คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยตกลงขายที่พิพาทคืนโจทก์ทั้งสองแต่ยอมให้หักเงินที่โจทก์ทั้งสองชำระให้ในการตกลงซื้อคืนครั้งก่อนก่อนที่จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมขายให้ในเวลาต่อมาและนัดจดทะเบียนซื้อขายกันข้อตกลงนี้เป็น สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและถือว่าการที่จำเลยยอมให้หักเงินดังกล่าวออกจากราคาที่พิพาทที่ตกลงกันในครั้งหลังเป็นการ ชำระหนี้บางส่วนแล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสอง จำเลยตกลงขายที่พิพาทคืนโจทก์2ครั้งครั้งแรก วางมัดจำไว้แล้วโจทก์ ผิดสัญญาจึงมีการตกลงราคากันใหม่ในครั้งที่สองโดยจำเลยยอมให้หักเงินมัดจำครั้งแรกออกจากราคาครั้งหลังถือได้ว่าการที่จำเลยยอมให้หักเงินดังกล่าวเป็นการ ชำระหนี้บางส่วนของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ ปี 2513 โจทก์ ได้ ขายฝาก ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 387 แก่ จำเลยและ โจทก์ เป็น ผู้เช่า ที่พิพาท จาก จำเลย แต่ โจทก์ ไม่ ไถ่ คืน ต่อมาโจทก์ ประสงค์ จะซื้อ ที่พิพาท คืน จาก จำเลย จำเลย จะขาย คืน ให้ ใน ราคา80,000 บาท โจทก์ ตกลง และ นำ เงิน ไป ให้ จำเลย ก่อน จำนวน 30,000 บาทส่วน ที่ เหลือ ขอ ผ่อน เป็น เวลา 3 เดือน ครั้น เกิน กำหนด เวลา 3 เดือนโจทก์ ติดต่อ กับ จำเลย ขอ ชำระ เงิน ที่ ค้าง จำเลย อ้างว่า โจทก์ ผิดนัด และตกลง ขาย คืน ให้ เป็น เงิน 105,000 บาท โดย ขอ คิด ค่าเช่า ที่ ค้างชำระอีก 5 ปี ต่อมา มี การ ต่อรอง ราคา ตกลง จะซื้อขาย กัน 97,500 บาท โจทก์ได้ รวบรวม เงิน จะ นำ ไป ชำระ แก่ จำเลย แต่ จำเลย ขอผัด เรื่อย มา ต่อมาจำเลย มี จดหมาย ถึง โจทก์ ว่า จะขาย ที่พิพาท คืน ให้ ใน ราคา 420,000 บาทโจทก์ ขอให้ ขาย คืน ใน ราคา 97,500 บาท จำเลย ไม่ยินยอม ขอให้ บังคับจำเลย ไป ทำนิติกรรม จดทะเบียน โอน ที พิพาท ให้ แก่ โจทก์ โดย โจทก์ ขอ ชำระราคา เป็น เงิน 97,500 บาท หาก จำเลย ไม่ไป ดำเนินการ ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี หนังสือ สัญญาซื้อขาย หรือ หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ หนังสือ คำมั่น ว่า จะขาย ที่พิพาท แต่อย่างใด โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ ไม่เคย มา ติดต่อ ซื้อ ที่พิพาท คืน จำเลย ไม่เคย รับ เงินจำนวน 30,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ ที่ 2 ยื่นคำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ จำเลย ไป ทำนิติกรรม จดทะเบียนโอน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 387ให้ แก่ โจทก์ โดย ให้ โจทก์ ชำระ ราคา ที่ดิน ที่ ค้าง จำนวน 97,500 บาทแก่ จำเลย ก่อน หาก จำเลย ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดงเจตนา ของ จำเลย แทน ได้
จำเลย ฎีกา
ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลฎีกา จำเลย ถึงแก่ความตาย ร้อยตรี สาธร แจ้งสุวรรณ และ นางสาว สมจิตร เยี่ยมวารี ผู้จัดการมรดก ของ จำเลย ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลฎีกา อนุญาต
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น สามี ภริยา กัน เมื่อ ปี 2513 โจทก์ ที่ 1ขายฝาก ที่พิพาท แก่ จำเลย เป็น เงิน 13,000 บาท มี กำหนด ไถ่ คืน ภายในเวลา 3 ปี แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง ก็ เช่า ที่พิพาท จาก จำเลย แต่ โจทก์ ทั้ง สองไม่ได้ ไถ่ ที่พิพาท คืน ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา จำเลย ว่า จำเลย ตกลง ขาย ที่พิพาท คืนให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม บันทึก เอกสาร หมาย จ. 2 หรือไม่ เห็นว่าพยานหลักฐาน โจทก์ ทั้ง สอง สม เหตุ สม ผล มี น้ำหนัก กว่า พยานหลักฐานจำเลย ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ ตกลง ขาย ที่พิพาท คืน โจทก์ ทั้ง สองใน ราคา 105,000 บาท โดย จำเลย ขอ ค่าเช่า ที่ ค้างชำระ จำนวน22,500 บาท ด้วย แต่ ยอม ให้ หักเงิน จำนวน 30,000 บาท ที่ โจทก์ ทั้ง สองชำระ ให้ ใน การ ตกลง ซื้อ ครั้งก่อน คงเหลือ ราคา ที่ จะ ต้อง ชำระ 97,500 บาทโจทก์ ทั้ง สอง ตกลง และ นัด จดทะเบียน ซื้อ ขาย กัน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ใน เดือน มีนาคม 2533 ดังนี้ ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ ทั้ง สอง กับ จำเลย เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท เมื่อ ปรากฏว่า จำเลย ยอม ให้ หักเงิน จำนวน30,000 บาท ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ชำระ ให้ ใน การ ตกลง ซื้อ ครั้งก่อนออกจาก ราคา ที่พิพาท ที่ ตกลง กัน ใน ครั้งหลัง นี้ ถือได้ว่า เป็น การ ชำระหนี้ บางส่วน ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท แล้ว เมื่อ จำเลย ไม่ปฏิบัติตาม สัญญา แต่ กลับ บิดพลิ้ว เรียก ราคา ใหม่ โจทก์ ทั้ง สอง จึง มีสิทธิ ฟ้องจำเลย ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share