แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ทำสัญญาประกันผู้ต้องหาไว้ต่อศาลอาญาจำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากสัญญาประกันผู้ต้องหาจำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์สัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องนำอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)มาใช้บังคับ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม 2524โจทก์ ได้ ทำ สัญญาประกัน ตัว นาย ธนดิษฐ์ ชูสกุล ต่อ ศาลอาญา โดย กำหนด ราคา ประกันตัว ไว้ 250,000 บาท หาก โจทก์ ผิดสัญญา โจทก์ จะ ต้องรับผิด ชดใช้ เงิน จำนวน 250,000 บาท ให้ แก่ ศาลอาญา จน ครบใน วันที่ 9 และ 13 ตุลาคม 2524 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ทำ สัญญาค้ำประกัน ไว้ กับ โจทก์ คน ละ ฉบับ โดย ยอมรับ ผิด แทน โจทก์ หาก โจทก์ใน ฐานะ นายประกัน ของ นาย ธนดิษฐ์ ต้อง ถูก ศาลอาญา สั่ง ปรับ ต่อมา เมื่อ ถึง กำหนด นัด ส่งตัว นาย ธนดิษฐ์ ต่อ ศาลอาญา ปรากฎ ว่า นาย ธนดิษฐ์ ไม่ไป ศาล ตาม กำหนด ศาลอาญา สั่ง ปรับ โจทก์ ตาม สัญญาประกัน เป็น เงิน250,000 บาท โจทก์ ได้ นำ เงิน ไป ชำระ ค่าปรับ ให้ ศาลอาญา จน ครบถ้วน แล้วจำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง รับผิด ชดใช้ เงิน ค่าปรับ จำนวน 250,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ โจทก์ ทวงถาม แล้ว จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉยขอให้ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 293,750 บาท พร้อมดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย ทั้ง สองไม่เคย ทำ สัญญาค้ำประกัน ให้ ไว้ แก่ โจทก์ ลายมือชื่อ ใน ช่อง ผู้ ให้สัญญาค้ำประกัน เป็น ลายมือชื่อปลอม ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน250,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ชำระ เสร็จ แก่โจทก์
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 ฎีกา เป็น ข้อ สุดท้าย ว่า ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 ขาดอายุความ เพราะ สัญญาค้ำประกันเอกสาร หมาย จ. 4 เป็น การ ค้ำประกัน การ เช่า โฉนด ที่ดิน มา วาง ประกันศาล ไม่ใช่ สัญญาค้ำประกัน ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย โจทก์ จึง ต้อง นำ คดีมา ฟ้อง ภายใน 6 เดือน หรือ 2 ปี หรือ 5 ปี นับ ตั้งแต่ วันที่ ศาลอาญามี คำสั่ง ปรับ และ ยึด โฉนด ที่ดิน แต่ โจทก์ นำ คดี นี้ มา ฟ้อง เมื่อ วันที่ 27มิถุนายน 2533 จึง ขาดอายุความ แล้ว เห็นว่า สัญญา ตาม เอกสารหมาย จ. 4 เป็น สัญญา ที่ ทำ ขึ้น เพื่อ ประกัน ความเสียหาย ที่ โจทก์จะ ต้อง รับผิด ตาม สัญญาประกัน ที่ โจทก์ ทำ ไว้ ต่อ ศาลอาญา อันเป็น สัญญาอย่างหนึ่ง สิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ ที่ จะ ได้รับ ชดใช้ จาก จำเลย ตามสัญญา ดังกล่าว ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ เรื่อง อายุความ ไว้ เป็น อย่างอื่นจึง ต้อง นำ อายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่ แก้ไข ใหม่ ) มา ใช้ บังคับเมื่อ นับแต่ วันที่ 10 พฤษภาคม 2525 ซึ่ง เป็น วันที่ ศาลอาญา มี คำสั่งปรับ โจทก์ ตาม สัญญา ถึง วันฟ้อง (วันที่ 27 มิถุนายน 2533) ยัง ไม่เกิน10 ปี ดังนั้น ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 จึง ยัง ไม่ขาดอายุความ
พิพากษายืน