แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ทายาททั้งหมดของผู้ตายได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกมีผลเท่ากับทายาทมอบให้จำเลยแต่ผู้เดียวเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับมรดกของผู้ตายเมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินของผู้ตายแก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้กองมรดกและแบ่งปันแก่ทายาทแม้จะกระทำก่อนที่จำเลยจะได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ตามแต่ทายาททั้งหมดก็ทราบดีและไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านในขณะทำสัญญาหรือภายในเวลาอันสมควรนับแต่ทราบจึงฟังได้ว่าทายาททุกคนยินยอมให้จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และแต่ละคนเชิดให้จำเลยเป็น ตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821สัญญาจึงมีผลผูกพันทายาททุกคนในอันที่จะต้องโอนขายที่ดินแก่โจทก์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ใน ฐานะ ทายาท และ ผู้จัดการมรดก ของ นาย สันต์ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9884 อันเป็น ทรัพย์มรดกของนาย สันต์ ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 435,000 บาท โจทก์ ชำระ เงินมัดจำ ใน วัน ทำ สัญญา 110,000 บาท ตกลง จะ โอน กรรมสิทธิ์ ภายใน 12 เดือน ครั้น ครบกำหนด โจทก์ ขอให้ จำเลย โอน ที่ดิน และ รับ เงิน ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ แต่จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9884 แก่ โจทก์
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ระหว่าง พิจารณา นาย วีระชาติ ศรีทอง และ นาย น้อย ศรีทอง ยื่น คำร้อง สอด ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สอง เป็น น้อง ของ จำเลย ที่ดิน ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เป็น ของ บิดา ของ ผู้ร้อง ทั้ง สอง และ จำเลย ซึ่ง ผู้ร้องทั้ง สอง และ พี่น้อง อีก 5 คน มี กรรมสิทธิ์รวม อยู่ ด้วย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มีผล บังคับ ทรัพย์มรดก เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย เท่านั้น หา ผูกพันส่วน ของ ผู้ร้อง ทั้ง สอง และ น้อง อีก 5 คน ด้วย ไม่ ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ไม่มี สิทธิ ฟ้องบังคับ จำเลย สำหรับ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น สิทธิ ของ ผู้ร้องทั้ง สอง
โจทก์ ยื่นคำให้การ แก้ คำร้อง สอด ว่า แม้ สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ได้ ทำ ขณะ ศาล ยัง ไม่มี คำสั่ง ตั้งจำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย สันต์ ก็ ตาม แต่ ขณะ ทำ สัญญา มี ทนายความ ของ จำเลย และ ทายาท คนอื่น รู้เห็น ทั้ง ได้ ทำ สัญญา ภายหลัง จาก ทายาท ทุกคนยินยอม ให้ จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก แล้ว สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาททำ ขึ้น เพื่อ ไม่ให้ ที่พิพาท ถูก นาย พินิจ ฟ้องบังคับจำนอง เป็น ประโยชน์ แก่ จำเลย และ ทายาท ของ นาย สันต์ ทุกคน ผู้ร้อง ทั้ง สอง และ ทายาท อื่น ได้ยิน ยอม โดย ปริยาย ให้ จำเลย ขาย ที่พิพาท แล้ว สัญญา จะซื้อจะขาย ที่พิพาท จึง ผูกพัน ผู้ร้อง ทั้ง สอง และ ทายาท ของ นาย สันต์ ขอให้ ยกคำร้อง สอด
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน แต่ ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะ ไป ฟ้องร้อง เอาเฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ตาม สัญญา ต่อไป ภายใน อายุความ
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ ตามที่ โจทก์ นำสืบ โดย ที่ จำเลย และ ผู้ร้อง ทั้ง สอง ไม่ได้ นำสืบ โต้แย้ง ว่านาย สันต์ ศรีทอง บิดา ของ จำเลย และ ผู้ร้อง ทั้ง สอง เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9884 ตำบล ปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี นาย สันต์ ถึงแก่ความตาย เมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2530 หลังจาก นาย สันต์ ถึงแก่ความตาย แล้ว บรรดา ทายาท ของ นาย สันต์ ตกลง กัน ให้ จำเลย ร้องขอ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย สันต์ ต่อ ศาลชั้นต้น แต่ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น จะ มี คำสั่ง แต่งตั้ง ให้ จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาย สันต์ คือ เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2531 จำเลย ได้ ทำ สัญญา จะซื้อจะขาย ที่ดิน มรดก ของ นาย สันต์ ทั้ง แปลง ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 435,000 บาท โจทก์ ได้ วาง มัดจำ ไว้ ใน วัน ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย เป็น เงินจำนวน 110,000 บาท กำหนด จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ กัน ภายใน เวลา12 เดือน นับแต่ วัน ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย รายละเอียด ปรากฏ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 3 ครั้น ครบ กำหนด สัญญา จำเลย ไม่ยอมจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ คดี มี ประเด็น ต้องวินิจฉัย ใน ชั้น นี้ ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า โจทก์ ชอบ ที่ จะ ฟ้องบังคับ ให้จำเลย จดทะเบียน โอน ขาย ที่พิพาท ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ให้ แก่ โจทก์ได้ หรือไม่ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยาน ของ จำเลยเชื่อ ว่า โจทก์ และ จำเลย ต่าง มี เจตนา ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาทกัน จริง หาใช่ เรื่อง การกู้ยืมเงิน ดัง ที่ จำเลย นำสืบ ต่อสู้ ไม่ จำเลย จึงต้อง ผูกพัน และ รับผิด ต่อ โจทก์ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 3คดี มี ปัญหา ต่อไป ว่า สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท ที่ จำเลย ทำ ไว้ กับโจทก์ ผูกพัน ผู้ร้อง ทั้ง สอง ให้ ต้อง โอน ขาย ที่พิพาท เฉพาะ ส่วน ของ ผู้ร้องทั้ง สอง ใน ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ด้วย หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ ผู้ร้องทั้ง สอง กับ ทายาท คนอื่น อีก 5 คน ทำ หนังสือ ยินยอม ของ ทายาท รวม7 คน ยอม ให้ จำเลย ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาย สันต์ เจ้ามรดก เป็น ผู้จัดการ มรดก ของ นาย สันต์ เมื่อ วันที่ 11 มีนาคม 2531 ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ก็ มีผล เท่ากับ ทายาท ของ นาย สันต์ ผู้ลงลายมือชื่อ ใน หนังสือ ยินยอม ของ ทายาท ฉบับ ดังกล่าว มอบ ให้ จำเลย แต่ ผู้เดียว เป็น ผู้ดำเนินการจัดการ เกี่ยวกับ มรดก ของ นาย สันต์ การ ขาย ที่พิพาท เพื่อ นำ เงิน มา ชำระ หนี้ กอง มรดก รวมทั้ง การ นำ เงิน ที่ ขาย ได้ มา แบ่งปัน แก่ บรรดา ทายาท ก็ เป็นวิธีการ จัดการ มรดก ของ นาย สันต์ วิธี หนึ่ง แม้ ขณะที่ จำเลย ทำ สัญญา จะซื้อจะขาย ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ยัง ไม่ได้ รับ การ แต่งตั้ง จากศาลชั้นต้น ให้ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย สันต์ ก็ ตาม แต่เมื่อ ได้ พิจารณา ถึง การ ที่ ผู้ร้อง ทั้ง สอง และ ทายาท คนอื่น ๆ มอบ ให้ จำเลย เป็นผู้จัดการมรดก ของ นาย สันต์ เพียง ผู้เดียว รวมทั้ง ข้อเท็จจริง ที่ ว่า ใน วัน ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท มี ทายาท ของ นาย สันต์ หลาย คน รวม ทั้ง ผู้ร้อง ที่ 1 ร่วม รู้เห็น อยู่ ด้วย ผู้ร้อง ที่ 1 และ ทายาทเหล่านั้น มิได้ โต้แย้ง หรือ คัดค้าน การ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาทแต่อย่างใด ทั้ง ได้ความ ว่า มี การ นำ เงินมัดจำ ที่ โจทก์ วาง ไว้ ไป ไถ่ถอนจำนอง ที่พิพาท มาจาก นาย พินิจ หลังจาก นั้น จำเลย ยัง ยอม ให้ โจทก์ ถือ ยึด โฉนด ที่พิพาท ไว้ เมื่อ ผู้ร้อง ที่ 1 และ ทายาท คนอื่น อีก หลาย คนรู้เห็น การกระทำ ของ จำเลย ดังกล่าว ย่อม มีเหตุ ผล ให้ เชื่อ ได้ว่าผู้ร้อง ที่ 2 ได้ ทราบ ถึง การ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย แล้ว และ ผู้ร้อง ที่ 2 ไม่ได้ โต้แย้ง หรือ คัดค้านการกระทำ ของ จำเลย เช่นกัน การ ที่ ผู้ร้อง ทั้ง สอง และ ทายาท คนอื่น มิได้โต้แย้ง หรือ คัดค้าน การ ที่ จำเลย นำ ที่พิพาท ไป ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ให้ แก่โจทก์ เสีย ใน ขณะ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ ภายใน เวลา อัน สมควร นับแต่ทราบ จึง ฟังได้ ว่า บรรดา ทายาท อื่น ทุกคน รวมทั้ง ผู้ร้อง ทั้ง สองต่าง ยินยอม ให้ จำเลย ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ และ แต่ละ คนเชิด ให้ จำเลย เป็น ตัวแทน ของ ตน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 สัญญาจะซื้อจะขาย ที่พิพาท ที่ จำเลย ทำ ไว้ กับ โจทก์ จึง มีผล ผูกพัน ผู้ร้อง ทั้ง สอง ที่ จะ ต้อง โอน ขาย ที่พิพาท เฉพาะ ส่วน ของ ผู้ร้องทั้ง สอง ให้ แก่ โจทก์ ด้วย ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้อง ของ โจทก์ เสียนั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น เมื่อ จำเลยต้อง โอน ที่ดินพิพาท แก่ โจทก์ และ ฟังได้ จาก พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ว่าโจทก์ ยัง ค้างชำระ ราคา ที่ดิน แก่ จำเลย เป็น เงิน 325,000 บาท ดังนี้โจทก์ จึง มี หน้าที่ ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ จำเลย เพราะ เป็น การชำระหนี้ ตาม สัญญาต่างตอบแทน ”
พิพากษากลับ ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 9884 เลขที่ดิน 14 ตำบล ปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี เนื้อที่ 6 ไร่ 30 3/10 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ โดย ให้ โจทก์ชำระ เงิน จำนวน 325,000 บาท แก่ จำเลย ด้วย หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย