คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่1ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ทั้งหากจะได้ความว่าจำเลยที่2เป็นเจ้าของหรือผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่จำเลยที่1ขับจริงแต่จำเลยที่2ก็มิใช่ผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะเกิดเหตุจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยจึง ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยจึง ไม่ต้องรับผิดชอบด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน2ค-9304 กรุงเทพมหานคร ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 โดยประมาทเป็นเหตุ ให้ ชน กับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 6ฉ-3649 กรุงเทพมหานครที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัย รถ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 31,334 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 3 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์ เป็น จำนวน 26,500 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 6 กรกฎาคม 2532 เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง ไม่เกิน 1,668 บาท และ ให้ร่วมกัน ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ 2,000 บาทจำเลย ที่ 2 ให้ยก ฟ้อง
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ส่วน ฎีกา ข้อกฎหมาย ที่ ว่า ข้อกำหนดใน กรมธรรม์ประกันภัย ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 2.8 จำกัด ความรับผิดของ ผู้รับประกันภัย ใน กรณี ที่ ผู้ขับ รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย นำ รถยนต์ไป ขับ โดย ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก ผู้เอาประกันภัย ไม่รวม ถึง การคุ้มครอง ทรัพย์สิน ของ บุคคลภายนอก นั้น เห็นว่า ตาม ข้อเท็จจริงที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ฟัง มา ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ ความรับผิด ของ จำเลย ที่ 2ซึ่ง เป็น ผู้เอาประกันภัย ว่า ข้อเท็จจริง ตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ ไป ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 ทั้ง หาก จะ ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ หรือผู้เช่าซื้อ รถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ จริง แต่ จำเลย ที่ 2 ก็ หาใช่ผู้ครอบครอง รถยนต์ คัน ดังกล่าว ใน ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 2จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ การ ที่ กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 3ระบุ ไว้ ใน สัญญา หมวด ที่ 2 การ คุ้มครอง ความรับผิด ต่อ บุคคลภายนอกข้อ 2.8 การ คุ้มครอง ผู้ขับขี่ ที่ มี ข้อความ ว่า “บริษัท จะ ถือว่าบุคคล ใด ซึ่ง ขับขี่ รถยนต์ โดย ได้รับ ความ ยินยอม จาก ผู้เอาประกันภัยเสมือน หนึ่ง เป็น ผู้เอาประกันภัย เอง แต่ มี เงื่อนไข ว่า ฯลฯ ” นั้นหมายถึง การ คุ้มครอง เมื่อ มี อันตราย แก่ ชีวิต และ ร่างกาย ผู้ขับ รถยนต์คัน ที่ จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย ไว้ ต่อเมื่อ ผู้ขับ ได้รับ ความ ยินยอมจาก ผู้เอาประกันภัย เท่านั้น ส่วน ความรับผิด ต่อ บุคคลภายนอก ระบุ ไว้ใน ข้อ 2.1 ถึง 2.3 มี ใจความ ว่า บริษัท จะ ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ใน นามของ ผู้เอาประกันภัย ใน กรณี ที่ ผู้เอาประกันภัย จะ ต้อง รับผิดชอบ ตามกฎหมาย เพื่อ ความเสียหาย ที่ เกิด แก่ ชีวิต ร่างกาย และ ทรัพย์สิน ของบุคคลภายนอก ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เมื่อ ข้อเท็จจริง ใน คดี เป็น กรณี ที่จำเลย ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ไม่ต้อง รับผิดชอบ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็นผู้รับประกันภัย จึง ไม่ต้อง รับผิดชอบ ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้นที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลยที่ 3 ข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 3 นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share