แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาละเมิดอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ก่อสร้างทางเดินเท้าปิดกั้นทางเข้าออกโรงสีข้าวของโจทก์สู่ถนนหลวงซึ่งเป็นทางเข้าออกมีอยู่ทางเดียวทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ทางเข้าออกได้ตามปกติขอให้รื้อถอนดังนี้แม้จำเลยทั้งสี่จะได้ร่วมกันสร้างทางเดินเท้าปิดทางเข้าออกโรงสีของโจทก์จนแล้วเสร็จไปแล้วก็ตามแต่ตราบใดที่ทางเดินเท้านั้นยังคงมีอยู่ก็ถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องเมื่อโจทก์มีทางเข้าออกโรงสีอยู่ทางเดียวการก่อสร้างทางเดินเท้าย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกโรงสีของโจทก์ได้ตามปกติกรณีมีเหตุสมควรและเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ทางเดินเท้า ที่ ปิด กั้น บริเวณ ทาง เข้า ออก ที่ดิน ของ โจทก์ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอให้ ใช้ วิธีการ ชั่วคราว ก่อน พิพากษา โดย ให้ จำเลยทั้ง สี่ รื้อถอน ทางเดินเท้า ที่ ปิด กั้น ทาง เข้า ออก ที่ดิน ของ โจทก์ ออกให้ กว้าง ประมาณ 6 เมตร
ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ยกคำร้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น เป็น ว่าให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน รื้อถอน ทางเดินเท้า ที่ ปิด กั้น ทาง เข้า ออกที่ดิน ของ โจทก์ ตรง จุด พิพาท มี ความ กว้าง 6 เมตร ไว้ จนกว่า คดีจะ ถึงที่สุด โดย ให้ โจทก์ วางเงิน ประกัน ค่าใช้จ่าย ใน การ ก่อสร้างทางเดินเท้า ให้ อยู่ ใน สภาพ เดิม หาก จำเลย ทั้ง สี่ ชนะคดี ใน ชั้น ที่สุดเป็น จำนวนเงิน และ ภายใน ระยะเวลา ที่ ศาลชั้นต้น เห็นสมควร กำหนด
จำเลย ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ว่าโจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 890 ตำบล มุกดาหาร อำเภอ มุกดาหาร จังหวัด นครพนม (จังหวัด มุกดาหาร ) โจทก์ ใช้ ทาง จาก ที่ดิน ตาม โฉนด ดังกล่าว เป็น ทาง เข้า ออก ถนน พิทักษ์พนมเขต หรือ ทางหลวง หมายเลข 2029 มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 เมื่อ เดือน เมษายน 2535จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน ก่อสร้าง ทางเดินเท้า ปิด ทาง เข้า ออกจาก ที่ดินของ โจทก์ มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ว่าโจทก์ จะ ขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน พิพากษา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 254(2) โดย ให้ จำเลย ทั้ง สี่ รื้อถอน ทางเดินเท้าที่ ปิด กั้น ที่ดิน ของ โจทก์ ได้ หรือไม่ เห็นว่า วิธีการ ชั่วคราว ตามบทบัญญัติ ดังกล่าว โจทก์ จะ ต้อง แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจ แก่ ศาล ว่า คำฟ้องที่ โจทก์ ยื่น และ ใน โอกาส ที่ ยื่น คำขอ นั้น มีเหตุ สมควร และ มีเหตุ เพียงพอที่ จะ นำ วิธี คุ้มครอง ตาม ที่ ขอ นั้น มา ใช้ ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255 วรรคหนึ่ง (1)(2)และ โจทก์ ยัง ต้อง แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจ แก่ ศาล ว่า จำเลย ทั้ง สี่ ตั้งใจจะ กระทำ ซ้ำ หรือ กระทำ ต่อไป ซึ่ง การ ละเมิด การ ผิดสัญญา หรือ การกระทำที่ ถูก ฟ้องร้อง ตาม มาตรา 255 วรรคสาม (ก) อีก ด้วย คดี นี้ แม้ ตามคำฟ้อง ที่ โจทก์ ยื่น และ ใน โอกาส ที่ ยื่น คำขอ นั้น ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าจำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน ก่อสร้าง ทางเดินเท้า ปิด ทาง เข้า ออก สู่ถนน พิทักษ์พนมเขต หรือ ทางหลวง หมายเลข 2029 จน แล้ว เสร็จ ไป ก็ ตาม แต่ คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่ ใน ข้อหา ละเมิด อ้างว่า จำเลย ทั้ง สี่ก่อสร้าง ทางเดินเท้า ปิด กั้น ทาง เข้า ออก โรงสี ข้าว ของ โจทก์ สู่ ถนน หลวงซึ่ง เป็น ทาง เข้า ออก มี อยู่ ทาง เดียว ทำให้ โจทก์ เสียหาย ไม่สามารถใช้ ทาง เข้า ออก ได้ ตาม ปกติ ขอให้ รื้อถอน ดังนี้ ตราบใด ที่ ทางเดินเท้านั้น ยัง คง มี อยู่ ก็ ถือได้ว่า ยัง มี การกระทำ ซ้ำ หรือ กระทำ ต่อไป ซึ่ง การละเมิด ตาม ที่ ถูก ฟ้องร้อง นั้น เมื่อ ปรากฏว่า โจทก์ มี ทาง เข้า ออกโรงสี อยู่ ทาง เดียว การ ก่อสร้าง ทางเดินเท้า ตาม ฟ้อง ย่อม ทำให้ โจทก์ไม่สามารถ ใช้ ทาง เข้า ออก โรงสี ของ โจทก์ ได้ ตาม ปกติ ส่วน ปัญหา ว่าที่ดิน ของ โจทก์ จะ ต้องด้วย ข้อกำหนด เงื่อนไข ให้ เปิด ทาง ได้ หรือไม่เป็น เรื่อง ที่ จะ ต้อง ว่ากล่าว กัน ต่อไป ใน ชั้นพิจารณา กรณี มีเหตุ สมควรและ เหตุผล เพียงพอ ที่ จะ นำ วิธี คุ้มครอง ชั่วคราว ตาม ที่ โจทก์ ขอ มา ใช้ ได้ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 4ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน