คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่ดินพิพาทตามโฉนดมีชื่อ ผ. ภรรยาจำเลยเป็นเจ้าของแต่ ผ.ได้ถึงแก่ความตายแล้วจำเลยและบุตรทุกคนจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทการที่จำเลยแต่ผู้เดียวทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าพวกบุตรจำเลยยินยอมให้ขายจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1361วรรคสองสัญญาจะซื้อขายไม่ผูกพันบุตรของจำเลยโจทก์จะฟ้องบังคับตามสัญญามิได้ การที่ต่อมาจำเลยไม่สามารถโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้เพราะบุตรจำเลยทุกคนไม่ตกลงขายให้นั้นจะถือว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้เพราะจำเลยได้บอกโจทก์ในวันทำสัญญาแล้วว่าหากบุตรจำเลยตกลงขายด้วยจึงจะไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาแต่หากบุตรจำเลยไม่ขายก็จะไม่ขายให้จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อฝ่ายจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโอนที่พิพาทแก่โจทก์ไม่ได้และให้โจทก์มารับมัดจำคืนตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยได้ร่วมรู้กันดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391มีผลว่าคู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับเงินมัดจำไว้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินโฉนด เลขที่ 15281 ตำบล ท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัด นครปฐม ใน ส่วน ของ จำเลย ครึ่ง หนึ่ง และ ของ นาง ผิว ภรรยา จำเลย อีก ครึ่ง หนึ่ง รวม เนื้อที่ 6 ไร่ แก่ โจทก์ ถ้า จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา แทน จำเลย ให้ จำเลย รับ เงิน จากโจทก์ อีก 320,000 บาท ตาม สัญญา และ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย หาก การ โอน ที่ดิน เป็น การพ้นวิสัย ก็ ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะ เรียก มัดจำ คืน พร้อม ค่าเสียหายจาก จำเลย
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย คืนเงิน มัดจำ จำนวน100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นรับฟัง ได้ ตาม ที่ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ต้อง ตาม กัน มา และ โจทก์จำเลย มิได้ อุทธรณ์ ฎีกา ว่า เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2531 โจทก์ จำเลยทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท เอกสาร หมาย จ. 1 ตาม โฉนด เลขที่ 15281ตำบล ท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัด นครปฐม จำนวน 6 ไร่ เศษ เอกสาร หมาย ล. 1 โดย นาย เย็นเกียรติ ธัญญกิตติคุณ เป็น พยาน และ ผู้ เขียน นาง จำเรียง เย็นใจ บุตรสะใภ้ จำเลย เป็น พยาน ตกลง โอน ที่ดินพิพาท ตาม สัญญา ใน วันที่ 1 กันยายน 2531 โจทก์ ได้ วางเงินมัดจำ จำนวน 100,000 บาท ใน วัน ทำ สัญญา เมื่อ ถึง กำหนด นัด โอน ที่ดินจำเลย ไม่ โอน ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ คดี มี ปัญหา ว่า จำเลย ผิดสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ใจความ ว่า ที่ดินพิพาทเป็น ทรัพย์สิน ซึ่ง จำเลย กับ นาง ผิว เย็นใจ ภริยา จำเลยร่วม ทำ มา หา ได้ ด้วยกัน ตั้งแต่ เป็น สามี ภริยา กัน ก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ใช้ บังคับ แต่ ตัว จำเลย และ นาย ภาสพร บุตรชาย เบิกความเท็จ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ นาง ผิว แต่ ผู้เดียว และ หาก จำเลย ไม่อาจ โอน ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ทั้ง แปลง ได้ อย่างน้อย ก็ สมควร โอน ให้ โจทก์ครึ่ง หนึ่ง ตาม ที่ มี ส่วน ได้ และ จำเลย ต้อง เสีย ค่าปรับ หรือ ค่าเสียหายตาม สัญญา ได้ความ จาก จำเลย กับ นาย ภาสพร บุตรชาย ว่า โจทก์ มา ขอ ซื้อ ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น ของ นาง ผิว ภริยา จำเลย ซึ่ง มี มา ก่อน อยู่กิน กับ จำเลย จำเลย บอก ว่า ที่ดินพิพาท มี ชื่อ นาง ผิว เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ตาม โฉนด จำเลย กับ บุตร ต้อง ดำเนินการ ขอรับ มรดก ก่อนอีก 1 สัปดาห์ จำเลย ก็ บอก ว่า ยัง รับมรดก ใส่ ชื่อ จำเลย กับ บุตร อีก6 คน เป็น เจ้าของ ตาม โฉนด ไม่ได้ เมื่อ โจทก์ ขอ วางเงิน มัดจำ 100,000บาท จำเลย บอก ว่า ถ้าหาก มี การ ประกาศ รับมรดก แล้ว บุตร ทั้ง หกไม่ยินยอม ให้ ขาย ก็ จะ ไม่ ขาย ที่ดินพิพาท พร้อม กับ คืนเงิน มัดจำดังกล่าว โจทก์ ตกลง นาย เย็นเกียรติ คนขับ รถ โจทก์ ได้ เขียน สัญญา แล้ว ร่วม ลงนาม เป็น พยาน กับ นาง จำเรียง จำเลย ลงนาม ตาม ที่ โจทก์ บอก แล้ว รับ เงินมัดจำ อีก ประมาณ 1 เดือน จำเลย เรียก ประชุม บุตรทุกคน พร้อม โจทก์ บุตร จำเลย บอก ว่า ไม่ต้อง การ ขาย ที่ดิน เพราะ เป็นมรดก ของ มารดา และ ขอ คืนเงิน มัดจำ โจทก์ ไม่ยอม รับ เงินมัดจำ คืนอีก 1 เดือน เศษ จำเลย ไป สำนักงาน ที่ดิน ตาม ที่ โจทก์ มี หนังสือ นัดตาม เอกสาร หมาย จ. 2 และ ยืนยัน ว่า บุตร ไม่ ตกลง ขาย ขอ คืนเงิน มัดจำ ให้นอกจาก จำเลย และ นาย ภาสพร เบิกความ สอดคล้อง กัน แล้ว นาง จำเรียง ภริยา นาย ภาสพร ก็ เบิกความ ยืนยัน ว่า จำเลย บอก โจทก์ ถึง เหตุผล ที่ ไม่อาจ โอน ที่ดินพิพาท ว่า เพราะ บุตร ของ จำเลย ไม่ อยาก ขาย ที่ดินเห็นว่า โจทก์ ซึ่ง นำพยาน มา สืบ ภายหลัง นำสืบ รับ ว่า จำเลย บอก โจทก์ว่าความ จริง ที่ดินพิพาท เป็น ของ นาง ผิว ภริยา จำเลย ซึ่ง ตาย ไป 3 ปี แล้ว ไม่ได้ นำสืบ หักล้าง ว่าความ จริง ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์สิน ซึ่งจำเลย กับ นาง ผิว ทำ มา หา ได้ ร่วมกัน และ ไม่ได้ นำสืบ ปฏิเสธ คำพยาน จำเลย ใน ส่วน ที่ ว่า จำเลย ได้ บอก โจทก์ ใน วัน ทำ สัญญาจะซื้อขายเอกสาร หมาย จ. 1 แล้ว ว่า ถ้าหาก ภายหลัง บุตร ทั้ง หก ไม่ยินยอม ให้ ขายก็ จะ ไม่ ขาย คง นำสืบ ปฏิเสธ เพียง ว่า จำเลย ไม่ได้ บอก ว่า จะ ต้อง ปรึกษาบุตร ก่อน เมื่อ พยาน จำเลย ทั้ง สาม ปาก เบิกความ ยืนยัน ว่า จำเลยได้ ชี้แจง โจทก์ ตลอดมา ว่า ที่ดินพิพาท มี ชื่อ นาง ผิว เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม โฉนด ไม่อาจ โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ได้ เพราะ บุตร ไม่ยอมให้ ขาย ที่ดิน ประกอบ กัน โฉนด ที่ดินพิพาท เอกสาร หมาย ล. 2 ระบุ ชื่อนาง ผิว เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท แต่ ผู้เดียว น่าเชื่อ ตาม พฤติการณ์ และ คำพยาน โจทก์ จำเลย ว่า จำเลย ได้ บอก โจทก์ และ โจทก์ ได้ ทราบใน วัน ทำ สัญญา แล้ว ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ นาง ผิว การ ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท นี้ จำเลย ต้อง ไป สอบถาม บุตร ทุกคน ของ จำเลย ก่อน หาก บุตรจำเลย ตกลง ขาย ด้วย จึง จะ ไป จดทะเบียน ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ ได้ ทำ ไว้ ต่อไป แต่ หาก บุตร จำเลย ไม่ ขาย ก็ จะ ไม่ ขาย ให้ดังนี้ เมื่อ ปรากฏว่า จำเลย และ บุตร ทุกคน เป็น เจ้าของรวม ใน ที่ดินพิพาท นี้ การ ที่ จำเลย แต่ ผู้เดียว ทำ สัญญาจะขาย ให้ โจทก์ ทั้ง แปลงโดย ไม่ปรากฏ ว่า พวก บุตร จำเลย ยินยอม ให้ ขาย จึง ขัด ต่อ ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง สัญญาจะซื้อขาย ไม่ผูกพันบุตร ของ จำเลย โจทก์ จะ ฟ้องบังคับ ตาม สัญญา มิได้ และ การ ที่ ต่อมาจำเลย ไม่สามารถ โอน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ได้ เพราะ บุตร จำเลยทุกคน ไม่ ตกลง ขาย ให้ นั้น ก็ จะ ถือว่า จำเลย ผิดสัญญา ไม่ได้ เพราะความ ข้อ นี้ โจทก์ ก็ ทราบ มา แต่ ต้น ดัง ได้ วินิจฉัย แล้ว จำเลย จึง ไม่ต้องรับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ และ การ ที่ ฝ่าย จำเลย แจ้ง ให้ โจทก์ทราบ ว่า โอน ที่พิพาท แก่ โจทก์ ไม่ได้ และ ให้ โจทก์ มา รับ เงินมัดจำคืน นั้น ตาม พฤติการณ์ ที่ โจทก์ จำเลย ได้ ร่วม รู้ กัน ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็น การ บอกเลิก สัญญาจะซื้อขาย แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 ซึ่ง มีผล ว่า คู่สัญญา กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม จำเลย ต้องคืนเงิน มัดจำ ให้ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ รับ เงินมัดจำ ไว้แต่ ปัญหา เรื่อง ดอกเบี้ย นี้ โจทก์ มิได้ ฎีกา โต้แย้ง ศาลฎีกา จึงไม่เห็น สมควร ที่ จะ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย ให้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share