คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ รับช่วงสิทธิของ ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่จำเลยทำไว้กับผู้เอาประกันภัยของจำเลยจึงเป็นการฟ้องในมูล สัญญาประกันภัยมิใช่มูลละเมิด อายุความฟ้องคดีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคแรกคือ2ปีซึ่งใช้บังคับถึงกรณีที่บุคคลผู้ต้องเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกันภัยฟ้องร้องผู้รับประกันภัยด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ รับประกัน ภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน1ท-9076 กรุงเทพมหานคร จำเลย รับประกัน ภัย รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 2ช-6091 กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2532 ขณะที่นาย ดอกรัก ยิ้มใย ขับ รถยนต์ คัน ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ มา ตาม ถนน วิภาวดีรังสิต มี นาย ชินพร ขับ รถยนต์ ตาม หลัง มา และ ด้วย ความประมาท ของ นาย ชินพร ทำให้ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน เกิด เฉี่ยว ชนกัน และ ได้ รับ ความเสียหาย โจทก์ ได้ ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ ผู้เอาประกันภัยไป แล้ว จำนวน 6,300 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชดใช้ เงิน จำนวน 6,300 บาทพร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ผู้เอาประกันภัย กับ โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ รถ หรือมี ส่วนได้เสีย ไม่มี สิทธิ นำ รถ มา ประกันภัย กับ โจทก์ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เหตุ เกิดจาก ความประมาท ของ นาย ดอกรัก แต่เพียง ฝ่ายเดียว ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน6,300 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ จำเลย เพียง ประเด็น เดียว ว่า คดี โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่โดย จำเลย ฎีกา ว่า มูลคดี นี้ เกิดจาก มูลละเมิด เรื่อง รถยนต์ ชนกัน โจทก์นำ คดี มา ฟ้อง ใน มูลละเมิด หาใช่ มูลคดี อัน เกิดจาก การ ผิดสัญญา ประกันภัยไม่ จึง ต้อง นำ อายุความ เรื่อง ละเมิด ซึ่ง มี อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มา ใช้ บังคับและ คดี นี้ โจทก์ อาศัย การ รับช่วงสิทธิ จาก ผู้เอาประกันภัย ของ โจทก์มา ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ใน มูลละเมิด จาก จำเลย เมื่อ ผู้เอาประกันภัย ของโจทก์ มีสิทธิ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ภายใน อายุความ 1 ปี นับแต่วัน ทำละเมิด โจทก์ ก็ ต้อง รับช่วงสิทธิ ใน อายุความ 1 ปี เช่นกัน ส่วนการ นำ บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ซึ่ง มีอายุความ 2 ปี มา ใช้ บังคับ ต้อง เป็น กรณี ผู้เอาประกันภัย และ ผู้รับประกันภัย ใช้ สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน ตาม สัญญาประกันภัย ต่อ กันเท่านั้น เมื่อ เหตุ ละเมิด เกิด วันที่ 1 ตุลาคม 2532 โจทก์ นำ คดี มา ฟ้องวันที่ 10 กันยายน 2534 อัน เกิน กำหนด 1 ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ รู้ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง รับผิด คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความพิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัยรถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 1ท-9076 กรุงเทพมหานคร จาก นาย วิโรจน์ ฉัตรชยานนท์หรือนายบุ้นล้ำ วราลีลานุกูล จำเลย เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 2ช-6091 กรุงเทพมหานคร จาก นาย ชินพร จาตกานนท์ นาย ชินพร ขับ รถยนต์ คัน ที่ จำเลย รับประกัน ภัย ไว้ ด้วย ความประมาท ปราศจาก ความระมัดระวัง เฉี่ยว ชน รถยนต์ คัน ที่ โจทก์รับประกัน ภัย ไว้ ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ ได้ ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ ผู้เอาประกันภัย ของ โจทก์ จำนวน 6,300 บาท จึง อยู่ ใน ฐานะ เป็นผู้รับช่วงสิทธิ จาก ผู้เอาประกันภัย ของ โจทก์ ใน การ เรียกร้อง ค่าเสียหายดังกล่าว จาก จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน ที่นาย ชินพร ขับ ดังนี้ คำฟ้อง ของ โจทก์ บรรยาย ไว้ ชัดเจน ว่า โจทก์ ฟ้องคดี โดย การ เข้ารับช่วงสิทธิ ของ ผู้เอาประกันภัย กับ โจทก์ มา ฟ้อง ให้ จำเลย ใน ฐานะผู้รับประกันภัย รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตาม สัญญาประกันภัย ที่ ทำ ไว้กับ ผู้เอาประกันภัย ของ จำเลย เป็น การ ฟ้อง ให้ จำเลย รับผิด ใน มูล สัญญาประกันภัย หา ได้ ฟ้อง ให้ จำเลย รับผิด ใน มูลละเมิด ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ไม่จึง นำ อายุความ 1 ปี ใน เรื่อง ละเมิด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มา ใช้ บังคับ ไม่ได้ เมื่อ ความรับผิด ของ จำเลยเป็น ความรับผิด ตาม สัญญาประกันภัย และ การ ประกันภัยค้ำจุน เป็น การประกันวินาศภัย อย่างหนึ่ง อายุความ การ ฟ้อง เรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนจึง อยู่ ใน บังคับ ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่งซึ่ง บัญญัติ ให้ มี อายุความ 2 ปี นับแต่ วันเกิด วินาศภัย และ อายุความ2 ปี ดังกล่าว หา ได้ ใช้ บังคับ ระหว่าง คู่สัญญา ประกันภัย ดัง ที่ จำเลยฎีกา เท่านั้น ไม่ แต่ ใช้ บังคับ ถึง กรณี ที่ บุคคล ผู้ต้อง เสียหาย จาก การกระทำ ของ ผู้เอาประกันภัย ฟ้องร้อง ผู้รับประกันภัย ด้วย โจทก์ ผู้ เข้ารับช่วงสิทธิ ของ บุคคล ผู้ต้อง เสียหาย ซึ่ง เอา ประกันภัย กับ โจทก์ ย่อมมีสิทธิ ฟ้องร้อง จำเลย ผู้รับประกันภัย ภายใน อายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิด วินาศภัย เช่นเดียวกัน เมื่อ วินาศภัย เกิดขึ้น วันที่ 1 ตุลาคม2532 โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 10 กันยายน 2534 ยัง ไม่ พ้น กำหนด2 ปี นับแต่ วันเกิด วินาศภัย คดี โจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ที่ ศาลล่างทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share