แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมาก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่ชื่อว่า”ลเมียด”แล้วตกเติมคำว่า”ละเมียด”ส่วนนามสกุลของผู้รับพินัยกรรมยังคงไว้เช่นเดิมนั้นมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการขีดฆ่าตกเติมนั้นมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองคำว่า”ละเมียด”ที่เขียนตกเติมจึงเสียไปและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า”ลเมียด”ในพินัยกรรมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าวหามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่าเมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินยอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินดังนี้(1)เรือน…และมีข้อความว่าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียด…แสดงว่าเจ้ามรดกมิได้มีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่โจทก์ที่2หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบพินัยกรรมให้เก็บรักษาไว้เฉยๆไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง จ่าง โจทก์ ที่ 2 เป็น ทายาทโดยธรรม และ ผู้รับพินัยกรรม บ้านทรงมนิลาของ นาง จ่าง บ้าน ดังกล่าว และ บ้าน ของ จำเลย เป็น บ้าน หลัง ใหญ่ ใช้ เลขที่ 15 ด้วยกัน โจทก์ ทั้ง สอง ประสงค์ จะ รื้อถอน บ้าน แต่ จำเลยไม่ยอม อ้างว่า นาง จ่าง ยกให้ จำเลย แล้ว ขอให้ โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ รื้อถอน บ้าน ห้าม จำเลย กับ บริวาร ขัดขวาง การ รื้อถอน
จำเลย ให้การ ว่า พินัยกรรม ที่ โจทก์ อ้าง เป็น พินัยกรรม ปลอมข้อความ ใน พินัยกรรม ไม่ได้ ระบุ ยก บ้านทรงมนิลา ให้ แก่ ผู้ใด ชื่อ ของโจทก์ ที่ 2 ใน พินัยกรรม มี การ ขีดฆ่า แก้ไข โดย ผู้ทำพินัยกรรม ไม่ได้ลงชื่อ กำกับ นาง จ่าง มี บ้าน หลัง เดียว เลขที่ 15 ซึ่ง โอน ให้ จำเลย แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี สิทธิ รื้อถอน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า บ้าน เลขที่ 15 ที่ นาง จ่าง ยกให้ จำเลย คือ บ้าน หมายเลข 1 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ส่วน บ้าน พิพาทคือ บ้าน หมายเลข 3 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง จ่าง และ นาง จ่าง ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 พิพากษา ให้ โจทก์ ทั้ง สอง รื้อ บ้าน พิพาท คือ บ้าน หมายเลข 3 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2เป็น บ้านทรงมนิลา มุง กระเบื้อง วิบูลศรี พร้อม กระดาน พื้น 19 แผ่นกระดาน ระเบียง ด้าน ยาว 7 แผ่น 1 หลัง อันเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ที่ 2ตาม พินัยกรรม ของ นาง จ่าง สุขสวัสดิ์ ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2524ห้าม จำเลย และ บริวาร ขัดขวาง การ รื้อถอน ให้ จำเลย ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทน โจทก์ ทั้ง สอง โดย กำหนด ค่า ทนายความ 3,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า บ้าน เลขที่ 15 ที่ นาง จ่าง ยกให้ จำเลย ตาม หนังสือ ยกให้ เอกสาร หมาย จ. 5 หมายถึง บ้าน หลัง ที่ 1 (ที่ ถูกบ้าน หมายเลข 1) มิได้ หมาย รวม ถึง บ้าน หลัง อื่น ทุก หลัง ที่ ใช้บ้าน เลขที่ 15 รอย ขีดฆ่า ตก เติม ชื่อ ผู้รับพินัยกรรม จาก นาง ลเมียด ช้างแก้วมณี เป็น นาง ละเมียด ช้างแก้วมณี โดย ผู้ทำพินัยกรรม และ พยาน มิได้ ลงลายมือชื่อ กำกับ เป็น การ แก้ตัว สะกด ให้ ถูกต้องซึ่ง เห็น ได้ว่า พินัยกรรม เป็น บุคคล เดียว กัน นับ ว่า เป็น การ ขีดฆ่าแก้ไข ใน สิ่ง ซึ่ง ไม่ใช่ ข้อ สาระสำคัญ เป็น ข้อ เล็กน้อย มิได้ ทำให้มี การ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผล ของ พินัยกรรม พินัยกรรม จึง สมบูรณ์พิพากษายืน ให้ จำเลย ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ 1,000 บาทแทน โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่านาง จ่าง ยก บ้าน เลขที่ 15 ให้ จำเลย แล้ว บ้าน ที่ ใช้ เลขที่ 15ซึ่ง รวมทั้ง บ้าน พิพาท จึง ตกเป็น ของ จำเลย แล้ว นั้น เห็นว่า ราคาทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท จึง ห้าม มิให้คู่ความ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า บ้าน เลขที่ 15ที่ นาง จ่าง ยกให้ จำเลย คือ บ้าน หมายเลข 1 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2ส่วน บ้าน พิพาท คือ บ้าน หมายเลข 3 ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 เป็น ทรัพย์มรดกของ นาง จ่าง การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า บ้าน เลขที่ 15 มิได้ หมายถึง บ้าน หมายเลข 1 เพียง หลัง เดียว แต่ หมาย รวม ถึง บ้าน หลัง อื่น รวมทั้งบ้าน พิพาท ที่ ใช้ เลขที่ เดียว กัน เป็น การ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้น ฟัง มา ดังกล่าว แล้ว เป็น อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง จึง ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ รับ วินิจฉัยปัญหา ข้อ นี้ ให้ และ จำเลย ฎีกา ต่อมา ก็ ถือ เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้นว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้
ที่ จำเลย ฎีกา ใน ข้อกฎหมาย ว่า ข้อความ ใน พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3มี การ ขีดฆ่า แก้ไข โดย นาง จ่าง ผู้ทำพินัยกรรม และ พยาน ใน พินัยกรรม มิได้ ลงลายมือชื่อ กำกับ ไว้ พินัยกรรม จึง ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1705 นั้น เห็นว่า การ ขีดฆ่า ชื่อ ผู้รับพินัยกรรม จาก เดิม ที่ เขียน ว่า “ลเมียด” แล้ว ตก เติม คำ ว่า “ละเมียด “ส่วน นามสกุล ของ ผู้รับพินัยกรรม ยัง คง ไว้ เช่น เดิม นั้น มิใช่ การ ขีดฆ่าอันเป็น การ เพิกถอน ข้อกำหนด พินัยกรรม แต่ เป็น การ แก้ไข เปลี่ยนแปลงเพื่อ เขียน ชื่อ ผู้รับพินัยกรรม ให้ ถูกต้อง เมื่อ การ ขีดฆ่า ตก เติมนั้น มิได้ ลง วัน เดือน ปี ที่ แก้ไข ผู้ทำพินัยกรรม และ พยาน ใน พินัยกรรมทั้ง สอง คน มิได้ ลงชื่อ กำกับ การ แก้ไข เปลี่ยนแปลง จึง ไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคสอง คำ ว่า “ละเมียด “ที่ เขียน ตก เติม จึง เสีย ไป และ ถือว่า ไม่มี การ แก้ไข เปลี่ยนแปลง คำ ว่า”ลเมียด” ใน พินัยกรรม โดย พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 2 คง มีข้อความ ตาม เดิม การ แก้ไข เปลี่ยนแปลง พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3ที่ ทำ ไม่ถูกต้อง ตาม แบบ ดังกล่าว จึง หา มีผล ทำให้ พินัยกรรม ที่ สมบูรณ์อยู่ แล้ว ต้อง ตกเป็น โมฆะ ไม่
ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลยที่ ว่า พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 2 ระบุ เพียง ว่า ขอมอบ พินัยกรรมให้ กับ นาง ละเมียด เท่านั้น จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า นาง จ่าง ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ โจทก์ ที่ 2 คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบ ขอให้ ย้อนสำนวนไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใน ปัญหา ดังกล่าว นั้น เห็นว่า ใน ปัญหา ที่จำเลย อุทธรณ์ ดังกล่าว จำเลย ได้ ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การและ อยู่ ใน ประเด็น ข้อพิพาท ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ว่า นาง จ่าง ได้ ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ โจทก์ ที่ 2 หรือไม่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่ได้วินิจฉัย ปัญหา อุทธรณ์ ของ จำเลย ดังกล่าว จึง เป็น การ ไม่ชอบ และ ศาลฎีกาเห็นสมควร วินิจฉัย ไป โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยซึ่ง พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 3 มี ข้อความ ว่า “ข้อ 1 ข้าพเจ้า ถึงแก่ ความตาย ไป แล้ว บรรดา ทรัพย์สิน ของ ข้าพเจ้า ที่ มี อยู่ และ ที่ จะเกิดขึ้น ใน ภายหน้า ข้าพเจ้า ยอม ยกให้ เป็น กรรมสิทธิ์ แก่ ผู้ที่ ได้ ระบุไว้ ใน พินัยกรรม นี้ ให้ เป็น ผู้รับ ทรัพย์สิน ตาม จำนวน ซึ่ง กำหนด ไว้ดัง ต่อไป นี้
(1) เรือน ทรง มลิลา มุง กระเบื้อง วิบูลศรี พร้อม กระดาน พื้น19 แผ่น กระดาน ระเบียง ด้าน ยาว 7 แผ่น 1 หลัง
ข้อ 2 ข้าพเจ้า ขอมอบ พินัยกรรม ให้ กับ นาง ลเมียด ช้างแก้วมณี และ ขอ ตั้ง ให้ นาย มานพ สุขสวัสดิ์ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ข้าพเจ้า ตาม พินัยกรรม นี้ ” ดังนี้ ถ้อยคำ ใน พินัยกรรม แสดง ว่า นาง จ่าง เจ้ามรดก มี เจตนา ทำ พินัยกรรม ยก เรือน พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 และตั้ง โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดก หาใช่ มี เจตนา เพียงแต่ มอบ พินัยกรรมให้ โจทก์ ที่ 2 เก็บรักษา ไว้ เฉย ๆ เท่านั้น ไม่
พิพากษายืน