แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยซึ่งเป็น นายทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่พิจารณาและออก ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในกรณีที่คำขอของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายเมื่อมิได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวดังกล่าวทั้งที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอต่อจำเลยนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา2ปีเศษถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้เป็นการ โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วจำเลยจะอ้างว่ากองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรยังไม่แจ้งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแก่โจทก์จึงออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไม่ได้เพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหาได้ไม่เพราะกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรมิใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าวฯ มาตรา8,21บังคับให้คน สัญชาติไทย ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยกลายเป็น คนต่างด้าวต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนในท้องที่ที่ตนอยู่ภายใน30วันนับแต่วันที่ตนได้รู้หรือควรรู้ว่าตนได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมิฉะนั้นย่อมเป็นความผิดมิใช่เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลดังกล่าวว่าหากไม่ไปยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิขอให้ออก ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
ย่อยาว
โจทก์ ห้า สำนวน ฟ้อง ขอให้ บังคับ ให้ จำเลย ออก ใบ สำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าว ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าวให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 6 ทั้งนี้ เมื่อ โจทก์ ดังกล่าว ได้ยื่น คำขอ ถูกต้อง ครบถ้วน ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน กฎกระทรวง ให้ยก ฟ้องโจทก์ที่ 5
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน อุทธรณ์ (คดี เกี่ยวกับ โจทก์ ที่ 5 ถึงที่สุดโดย คู่ความ มิได้ อุทธรณ์ )
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง ห้า สำนวน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า และ จำเลย มิได้โต้แย้ง กัน ใน ชั้นฎีกา ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า เกิด ใน ราชอาณาจักรไทยเป็น บุตร คนญวน อพยพ โจทก์ ทั้ง ห้า ถูก ถอน สัญชาติ ไทย ตาม ประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โจทก์ ทั้ง ห้า มีภูมิลำเนา อยู่ ใน เขต อำเภอ เมือง อุบลราชธานี เมื่อ เดือน มีนาคม 2530โจทก์ ทั้ง ห้า ไป ยื่น คำร้องขอ มี ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว ต่อ จำเลยหลังจาก นั้น จำเลย ได้ ส่ง คำร้องของโจทก์ ทั้ง ห้า ไป ยัง กองทะเบียนคนต่างด้าว และ ภาษีอากร เพื่อ พิจารณา ตาม ระเบียบ ของ กองทะเบียนคนต่างด้าว และ ภาษีอากร แต่ ขณะ โจทก์ ทั้ง ห้า ยื่นฟ้อง คดี ยัง ไม่ได้รับ แจ้ง ผล การ พิจารณา
พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ประการ แรก ว่าจำเลย ไม่เคย ปฏิเสธ ที่ จะ ออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว แก่ โจทก์ ทั้ง ห้าเพียงแต่ ต้อง ส่ง เรื่อง ให้ กองทะเบียน คนต่างด้าว และ ภาษีอากร ตรวจสอบก่อน ตาม ระเบียบ ของ กรมตำรวจ เมื่อ ผู้บังคับการ กองทะเบียน คนต่างด้าวและ ภาษีอากร เห็นว่า ผู้ขอ ยื่น คำขอ ถูกต้อง และ ไม่มี พฤติการณ์ เป็น ภัยต่อ ประเทศชาติ จึง จะ แจ้ง ให้ จำเลย ใน ฐานะ นายทะเบียน คนต่างด้าวออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว ให้ แก่ ผู้ขอ อีก ชั้น หนึ่ง จำเลย ส่ง คำขอของ โจทก์ ทั้ง ห้า ไป ยัง กองทะเบียน คนต่างด้าว และ ภาษีอากร แล้ว จำเลยจึง ยัง มิได้ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง ห้า เห็นว่า จำเลย เป็นนายทะเบียน คนต่างด้าว ใน ท้องที่ ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า มี ภูมิลำเนา อยู่ เมื่อโจทก์ ทั้ง ห้า ยื่น คำร้องขอ มี ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว จำเลย จึง มีหน้าที่ พิจารณา และ ออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว แก่ โจทก์ ทั้ง ห้าใน กรณี ที่ คำขอ ของ โจทก์ ทั้ง ห้า เข้า หลักเกณฑ์ ตาม กฎหมาย โจทก์ ทั้ง ห้ายื่น คำร้องขอ มี ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว ต่อ จำเลย นับ ถึง วันฟ้องเป็น เวลา 2 ปี เศษ แล้ว จำเลย ก็ ยัง มิได้ ออก ใบ สำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าว แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลย ปฏิเสธ ไม่ออกใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า อันเป็น การ โต้แย้ง สิทธิของ โจทก์ ทั้ง ห้า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้วที่ จำเลย อ้างว่า กองทะเบียน คนต่างด้าว และ ภาษีอากร ยัง ไม่แจ้ง ให้ จำเลยออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า จึง ออก ใบ สำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าว แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่ได้ นั้น เห็นว่า ใน กรณี นี้ ผู้บังคับการกองทะเบียน คนต่างด้าว และ ภาษีอากร มิใช่ นายทะเบียน ผู้มีอำนาจหน้าที่ ออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว จำเลย จะ อ้าง ระเบียบ ราชการ เพื่อที่ จะ ไม่ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย หาได้ไม่ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ประการ สุดท้าย ว่า การ ที่ โจทก์ทั้ง ห้า ไม่ไป ขอ ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่รู้ หรือ ควร รู้ ว่า ตน เสีย สัญชาติ ไทย โจทก์ ทั้ง ห้า จึง ไม่มี สิทธิ ขอให้จำเลย ออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว ให้ เห็นว่า พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 บัญญัติ ว่า คน สัญชาติ ไทยผู้ เสีย ไป ซึ่ง สัญชาติ ไทย ไม่ว่า ด้วย เหตุใด ให้ ไป ขอ ใบ สำคัญ ประจำตัวจาก นายทะเบียน ใน ท้องที่ ที่ ตน อยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ ได้ รู้ หรือควร รู้ ว่า ตน ได้เสีย ไป ซึ่ง สัญชาติ ไทย และ มาตรา 21 บัญญัติ ว่า ผู้ใดละเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ความใน มาตรา 8 มี ความผิด ต้อง ระวางโทษ ปรับไม่เกิน 500 บาท แสดง ว่า กฎหมาย บังคับ ให้ คน สัญชาติ ไทย ผู้ เสีย ไปซึ่ง สัญชาติ ไทย กลาย เป็น คนต่างด้าว ต้อง ไป ขอ ใบ สำคัญ ประจำตัวนายทะเบียน ใน ท้องที่ ที่ ตน อยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ ได้ รู้ หรือควร รู้ ว่า ตน ได้เสีย ไป ซึ่ง สัญชาติ ไทย หาก ละเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ย่อมเป็น ความผิด มิใช่ เป็น บทบัญญัติ ที่ จำกัดสิทธิ ของ บุคคล ดังกล่าว ว่า หากไม่ไป ยื่น คำขอ ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าว แล้ว จะ ไม่มี สิทธิขอให้ ออก ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว ดังนี้ แม้ โจทก์ ทั้ง ห้า จะ รู้ ว่าตน เสีย ไป ซึ่ง สัญชาติ ไทย เกินกว่า 30 วัน แล้ว โจทก์ ทั้ง ห้า ก็ ยัง มีสิทธิ ขอ ใบ สำคัญ ประจำตัว คนต่างด้าว จาก จำเลย ผู้ซึ่ง เป็น นายทะเบียนจำเลย จะ ปฏิเสธ ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่มี สิทธิ ขอให้ จำเลย ออก ใบ สำคัญประจำตัว ให้ หาได้ไม่ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น อีก เช่นกัน ”
พิพากษายืน