัน ให้ พัก อาศัย อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทยเป็น กรณี พิเศษ เฉพาะ ราย
(2) ผู้ที่ได้รับ อนุญาต ให้ เข้า อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย เพียงชั่วคราว หรือ
(3) ผู้ที่ เข้า มา อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ตามกฎหมาย ว่าด้วย คนเข้าเมือง
ใน กรณี ที่ เห็นสมควร รัฐมนตรี จะ พิจารณา และ สั่ง เฉพาะ ราย ให้บุคคล ตาม วรรคหนึ่ง ได้ สัญชาติ ไทย ก็ ได้ ตาม หลักเกณฑ์ ที่ คณะรัฐมนตรีกำหนด
ให้ ถือว่า ผู้ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย ซึ่ง ไม่ได้ สัญชาติ ไทย ตามวรรคหนึ่ง เป็น ผู้ที่ เข้า มา อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย โดย ไม่ได้ รับ อนุญาตตาม กฎหมาย ว่าด้วย คนเข้าเมือง เว้นแต่ จะ มี การ สั่ง เป็น อย่างอื่นตาม กฎหมาย ว่าด้วย การ นั้น ”
เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ สอง เป็น บุตร นาย ยุง ฮวางวัน กับ นาง เวียง ห่อตัน ซึ่ง อยู่กิน เป็น สามี ภริยา โดย มิได้ จดทะเบียนสมรส นาย ยุง เป็น คนญวน อพยพ ที่ เข้า มา อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย นาง เวียง เกิด ที่ จังหวัด สกลนคร และ มี ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว แม้ โจทก์ ทั้ง สิบ สอง จะ เป็น ผู้ เกิด ในราชอาณาจักรไทย แต่ บิดา และ มารดา ก็ เป็น คนต่างด้าว ทั้ง ใน ขณะเกิด นาย ยุง บิดา ซึ่ง มิได้ มี การ สมรส กับ นาง เวียง มารดา เป็น ผู้ที่ เข้า มา อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ตาม กฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ดังนี้ แม้ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8 และ โจทก์ ที่ 9ถึง ที่ 12 จะ มิได้ ถูก ถอน สัญชาติ ไทย และ มิได้ ถูก จำกัด มิให้ ได้รับสัญชาติ ไทย ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แต่ โจทก์ ทั้ง สิบ สองก็ เป็น ผู้ ไม่ได้ รับ สัญชาติ ไทย ตาม มาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง (3)แห่ง พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 5 และพระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 11 บัญญัติ ว่าบทบัญญัติ มาตรา 7 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติ นี้ ให้ มีผล ใช้ บังคับ กับ ผู้ เกิดก่อน วันที่ พระราชบัญญัติ นี้ ใช้ บังคับ ด้วย เมื่อ วินิจฉัย ดังนี้ แล้วกรณี จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ข้อ ฎีกา อื่น ของ จำเลย ต่อไป ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์