คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นที่ได้แบ่งแยกจากที่ดินของ ถ.เช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้แต่เมื่อทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง และ ประชาชน ทั่วไป ได้ ใช้ ทาง กว้างประมาณ 4 เมตร ยาว ประมาณ 37 เมตร ใน ที่ดิน ของ จำเลย ด้าน ทิศตะวันออก ผ่าน ไป สู่ ทางสาธารณะ เป็น เวลา กว่า 10 ปี แล้ว ที่ดิน ของจำเลย จึง ตกอยู่ใน ภารจำยอม ต่อมา จำเลย ทำ รั้ว ปิด กั้น ทาง ดังกล่าวขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน รั้ว ที่ ปิด กั้น ทาง เข้า ออก หาก จำเลย ไม่ยอมปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ใน การรื้อถอน รั้ว โดย โจทก์ ทั้ง สอง จะ เป็น ผู้ รื้อถอน เอง และ ให้ จำเลยเป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ใน การ รื้อถอน ทั้งหมด ให้ จำเลย ไป จดทะเบียนภารจำยอม บน ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เลขที่ 152/109 และ 153/109 กว้าง 4 เมตร ยาว 37 เมตร ทาง ทิศตะวันออก ของ ที่ดิน ของ จำเลย ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน และ ห้าม จำเลย กับบริวาร เข้า เกี่ยวข้อง ใน ทางภารจำยอม อีก ต่อไป หาก จำเลย ไม่ยอมปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ใน การจดทะเบียน ภารจำยอม โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ เสีย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่าย ทั้งหมด
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียกร้อง เอา ทางเดิน ออก ไป ทาง ทิศตะวันออก เฉพาะ บน ที่ดิน ที่ ได้ แบ่งแยก คือ ที่ดิน แปลง เดิม ที่ เป็น ของ นาย ถวิล เท่านั้น จำเลย ไม่เคย เปิด ทาง ออก ให้ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ดิน ของ จำเลย ไม่เคย เป็น ทางสาธารณะ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่ดิน ของ จำเลย ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 152/109 และ 153/109 ตำบล บ้านดู่ อำเภอ เมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย ภายใน เส้น สี น้ำตาล กว้าง 4 เมตร ยาว ตลอด แนว นับ ต่อ จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม เส้น สี เขียวจน กระทั่ง ถึง ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ สาย วิทยาลัยครู เชียงราย -สวน สมเด็จ พระ ศรี นครินทร์ ใน แผนที่ สังเขป เอกสาร หมาย จ. 7 เป็น ทางภารจำยอม ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ภารจำยอม บน ที่ดิน ทั้ง 2 แปลง ดังกล่าวหาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลยให้ จำเลย รื้อถอน รั้ว บน ทางภารจำยอม ออก ไป คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า เดิม ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่1361 เป็น ของ นาย ธวัช ศรีบุญเรือง โดย ได้รับ การ ยกให้ จาก นาย ถวิล ศรีบุญเรือง ต่อมา ปี 2528 นาย ธวัช ขาย ที่ดิน แปลง ดังกล่าว พร้อม บ้าน 1 หลัง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง จำเลย มี ที่ดิน 2 แปลงมี อาณาเขต ติดต่อ กัน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 152/109และ 153/109 ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 153/109ด้าน ทิศใต้ ติดต่อ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ส่วน ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ เลขที่ 152/109 ทาง ด้าน ทิศเหนือ ติดต่อ กับ ถนนสาย วิทยาลัยครูเชียงราย-สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ซึ่ง เป็น ทางสาธารณะ ทางพิพาท คดี นี้ อยู่ ใน ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สอง แปลงมี ความ กว้าง 4 เมตร ยาว 37 เมตร ปรากฏ ตาม บริเวณ สี น้ำตาล ใน แผนที่เอกสาร หมาย จ. 7 คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่าทางพิพาท ตกเป็น ภารจำยอม แก่ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1361 ของ โจทก์ ทั้ง สอง หรือไม่ เชื่อ ได้ ตาม คำเบิกความ ของ นาย ถวิล และ นาย ธวัช พยานโจทก์ ว่า นาย ถวิล ได้ ใช้ ทางพิพาท เป็น ประจำ ตลอดมา จน กระทั่ง โอน ที่ดิน เป็น ของ นาย ธวัช และ นาย ธวัช ก็ ได้ ใช้ ทางพิพาท ต่อมา จน ถึง วันที่ ได้ ขาย ที่ดิน พร้อม บ้าน แก่ โจทก์ทั้ง สอง เป็น ระยะเวลา ติดต่อ กัน มา เกิน 10 ปี แล้ว การ ที่นาย ถวิล และ นาย ธวัช เดิน ผ่าน เข้า ออก โดย ใช้ ทางพิพาท เป็น เวลา เกินกว่า 10 ปี ทางพิพาท จึง ตกอยู่ใน ภารจำยอม เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1361 เมื่อ โจทก์ ทั้ง สองได้รับ โอน ที่ดิน ดังกล่าว มา สิทธิ ใน ภารจำยอม ย่อม ตกเป็น สิทธิ ของโจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ใช้ ทางพิพาท และ จำเลย ซึ่ง เป็นเจ้าของ ที่ดิน ภารยทรัพย์ ต้อง ยอม ให้ โจทก์ ใช้ ทางพิพาท จะ ปิด กั้นขัดขวาง หาได้ไม่ และ แม้ โจทก์ ทั้ง สอง จะ มีสิทธิ เรียกร้อง เอา ทางเดินจาก ที่ดิน แปลง อื่น ที่ ได้ แบ่งแยก จาก ที่ดิน ของ นาย ถวิล เช่นเดียว กับ ที่ดิน ของ โจทก์ เพื่อ ออก ไป สู่ ทางสาธารณะ ได้ ก็ ตาม แต่เมื่อ ทางพิพาทเป็น ภารจำยอม เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สองก็ ย่อม มีอำนาจ ฟ้อง ให้ จำเลย เปิด ทางพิพาท ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share