แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำว่า”มูลอันจะบอกล้างได้”ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา865วรรคสองคือข้อความในวรรคแรกที่ว่า”ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิตก็ดีบุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดีรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาหรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ” จำเลยทราบว่าผู้ตายเป็นมะเร็งภายหลังจากทำสัญญาประกันชีวิตมิใช่เป็นก่อนหรือขณะทำสัญญากรณียังไม่ทราบมูลที่จะบอกล้างกำหนดระยะเวลาบอกล้างหนึ่งเดือนตามมาตรา865วรรคสองจึงยังไม่เริ่มนับต่อมาจำเลยได้รับรายงานในวันที่3ธันวาคม2528ว่าผู้ตายน่าจะเป็นมะเร็งมาก่อนทำสัญญาแต่ปกปิดไว้จึงเป็นการทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้วเมื่อจำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังโจทก์ในวันที่23และ24ธันวาคม2528จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามมาตรา865วรรคสองแล้ว
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง หก ฟ้อง ขอให้ บังคับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน ตาม กรมธรรม์ประกันชีวิต จำนวน 2,767,187.50 บาท และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 2,500,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,000,000 บาทและ จำนวน 1,500,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 และ โจทก์ ที่ 1ซึ่ง เป็น ผู้รับประโยชน์ ตาม กรมธรรม์ ประกันชีวิต ฉบับ แรก และ ฉบับที่ สองตามลำดับ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีใน ต้นเงิน 1,000,000 บาท และ 1,500,000 บาท ดังกล่าว นับแต่วัน ผิดนัด (วันที่ 8 มกราคม 2529) เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง ของ โจทก์
โจทก์ ทั้ง หก ฎีกา โดย ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่า โจทก์ที่ 1 เป็น สามี ของ นาง มณฑณา ชัยวิศิษฎ์ ผู้ตาย มี บุตร ด้วยกัน 5 คน คือ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 6 ผู้ตาย ได้ ทำ ประกันชีวิต แบบ ตลอด ชีวิต ไว้ กับจำเลย 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2526 มี กำหนดระยะเวลา ตลอด ชีพ ของ ผู้เอาประกัน เป็น จำนวนเงิน 1,000,000 บาทมี โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 เป็น ผู้รับประโยชน์ ตาม หนังสือ กรมธรรม์ ประกันชีวิต เลขที่ 211797-05 ลงวันที่ 7 กันยายน 2526 และ ครั้งที่ 2เมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2527 ผู้ตาย ได้ ทำ สัญญาประกันชีวิต กับ จำเลยมี กำหนด ระยะเวลา ตลอด ชีพ ของ ผู้เอาประกัน เป็น จำนวน 1,500,000 บาทมี โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้รับประโยชน์ ตาม หนังสือ กรมธรรม์ ประกันชีวิตเลขที่ 212458-00 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2527 ต่อมา เมื่อ วันที่7 พฤศจิกายน 2528 จำเลย ได้รับ แจ้ง จาก เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย สาขาจังหวัด เชียงใหม่ ว่า ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย และ โจทก์ ได้ รวบรวม หลักฐานต่าง ๆ เพื่อ ขอรับ เงิน เอา ประกัน จำเลย ได้รับ การ ขอรับ เงิน ดังกล่าวเมื่อ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 อัน ประกอบ ด้วย ใบ มรณบัตร ใบ รายงานแพทย์ ผู้ รักษา และ อื่น ๆ ตาม เอกสาร หมาย จ. 15, จ. 16 และ ล. 20 จำเลยได้ ส่ง เรื่อง ให้ บริษัท ไดมอนด์แอดจัสเม้นท์ จำกัด ไป ดำเนินการ สอบสวน เพื่อ ทราบ สาเหตุ การ ถึงแก่ความตาย ตาม บันทึก เอกสาร หมาย ล. 19ใน วันที่ 3 ธันวาคม 2528 บริษัท ไดมอนด์แอดจัสเม้นท์ จำกัด ได้ รายงาน ให้ จำเลย ทราบ ว่า ผู้ตาย น่า จะ ป่วย เป็น โรค มะเร็งตั้งแต่ กลาง ปี2527 ซึ่ง เป็น ช่วง เวลา ก่อน ที่ ผู้ตาย ขอ เปลี่ยน แบบ สัญญาประกันชีวิตและ ขอ ทำ สัญญาประกันชีวิต อีก 1 ฉบับ จำเลย จึง ได้ มี หนังสือบอกล้าง นิติกรรม กับ ผู้รับประโยชน์ ตาม สัญญาประกัน ตาม หนังสือบอกกล่าว ลงวันที่ 23 และ 24 ธันวาคม 2528 มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ทั้ง หก ว่า จำเลย ได้ ใช้ สิทธิ บอกล้าง โมฆียะ กรรม ภายใน กำหนด 1 เดือนนับแต่ วันที่ จำเลย ทราบ มูล อัน จะ บอกล้าง หรือไม่
พิเคราะห์ แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสองบัญญัติ ว่า “ถ้า มิได้ ใช้ สิทธิ บอกล้าง ภายใน กำหนด เดือน หนึ่ง นับแต่วันที่ ผู้รับประกันภัย ทราบ มูล อัน จะ บอกล้าง ได้ ท่าน ว่า สิทธิ นั้น เป็นอัน ระงับ สิ้นไป ” โดย ได้ บัญญัติ “มูล อัน จะ บอกล้าง ได้ ” ไว้ ใน วรรคแรกว่า “ถ้า ใน เวลา ทำ สัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัย ก็ ดี หรือ ใน กรณีประกันชีวิต ก็ ดี บุคคล อัน การ ใช้ เงิน ย่อม อาศัย ความ ทรง ชีพ หรือ มรณะ ของเขา นั้น ก็ ดี รู้ อยู่ แล้ว ละเว้น เสีย ไม่เปิดเผย ข้อความ จริง ซึ่ง อาจจะได้ จูงใจ ผู้รับประกันภัย ให้ เรียก เบี้ยประกัน ภัย สูง ขึ้น อีก หรือ ให้บอกปัด ไม่ยอม ทำ สัญญา หรือ ว่า รู้ อยู่ แล้ว แถลง ข้อความ นั้น เป็นความเท็จ ไซร้ ท่าน ว่า สัญญา นั้น เป็น โมฆียะ ” ซึ่ง ใน เรื่อง นี้ มูล อัน จะบอกล้าง ได้ คือ ข้อ ที่ ว่า ใน ขณะที่ ผู้ตาย ยื่น คำขอ ประกันชีวิต กับ จำเลยนั้น ผู้ตาย ได้ รู้ อยู่ แล้ว ว่า ก่อน และ ขณะ ทำ สัญญาประกันชีวิต ตนเองป่วย เป็น โรค มะเร็งที่ ลิ้น แต่ ได้ ละเว้น เสีย ไม่เปิดเผย ข้อเท็จจริงดังกล่าว ให้ จำเลย ทราบ เมื่อ พิจารณา จาก เอกสาร ต่าง ๆ ที่ จำเลย ได้รับจาก โจทก์ เมื่อ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 จะ เห็นว่า ตาม เอกสาร หมายล. 20 ระบุ เพียง ว่า สาเหตุ การ ตาย โรค มะเร็งเลือดออก ปาก มีนายแพทย์ โอภาส ตั้งมั่นคงวรกุล และ นายแพทย์ วิทิต จางไววิทย์ เป็น นายแพทย์ ผู้ รักษา ผู้ตาย ได้ เริ่ม ป่วย มา ตั้งแต่ วันที่ 23 เมษายน2528 ด้วย โรค มะเร็งและ นายแพทย์ โอภาส ได้ ทำ รายงาน ว่า ผู้ตาย เจ็บป่วย ด้วย โรค มะเร็งที่ ลิ้น มา เป็น เวลา ประมาณ 6 เดือน กว่าจะ ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ใน วันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 จำเลย ทราบเพียง ว่า ผู้ตาย เริ่ม ป่วย เป็น โรค มะเร็งมา ตั้งแต่ วันที่ 23 เมษายน2528 เท่านั้น ซึ่ง กรณี นี้ ผู้ตาย ทำ สัญญาประกัน ฉบับ แรก เมื่อ วันที่7 กรกฎาคม 2526 ฉบับที่ 2 เมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2527 ข้อเท็จจริงที่ จำเลย ทราบ จึง มี เพียง ว่า ผู้ตาย เป็น โรค มะเร็งภายหลัง จาก ได้ ทำสัญญาประกันชีวิต ทั้ง สอง ฉบับ กับ จำเลย มิใช่ เป็น ก่อน หรือ ขณะ ทำสัญญาประกันชีวิต ดังกล่าว ไม่เป็น มูล ที่ จะ บอกล้าง สัญญาประกันชีวิตตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 ได้ หรือ กล่าว อีก นัยหนึ่ง ว่า ใน วัน ดังกล่าว จำเลย ยัง ไม่ทราบ มูล ที่ จะ บอกล้าง สัญญาประกันชีวิต ราย นี้ กำหนด ระยะเวลา 1 เดือน จึง ยัง ไม่ เริ่ม นับ ต่อมา วันที่3 ธันวาคม 2528 เมื่อ จำเลย ได้รับ รายงาน ผล การ ตรวจสอบ จาก บริษัท ไดมอนด์แอดจัสเม้นท์ จำกัด ตาม เอกสาร หมาย ล. 21 มี ข้อความ สรุป ว่า ผู้ตาย น่า จะ เป็น โรค มะเร็งมา ตั้งแต่ กลาง ปี 2527 ซึ่ง เป็น เวลา ก่อนที่ ผู้ตาย ขอ เปลี่ยน แบบ สัญญาประกันชีวิต และ ทำ สัญญาประกันชีวิต อีกฉบับ หนึ่ง และ ทราบ ว่า ผู้ตาย เคย ได้รับ การ ตรวจ จาก แพทย์ มา ก่อนจึง เป็น การ ทราบ ว่า ผู้ตาย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ตน เป็น โรค มะเร็งอ ยู่ก่อน ที่ จะทำ สัญญาประกันชีวิต กับ จำเลย แต่ ปกปิด ข้อความ จริง ซึ่ง ถ้า จำเลยทราบ จะ ไม่ยอม รับประกัน ชีวิต ราย นี้ อันเป็น การ ทราบ มูล ที่ จะ บอกล้างสัญญาประกันชีวิต ได้ ใน วันนั้น ฉะนั้น เมื่อ จำเลย มี หนังสือ บอกล้างโมฆียะ กรรม ไป ยัง โจทก์ ใน วันที่ 23 และ 24 ธันวาคม 2528 จึง เป็น การใช้ สิทธิ บอกล้าง ภายใน กำหนด หนึ่ง เดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคสอง แล้ว ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน