คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา19,20แห่งประมวลรัษฎากรส่วนมาตรา31วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรนั้นมิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ยื่น แบบแสดงรายการ และ เสีย ภาษี ไว้ ถูกต้อง แล้วแต่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ประเมิน ให้ โจทก์ เสีย ภาษีเงินได้ นิติบุคคลภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่ จ่าย และ ภาษีการค้า เพิ่มขึ้นทั้ง คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ยัง นำตัว เลข บางราย การ มา บวก กลับ เป็นรายได้ ของ โจทก์ เพิ่มเติม จาก ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ทำการ ประเมิน ไว้ อีกเป็น การ ไม่ชอบ ขอให้ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลย ตาม เอกสาร ท้าย คำฟ้อง หมายเลข 4 และ เพิกถอนการ ประเมิน ของ จำเลย ตาม เอกสาร ท้าย คำฟ้อง หมาย 2 ให้ งด หรือ ลด เงินเพิ่มหรือ เบี้ยปรับ แก่ โจทก์ หาก ศาล เห็นว่า โจทก์ มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษีจำนวน ใด ๆ
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลยและ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ชอบ ด้วย ข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ เกี่ยวกับ การ เปลี่ยนแปลงผล ขาดทุน สุทธิ สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี พ.ศ. 2526 เฉพาะ การ นำ รายได้จาก การ รับ จัดการ ธุรกิจ ใน เดือน กันยายน 2526 ถึง เดือน ธันวาคม 2526จำนวน 500,000 บาท มา ปรับปรุง บวก เป็น รายได้ ตาม คำวินิจฉัย อุทธรณ์เลขที่ 215 ง/2534/1 คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหาต้อง วินิจฉัย ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ และ จำเลย ใน ประเด็น แรก ว่า การ ประเมินของ เจ้าพนักงาน ประเมิน และ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ชอบ หรือไม่
อันดับ 1 กรณี ค่าใช้จ่าย หรือ ค่าบริการ สำนักงาน ใหญ่ ซึ่ง โจทก์อ้างว่า เป็น รายจ่าย เกี่ยวกับ การ ที่ บริษัท แองโกล-ไทย (ลอนดอน) จำกัด หรือ บริษัท แองโกล-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้ บริการ แก่ โจทก์ ใน ต่างประเทศ อันเป็น ประโยชน์ แก่ กิจการ ของ โจทก์ และ โจทก์ได้ ชำระ เงิน ค่าบริการ ดังกล่าว ให้ แก่ บริษัท นั้น ตาม ที่ มี การ เรียกเก็บ เงิน มา ยัง โจทก์ แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 แผ่น ที่ 64 ถึง 170โจทก์ อุทธรณ์ ว่า เป็น รายจ่าย ที่ โจทก์ จ่าย ให้ แก่ บริษัท แองโกล-ไทย (ลอนดอน) จำกัด เป็น ค่าจ้าง ที่ บริษัท แองโกล-ไทย (ลอนดอน) จำกัด ให้ บริการ แก่ โจทก์ ใน การ เรียกเก็บ หนี้สิน การ ชำระหนี้ ของ ลูกค้า โจทก์ ใน ต่างประเทศ การ จัดหา ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ การเงิน และ การตลาด ของ โจทก์ เห็นว่า ตาม หลักฐานเอกสาร ที่ โจทก์ อ้าง เป็น เพียง เอกสาร การ ติดต่อ ระหว่าง โจทก์ กับบริษัท แองโกล-ไทย (ลอนดอน) จำกัด แม้ จะ มี การ อ้าง ถึง การ ประสานงาน กับ บริษัท ที่ จำหน่าย สินค้า หรือ กับ กองทุน เงินบำนาญ และ ประกันชีวิตแต่ หลักฐาน ที่ ปรากฏ ดังกล่าว บางส่วน ก็ เป็น เอกสาร ที่ โจทก์ ส่ง ประกอบคำ ชี้แจง ตาม หนังสือ ของ โจทก์ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 ตามเอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 117 และ 118 ซึ่ง นาย ชัยยุทธ ศรีพรประเสริฐ ผู้รับมอบอำนาจ ของ โจทก์ ให้ ถ้อยคำ ไว้ ใน ชั้นพิจารณา อุทธรณ์ ว่าค่าใช้จ่าย ตาม หนังสือ ชี้แจง ดังกล่าว ไม่ได้ เป็น ส่วน หนึ่ง ของค่าใช้จ่าย สำนักงาน ใหญ่ ที่ เจ้าพนักงาน ได้ ตัด จ่าย ใน รอบ ระยะเวลา บัญชีปี พ.ศ. 2524 ถึง 2526 ตาม บันทึก คำให้การ เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 43ถึง 45 อีก ทั้ง โจทก์ ไม่มี หลักฐาน แสดง ให้ เห็นว่า ค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็น ไป เพื่อ ประโยชน์ แก่ กิจการ ของ โจทก์ แค่ไหน เพียงใด จึง ยัง รับฟังไม่ได้ ว่า รายจ่าย กรณี นี้ เป็น รายจ่าย เพื่อ หา กำไร หรือเพื่อ กิจการ โดยเฉพาะ ของ โจทก์ และ มิใช่ รายจ่าย เพื่อ กิจการ ใน ประเทศ ไทยโดยเฉพาะ ของ โจทก์ จึง เป็น รายจ่าย ที่ ไม่อาจ นำ มา คำนวณ กำไร สุทธิตาม มาตรา 65 ตรี (13)(14) แห่ง ประมวล รัษฏากร อุทธรณ์ ของ โจทก์ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
อันดับ 2 เกี่ยวกับ การ จำหน่าย หนี้สูญ สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชีปี พ.ศ. 2524 มี 3 ราย คือ
ก. โรง พิมพ์ สหกรณ์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง จำนวนเงิน 19,000 บาท โจทก์ อุทธรณ์ ว่า โรง พิมพ์ ดังกล่าว เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ใบ ส่ง สินค้าเอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 110 และ 111 โจทก์ ได้ ส่ง ใบ ทวงถาม หนี้สินไป ยัง โรง พิมพ์ ดังกล่าว ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 108 ทาง โรง พิมพ์ดังกล่าว ไม่ยอม ชำระหนี้ อ้างว่า หลักฐาน การ รับ สินค้า ของ โรง พิมพ์สูญหาย เห็นว่า โจทก์ ไม่มี ใบสั่งซื้อ หรือ ใบ รับ ของ ของ โรง พิมพ์ดังกล่าว มา แสดง ยัง รับฟัง ไม่ได้ ว่า มี หนี้ จำนวน นี้ จริง จึง ไม่อาจนำ มา ตัด เป็น หนี้สูญ ได้
ข. บริษัท มหาชนอินเตอร์เนชั่นแนลพลับลิชชิ่ง จำกัด โจทก์ อุทธรณ์ ว่า โจทก์ ได้ ฟ้องบังคับ ให้ ลูกหนี้ ชำระหนี้ แล้ว ตาม สำเนาคำพิพากษา เอกสาร หมาย จ. 4 แต่ เหตุ ที่ จำนวน หนี้ ที่ จำหน่าย เป็น หนี้สูญกับ จำนวน หนี้ ที่ นำ ไป ฟ้อง และ ได้รับ ตาม คำพิพากษา ไม่ ตรง กัน เพราะกว่า ศาล จะ พิพากษา เป็น เวลา นาน ทำให้ จำนวน ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น เห็นว่าหนี้ ที่ โจทก์ จำหน่าย เป็น หนี้สูญ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 112มี จำนวน 98,514 บาท แต่ หนี้ ตาม สำเนา คำพิพากษา เอกสาร หมาย จ. 4มี จำนวน เพียง 83,766.12 บาท เท่านั้น ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ใน การจำหน่าย หนี้สูญ ได้ รวม ดอกเบี้ย ด้วย นั้น โจทก์ ไม่ได้ แสดง ให้ เห็นว่าเป็น จำนวน ดอกเบี้ย เท่าใด ฟัง ไม่ได้ ว่า เป็น หนี้ ราย เดียว กัน ฉะนั้นจึง ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ ได้ ติดตาม ทวงถาม หนี้ ตาม สมควร แล้ว โจทก์ไม่อาจ นำ มา ตัด เป็น หนี้สูญ ได้
ค. โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า จำนวนเงิน 29,603 บาท โจทก์ อุทธรณ์ ว่า โจทก์ ทวงถาม แล้ว แต่ โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง เพราะ กฎกระทรวงฉบับที่ 159 ยัง ไม่ ใช้ บังคับ โดย เพิ่ง ประกาศ ใช้ บังคับ เมื่อ วันที่21 เมษายน 2526 เห็นว่า โจทก์ ไม่มี ใบสั่งซื้อ สินค้า หรือ ใบ รับ ของของ โรงพยาบาล มา แสดง ไม่แน่ ชัด ว่า มีมูล หนี้ ต่อ กัน จริง หรือไม่อีก ทั้ง การ ที่ โจทก์ เพียงแต่ ทวงถาม เมื่อ ถูก ปฏิเสธ ก็ ยก หนี้ ให้ แก่ลูกค้า โดย อ้างว่า เพื่อ ประโยชน์ ทางการ ค้า ใน ภายหน้า นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ ได้ ติดตาม ทวงถาม หนี้ ตาม สมควร แล้ว ไม่เป็นเหตุ ที่ จะ จำหน่ายเป็น หนี้สูญ ใน การ คำนวณ กำไร สุทธิ ได้
สำหรับ หนี้สูญ ใน ปี พ.ศ. 2526 มี 2 ราย คือ บริษัท สหสยามพัฒนา จำกัด จำนวนเงิน 38,102 บาท โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ลูกหนี้ ได้ ปิด กิจการไป แล้ว โจทก์ ใช้ เวลา ทวงถาม ถึง 5 ปี จึง ตัด เป็น หนี้สูญ เห็นว่าโจทก์ ไม่มี หลักฐาน แสดง ว่า โจทก์ ได้ กระทำการ ใด อัน พอ ถือได้ว่าได้ ติดตาม ทวงถาม หนี้ พอสมควร แล้ว จึง ไม่อยู่ ใน หลักเกณฑ์ ที่ โจทก์จะ ตัด เป็น หนี้สูญ ได้
สำหรับ กรณี ที่ โจทก์ ตั้ง สำรอง หนี้สูญ ที่ อาจ เกิดขึ้น ภายหน้า และตัด เป็น รายจ่าย ใน ปี พ.ศ. 2526 จำนวนเงิน 702,620 บาท นั้นโจทก์ อุทธรณ์ ว่า ตาม เอกสาร หมาย ล. 4 แผ่น ที่ 316 ได้ แสดง ถึง จำนวนเงินแต่ละ ยอด ไว้ โดย ชัดเจน ว่า ยอดเงิน สำรอง ที่ โจทก์ นำ ไป บวก กลับ ตามเอกสาร หมาย ล. 4 แผ่น ที่ 317 นั้น ประกอบ ด้วย เงิน จำนวน ใด บ้างเห็นว่า ไม่ปรากฏ หลักฐาน ทาง บัญชี แสดง รายละเอียด ยอดเงิน สำรอง ต่าง ๆจำนวน 2,958,519 บาท ตาม เอกสาร หมาย ล. 4 แผ่น ที่ 317 ว่า มาจากยอดเงิน สำรอง ประเภท ใด บ้าง แต่ละ ประเภท เดิม มี จำนวน เท่าใด และ ได้ตัด เป็น รายจ่าย ไป อย่างไร หรือไม่ เอกสาร หมาย ล. 4 แผ่น ที่ 316เพียง แผ่น เดียว ยัง รับฟัง ไม่ได้ ว่า โจทก์ ได้ นำ เงินสำรอง หนี้สูญดังกล่าว บวก กลับ เป็น รายได้ แล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
อันดับ 3 เรื่อง รายจ่าย ค่าสินค้า สูญเสีย และ สินค้า ล้าสมัย นั้นโจทก์ อุทธรณ์ ว่า โจทก์ ได้ ทำลาย สินค้า แล้ว จริง โดย มี นาย พิเชษฐ์ สกุลทอง และ นาย ประธาน ลิ่มสกุล มา เบิกความ เป็น พยาน เห็นว่า ที่ พยานโจทก์ ดังกล่าว เบิกความ ว่า โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ จำเลย มา เป็น พยานใน การ ทำลาย สินค้า นั้น ทางพิจารณา ไม่ปรากฏ หลักฐาน การ แจ้ง ดังกล่าวและ ไม่ปรากฏ ว่า เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย อนุญาต ให้ โจทก์ ทำลาย สินค้าดังกล่าว ได้ ส่วน ภาพถ่าย ที่ โจทก์ อ้าง ไม่สามารถ แสดง รายละเอียดเกี่ยวกับ สินค้า ที่ ทำลาย ได้ จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า มี การ ทำลาย สินค้า ตามรายการ ที่ โจทก์ อ้าง ถือว่า รายจ่าย ของ โจทก์ ใน กรณี นี้ เป็น รายจ่ายซึ่ง กำหนด ขึ้น เอง โดย ไม่มี การ จ่าย จริง ต้องห้าม มิให้ ถือ เป็น รายจ่ายใน การ คำนวณ กำไร สุทธิ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
อันดับ 4 กรณี ประมาณ การ กำไร สุทธิ ตาม แบบ ภ.ง.ด. 51 สำหรับรอบ ระยะเวลา บัญชี ปี พ.ศ. 2524 ขาด ไป เกินกว่า ร้อยละ 25 ของ กำไร สุทธิซึ่ง โจทก์ ประมาณ การ ว่า มี รายได้ 291,265,000 บาท และ มีผล ขาดทุน สุทธิ766,294.04 บาท ตาม เอกสาร หมาย ล. 4 แผ่น ที่ 39 แต่ ต่อมา โจทก์ ได้ ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อ สิ้นปี ปรากฏว่า มี กำไร สุทธิ 1,928,263.85 บาทตาม เอกสาร หมาย ล. 4 แผ่น ที่ 40 ประมาณ การ กำไร สุทธิ ขาด ไป ร้อยละ 139.74ของ กำไร สุทธิ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า เป็น เพราะ โจทก์ เริ่ม ประกอบ กิจการให้ คำปรึกษา และ บริการ ธุรกิจ แก่ บริษัท ใน เครือ คาด ว่า มี รายจ่ายช่วง เริ่ม ดำเนินการ เป็น จำนวน สูง เกี่ยวกับ ค่า อุปกรณ์ ระบบ คอมพิวเตอร์ค่าจ้าง บุคลากร ชาว ต่างประเทศ แต่ ขัดข้อง ไม่สามารถ ดำเนินการ ตามโครงการ ได้ เต็มที่ รายจ่าย ที่ คาด ว่า ต้อง จ่าย จึง มิได้ มี การ จ่ายประกอบ กับ โจทก์ นำ เงิน กองทุน เลี้ยงชีพ จำนวน 1,912,204.51 บาทตั้ง เป็น รายจ่าย ไว้ แต่ มิได้ จ่าย จึง บวก กลับ เป็น รายได้ เมื่อ สิ้นปีพ.ศ. 2524 จึง เป็น กรณี ที่ มี พฤติการณ์ อัน สมควร เป็นเหตุ ให้ โจทก์ประมาณ การ กำไร สุทธิ ขาด ไป เกินกว่า ร้อยละ 25 ของ กำไร สุทธิ เห็นว่าเรื่อง เงิน กองทุน เลี้ยงชีพ เป็น นโยบาย ของ โจทก์ โจทก์ จึง ต้อง ทราบ ว่าจะ ต้อง ชำระ เงิน ดังกล่าว เมื่อใด และ โจทก์ ควร มีเหตุ ผล ใน การ ประมาณ การผล ขาดทุน หรือ กำไร โดย แน่นอน แม้ จะ นำ เงิน กองทุน ดังกล่าว ไป ตัด เป็นรายจ่าย โดย หัก จาก กำไร สุทธิ ที่ โจทก์ สำแดง ไว้ ใน แบบ ภ.ง.ด. 50เมื่อ ตอน สิ้นปี พ.ศ. 2524 แล้ว ก็ ยัง เหลือ เป็น กำไร สุทธิ อยู่ไม่ถึง กับ ขาดทุน ตาม ที่ โจทก์ ประมาณ การ ไว้ ข้ออ้าง เกี่ยวกับ รายได้จาก การ ให้ คำปรึกษา และ บริการ ธุรกิจ แก่ บริษัท ใน เครือ โดย อ้างว่าเป็น การ เริ่มต้น ดำเนินการ ปี แรก จึง ประมาณ การ รายจ่าย ไว้ สูง นั้นเป็น ข้ออ้าง ที่ ปราศจาก เหตุผล เพราะ โจทก์ มิได้ ให้ รายละเอียด ใน การประมาณ การ รายจ่าย ต่าง ๆ ว่า มี รายจ่าย อะไร จำนวน เท่าใด แม้ หากจะ คลาดเคลื่อน ก็ ไม่ น่า จะ คลาดเคลื่อน เป็น จำนวน มาก เช่นนี้ การ ที่ โจทก์แสดง ประมาณ การ กำไร สุทธิ ขาด ไป เกินกว่า ร้อยละ 25 ของ กำไร สุทธิ จึง เป็นไป โดย ไม่มี เหตุอันสมควร โจทก์ จึง ต้อง รับผิด ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 67 ตรี อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
อันดับ 6 ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่ จ่าย โจทก์ อุทธรณ์ ว่าโจทก์ หัก ภาษีเงินได้ ไว้ ครบถ้วน ถูกต้อง แล้ว โดย ก่อน หัก ภาษี โจทก์ให้ ลูกจ้าง กรอก รายละเอียด ว่า มีสิทธิ หัก ค่า ลดหย่อน อย่างไร บ้างตาม เอกสาร หมาย จ. 3 แผ่น ที่ 1 ถึง 72 เห็นว่า ตาม ประมวลรัษฎากร โจทก์ใน ฐานะ ผู้จ่าย เงินได้พึงประเมิน ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)มี หน้าที่ หัก ภาษีเงินได้ ไว้ ณ ที่ จ่าย ให้ ถูกต้อง โดย ต้อง คิด คำนวณหัก ค่าใช้จ่าย และ ค่า ลดหย่อน ต่าง ๆ ตาม กฎหมาย ให้ ครบถ้วน แล้ว นำ ส่งให้ แก่ เจ้าพนักงาน จำเลย ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด หาก โจทก์ หักภาษีเงินได้ และ นำ ส่ง ไม่ครบ จะ ต้อง รับผิดชอบ ใน ส่วน ที่ ขาด ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27, 40(1), 50(1), 52 และ 54 เมื่อ เจ้าพนักงานของ จำเลย ตรวจ พบ ว่า โจทก์ หัก ภาษีเงินได้ ไว้ ไม่ครบ ถ้วน ตาม หลักฐานเอกสาร ของ โจทก์ ก็ ชอบ ที่ จะ เรียก ให้ โจทก์ รับผิด ใน ส่วน ที่ ขาด สำหรับพยานหลักฐาน ที่ โจทก์ ยื่น เพิ่มเติม ชั้น ศาล ตาม เอกสาร หมาย จ. 3แผ่น ที่ 1 ถึง 72 ซึ่ง เป็นต้น ฉบับ เอกสาร เกี่ยวกับ การ หัก ภาษีเงินได้ณ ที่ จ่าย ของ พนักงาน ลูกจ้าง โจทก์ สำหรับ ปี พ.ศ. 2524 เท่านั้นซึ่ง มี อยู่ 10 ราย และ ซ้ำ กัน กับ เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 149ถึง 159 ซึ่ง คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ปรับปรุง ให้ ถูกต้อง แล้วส่วน พนักงาน ลูกจ้าง โจทก์ ราย อื่น ๆ ตาม เอกสาร หมาย ล. 5 แผ่น ที่ 21ถึง ที่ 22 โจทก์ ไม่มี พยานหลักฐาน มา แสดง เพิ่มเติม โจทก์ จึง ต้องรับผิดชอบ ภาษี ที่ หัก ขาด พร้อม เงินเพิ่ม ตาม กฎหมาย อุทธรณ์ ของ โจทก์ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
อันดับ 7 เกี่ยวกับ ภาษีการค้า โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ภาษีการค้าที่พิพาท นี้ เป็น เงิน รับ จาก ค่าบริการ การ จัดการ ธุรกิจ ของ โจทก์ที่ ทำให้ แก่ บริษัท ใน เครือ โดย โจทก์ นำ รายรับ ของ เดือน มกราคม 2526และ เดือน กุมภาพันธ์ 2526 มา ยื่น เสีย ภาษีการค้า ใน เดือน มีนาคม 2526และ นำ รายรับ ของ เดือน กันยายน 2526 ถึง เดือน ธันวาคม 2526 มา เสียภาษีการค้า ใน เดือน มกราคม 2527 ทั้งนี้ การ เสีย ภาษีการค้า โจทก์ใช้ ระบบ บัญชี เกณฑ์ เงินสด เพราะ รายรับ ของ โจทก์ แต่ละ เดือน เพื่อ นำ มาเสีย ภาษีการค้า จะ รู้ จำนวนเงิน แน่นอน ต่อเมื่อ ได้รับ เงิน แล้ว โดยโจทก์ จะ ต้อง คิด ค่าใช้จ่าย ที่ โจทก์ ทดรอง ไป ด้วย หาก จะ ให้ โจทก์ ชำระภาษีการค้า ของ รายรับ แต่ละ เดือน ภายใน วันที่ 15 ของ เดือน ถัด ไปก็ จะ ไม่อาจ ทราบ ตัวเลข แน่นอน ของ ภาษีการค้า ที่ โจทก์ จะ ต้อง ยื่น แบบและ นำ ส่ง ได้ ตัวเลข ประมาณ การ ของ เงินได้ เพื่อ เสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่อาจ นำ มา ใช้ กับ ภาษีการค้า ได้ การ ประเมิน เรียกเก็บภาษีการค้า ของ เจ้าพนักงาน จำเลย จึง ไม่ชอบ เห็นว่า ใน การ เสียภาษีการค้า ของ โจทก์ โจทก์ ใช้ ระบบ เกณฑ์ สิทธิ มา โดย ตลอด และ มิได้มี การ ขอ เปลี่ยน ระบบ เกณฑ์ สิทธิ มา ใช้ ระบบ เกณฑ์ เงินสด ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 79 จัตวา แต่อย่างใด อีก ทั้ง สัญญาจ้าง การ จัดการ ธุรกิจก็ ย่อม ต้อง มี กำหนด ค่าจ้าง ไว้ เป็น การ แน่นอน ที่ โจทก์ อ้างว่า โจทก์จะ ต้อง คิด ค่าใช้จ่าย ที่ ทดรอง ไป มา รวมกับ ค่าจ้าง ก่อน จึง จะ ทราบ ว่ามี รายรับ แต่ละ เดือน เป็น จำนวน เท่าใด จึง ไม่อาจ รับฟัง ได้ การ ที่เจ้าพนักงาน จำเลย เรียกเก็บเงิน เพิ่ม และ เบี้ยปรับ ภาษีการค้า จาก โจทก์จึง ชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
อันดับ 8 จำเลย อุทธรณ์ ว่า คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ มีอำนาจนำ รายได้ ของ โจทก์ ตั้งแต่ เดือน กันยายน 2526 ถึง เดือน ธันวาคม 2526ซึ่ง สูง กว่า ที่ โจทก์ ประมาณ การ ไว้ เดือน ละ 125,000 บาท รวม 4 เดือนเป็น เงิน รายได้ จำนวน 500,000 บาท ซึ่ง เป็น รายได้ ที่ แท้จริง ของ โจทก์และ ใน ชั้น ตรวจสอบ ภาษี เจ้าพนักงาน ของ จำเลย มิได้ นำ มา ปรับปรุง เป็นรายได้ ของ โจทก์ ใน การ คำนวณ กำไร สุทธิ ให้ สอดคล้อง กัน มา พิจารณา ปรับปรุงให้ โจทก์ มี รายได้ เพิ่มขึ้น ใน เดือน ที่ โจทก์ มี รายได้ นั้น เห็นว่าประมวลรัษฎากร ได้ กำหนด อำนาจ หน้าที่ ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน กับคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ไว้ ต่างหาก จาก กัน โดย เริ่มแรก หากเจ้าพนักงาน ประเมิน มีเหตุ อันควร เชื่อ ว่า ผู้ใด แสดง รายการ ตาม แบบ ที่ยื่น ไม่ถูกต้อง ตาม ความจริง หรือไม่ บริบูรณ์ ก็ มีอำนาจ ออกหมาย เรียกผู้ยื่น รายการ นั้น มา ไต่สวน และ ออกหมาย เรียก พยาน กับ สั่ง ให้ ผู้ยื่นรายการ หรือ พยาน นั้น นำ บัญชี เอกสาร หรือ หลักฐาน อื่น อันควร แก่ เรื่องมา แสดง ได้ แล้ว มีอำนาจ แก้ จำนวนเงิน ที่ ประเมิน หรือ ที่ ยื่น รายการไว้ เดิม โดย อาศัย พยานหลักฐาน ที่ ปรากฏ และ แจ้ง จำนวนเงิน ที่ ต้อง ชำระ อีกไป ยัง ผู้ต้องเสียภาษี อากร ใน กรณี นี้ จะ อุทธรณ์ การ ประเมิน ก็ ได้ทั้งนี้ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 19, 20 คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์จึง มีอำนาจ หน้าที่ พิจารณา อุทธรณ์ ของ ผู้ต้องเสียภาษี อากร ดังกล่าวตาม ประเด็น ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ทำการ ประเมิน ไว้ และ ผู้ต้อง เสียภาษีอากร อุทธรณ์ จะ ไป พิจารณา ประเด็น อื่น นอกเหนือ จาก ที่ เจ้าพนักงานประเมิน ได้ ทำการ ประเมิน ไว้ หาได้ไม่ เพราะ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ไม่ใช่ เจ้าพนักงาน ประเมิน อีก ทั้ง ยัง เป็น การ ข้าม ขั้นตอน ไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติ มาตรา 19, 20 แห่ง ประมวลรัษฎากร สำหรับ คดี นี้ การ ที่คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ปรับปรุง รายได้ ของ โจทก์ เพิ่มขึ้น ใน การคำนวณ กำไร สุทธิ ใน รอบ ระยะเวลา บัญชี ปี พ.ศ. 2526 ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงาน ประเมิน มิได้ ทำการ ประเมิน ใน รายการ นี้ จึง เป็น การ พิจารณาประเด็น อื่น นอกเหนือ จาก ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ทำการ ประเมิน ไว้ไม่ชอบ ด้วย บทบัญญัติ แห่ง ประมวลรัษฎากร ส่วน ประมวลรัษฎากรมาตรา 31 วรรคสอง นั้น มิใช่ บทบัญญัติ ให้ อำนาจ คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ พิจารณา ประเด็น ใด ก็ ได้ ดัง ที่ จำเลย อ้าง แต่อย่างใด อุทธรณ์ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share