คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาททั้งหกสายเป็นทางสาธารณะหรือไม่และในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นสมประโยชน์แก่จำเลยแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง หก ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ส่วนราชการมี พลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็น ผู้ว่าราชการ และ เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 2 เป็น สำนักงาน เขต ขึ้น ตรง ต่อ จำเลย ที่ 1โดย มี จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้อำนวยการ เขต มีอำนาจ หน้าที่ จัด ให้ เป็น ไป ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522และ ปฏิบัติ ราชการ แทน ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร บริษัท อรรถพร จำกัด ได้ ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1915 แล้ว ได้ แบ่งแยก โฉนด ที่ดิน ดังกล่าวออก เป็น แปลง ๆ ปลูก ตึก ขาย ให้ แก่ ประชาชน รวม 20 โฉนด ตั้งแต่โฉนด เลขที่ 16269 ถึง 16288 ที่ดิน ที่ เหลือ อยู่ ตาม โฉนด เดิมเลขที่ 1915 ได้ ขาย ที่ดิน ที่ เหลือ อยู่ ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 4ส่วน โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ได้ ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16281,16282, 16283, 16286 พร้อม ตึกแถว บน ที่ดิน เลขที่ 132/19, 132/18,132/17 และ 132/4 ตามลำดับ โจทก์ ที่ 4 ได้ ซื้อ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 16284, 16285 พร้อม ตึกแถว บน ที่ดิน เลขที่ 132/16, 132/14และ โจทก์ ที่ 6 กับ นาง ฮามินตะโก ได้ ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16287,16288 พร้อม ตึกแถว บน ที่ดิน เลขที่ 132/12-13 โจทก์ ทั้ง หก ได้ ใช้ตึกแถว ดังกล่าว ประกอบการค้า โดย บริษัท อรรถพร จำกัด ให้ สัญญา ต่อ โจทก์ ทั้ง หก และ ประชาชน ผู้ซื้อ ที่ดิน พร้อม ตึกแถว ว่า จะ ให้ ใช้ทาง คมนาคม รวม 3 สาย สาย ที่ 1 กว้าง 4.70 เมตร ยาว 24 เมตรสาย ที่ 2 กว้าง 5.30 เมตร ยาว 37.50 เมตร สาย ที่ 3 กว้าง 2 เมตรยาว 37.50 เมตร โจทก์ ทั้ง หก จึง ได้ ตกลง ซื้อ ที่ดิน พร้อม ตึกแถวที่ ว่า นั้น ดังนั้น แนว ทาง เหล่านี้ จึง มี สภาพ เป็น สาธารณะ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522แต่ หลังจาก จำเลย ที่ 4 ได้ ซื้อ ที่ดิน แล้ว จำเลย ที่ 4 ได้ ทำการก่อสร้าง สถาน ประกอบการค้า ขึ้น ให้ ประชาชน เช่า ทำการ ค้า และ ยินยอมให้ โจทก์ ทั้ง หก ใช้ สัญจร เข้า ออก ตาม ทาง สาย ที่ 1 ถึง ที่ 3 และ ยินยอมให้ โจทก์ ทั้ง หก และ ประชาชน ทั่วไป สัญจร เข้า ออก ใน ทาง อีก 3 สาย คือทาง สาย ที่ 4 ถึง ที่ 6 จน กระทั่ง ปัจจุบัน ทาง สาย ที่ 4 ถึง ที่ 6จึง เป็น ทาง ที่ มี สภาพ เป็น สาธารณะ เช่นเดียวกัน ต่อมา จำเลย ที่ 4ได้ ยื่น คำขอ รับ ใบอนุญาต ก่อสร้าง อาคาร ต่อ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 พร้อม กับเสนอ ผัง บริเวณ แบบแปลน รายการ ประกอบ แบบแปลน และ รายการ คำนวณเลขที่ 060/2531 ให้ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 พิจารณา และ ด้วย ความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง ของ เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 3ใน การ ปฏิบัติ ตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุม การ ก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 และ ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ จะ ต้องควบคุม การ ทำงาน ของ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ใน การ ปฏิบัติการ ให้ เป็น ไป ตามกฎหมาย จำเลย ที่ 3 ออก ใบอนุญาต ก่อสร้าง อาคาร ดัดแปลง อาคาร หรือรื้อถอน อาคาร ตาม แบบ อ.1 อาคาร ประเภท ควบคุม การ ใช้ เลขที่ 060/2531ใน ฐานะ ผู้อำนวยการ เขต จำเลย ที่ 2 ปฏิบัติ ราชการ แทน จำเลย ที่ 1และ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่น อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 4 ก่อสร้าง อาคาร ชนิด ตึกแถว3 ชั้น จำนวน 9 ห้อง เพื่อ ใช้ เป็น อาคารพาณิชย์ และ อาศัย ตาม แผนผังบริเวณ ฯ ที่ จำเลย ที่ 4 ยื่น ขออนุญาต ดังกล่าว จำเลย ที่ 3 ทราบ ดี ว่าอาคาร ที่ ก่อสร้าง จะ ทับ ลง บน ทาง หรือ แนว ทาง ที่ มี สภาพ เป็น สาธารณะแต่ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ยัง จงใจ ออก ใบอนุญาต ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 โดย ไม่ชอบด้วย กฎหมาย และ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้ สมคบ กับ เจ้าหน้าที่ของ จำเลย ที่ 1 ใช้ กลอุบาย หลอกลวง โจทก์ ทั้ง หก พร้อม ผู้ อยู่อาศัยใน ตึกแถว บริเวณ เดียว กัน ไป พบ จำเลย ที่ 4 ที่ ศาลา ว่าการ กรุงเทพมหานครของ จำเลย ที่ 1 การ พูดจา หว่า นล้อม ของ เจ้าหน้าที่ ประกอบ กับ การ ไม่รู้กฎหมาย ของ โจทก์ ทั้ง หก ทำให้ โจทก์ ทั้ง หก ทำ หนังสือ ประนีประนอม ยอมความกับ จำเลย ที่ 4 เพื่อ ให้ ใบอนุญาต ก่อสร้าง อาคาร ที่ 060/2531 ของจำเลย ที่ 3 มีผล ใช้ บังคับ ต่อไป และ อาศัย เหตุ แห่ง สัญญา ประนีประนอมยอมความ จำเลย ที่ 3 ได้ มี หนังสือ ถึง โจทก์ ทั้ง หก ยืนยัน ว่า ใบอนุญาต ที่060/2531 ของ จำเลย ที่ 2 ไม่ ขัด ต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 4ได้ ปรับปรุง ที่ดิน เพื่อ ก่อสร้าง ตึกแถว ทั้ง 9 ห้อง ปิด กั้น ขัดขวางเพื่อ ให้การ ใช้ ทาง ที่ มี สภาพ เป็น ทางสาธารณะ ทั้ง หก สาย ไม่ สะดวก ขอให้บังคับ จำเลย ที่ 4 ระงับ การกระทำ อันเป็น การ รบกวน ขัดขวาง หรือกระทำ ด้วย ประการใด ๆ อันเป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต โดย ให้ นำสิ่ง กีดขวาง ทุก ชนิด ออกจาก แนว ทาง ที่ มี สภาพ เป็น สาธารณะ ทั้ง หก สายและ ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน เพิกถอน ใบอนุญาต ก่อสร้างอาคาร ถ้า จำเลย ที่ 3 ไม่ ดำเนินการ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 บังคับ ให้ จำเลย ที่ 2 เพิกถอน ใบอนุญาตก่อสร้าง อาคาร เสีย และ ให้ จำเลย ที่ 4 รื้อถอน แผ่น ป้าย คำ ว่า”สงวนสิทธิ ที่ ส่วนบุคคล ” รวม 4 แผ่น ออกจาก แนว ทาง บน ที่ดินโฉนด เลขที่ 1915
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 4 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1ไม่มี นิติสัมพันธ์ และ ไม่เคย โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง หก จำเลย ที่ 3เป็น แต่ ผู้ปฏิบัติ ราชการ ตาม ที่ รับมอบหมาย จาก ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้ก่อสร้าง อาคาร ผู้มีอำนาจ หน้าที่ที่ จะ สั่ง ห้าม หรือ เพิกถอน ใบอนุญาต ก่อสร้าง ได้ คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โจทก์ ทั้ง หก จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 1 ที่ 3และ ที่ 4 ทาง ทั้ง หก สาย ไม่ใช่ ทางสาธารณะ สัญญา ประนีประนอม ยอมความระหว่าง โจทก์ ทั้ง หก (ยกเว้น โจทก์ ที่ 3) กับ จำเลย ที่ 4 สัญญา ดังกล่าวทำ ขึ้น โดย สมัครใจ และ ฝ่าย จำเลย ที่ 4 ก็ ได้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ประนีประนอมยอมความ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา ใน ศาลชั้นต้น โจทก์ ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6ยื่น คำร้องขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 4 ไม่ค้าน ศาลชั้นต้นอนุญาต และ ให้ จำหน่ายคดี เฉพาะ โจทก์ ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6 ออกจากสารบบความ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ที่ 3 และ จำเลย ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 4 นำ สิ่ง กีดขวางทุก ชนิด ออกจาก ทางพิพาท สาย ที่ 1 ทั้งหมด และ ห้าม มิให้ กระทำการ ใด ๆอันเป็น การ รบกวน ขัดขวาง ใน การ ใช้ ทาง สาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ดังกล่าว ของ โจทก์ ที่ 3 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้น รับฟัง ได้ว่าเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2522 บริษัท อรรถพร จำกัด ได้ ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1915 แล้ว แบ่งแยก ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ออก เป็น แปลง ๆปลูก ตึก ขาย ให้ แก่ ประชาชน รวม 20 โฉนด ตั้งแต่ โฉนด เลขที่ 16269ถึง 16288 ยัง คงเหลือ เนื้อที่ดิน อยู่ ตาม โฉนด เดิม เลขที่ 1915จำนวน 2 งาน 38 ตารางวา ต่อมา ได้ ขาย ที่ดิน ที่ เหลือ อยู่ ดังกล่าวให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง รวม เนื้อที่ ทางเดิน พิพาท ทั้ง หก สาย ส่วนโจทก์ ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 5 ก็ ได้ ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 16281, 16283,16286 พร้อม ตึกแถว บน ที่ดิน เลขที่ 132/19 132/17 และ 132/4 ตามลำดับจาก บริษัท อรรถพร จำกัด เพื่อ อยู่อาศัย และ ประกอบ กิจการ ค้า ส่วน จำเลย ที่ 4 ได้ ยื่น คำขอ รับ อนุญาต ก่อสร้าง ตึกแถว สาม ชั้นจำนวน 9 ห้อง ลง ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1915 และ ได้รับ ใบอนุญาตก่อสร้าง อาคาร ดัดแปลง หรือ รื้อถอน อาคาร แบบ อ.1 เลขที่ 060/2531จาก ผู้อำนวยการ เขต คลองสาน ปฏิบัติ ราชการ แทน ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ต่อมา จำเลย ที่ 4 ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความกับ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 5 และ บุคคลอื่น ๆ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญา รวม10 คน (ยกเว้น โจทก์ ที่ 3) มี ใจความ สรุป ว่า จำเลย ที่ 4 ตกลง จะ ให้ มีพื้นที่ ว่าง ใช้ เป็น ทาง เข้า ออก ทาง ด้าน ทิศตะวันตก ของ ที่ดิน กว้าง4 เมตร ด้าน ทิศใต้ กว้าง 5.10 เมตร และ ด้าน ทิศตะวันออก กว้าง3.55 เมตร โดย จะ ไม่ทำ ประตู ปิด กั้น แต่ ห้าม โจทก์ ทุกคน ดังกล่าว นำรถยนต์ เข้า ไป ใน พื้นที่ ทางเดิน ดังกล่าว ระหว่าง 6 นาฬิกา ถึง21 นาฬิกา และ ห้าม มิให้ โจทก์ และ บุคคลอื่น ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญาวาง สิ่งของ บริเวณ พื้นที่ ที่ ว่า นั้น โดย จำเลย ที่ 4 จะ จดทะเบียนภารจำยอม ภายใน 1 ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญา เพื่อ ให้ ผู้อาศัย ได้ ใช้ พื้นที่ดังกล่าว เป็น ทาง เข้า ออก และ สัญจร ไป มา จาก นั้น จำเลย ที่ 4 ได้ ยื่น คำขอรับ ใบอนุญาต ก่อสร้าง ตึกแถว สาม ชั้น ใหม่ เพราะ ตาม ใบอนุญาต ฉบับ เดิมไม่อาจ ทำการ ก่อสร้าง ได้ ซึ่ง ใน วันที่ 21 กันยายน 2531 จำเลย ที่ 4ก็ ได้รับ ใบอนุญาต ก่อสร้าง อาคาร ดัดแปลง หรือ รื้อถอน อาคาร แบบ อ.เลขที่ 136/2531 ฉบับ ใหม่ ให้ ก่อสร้าง ตึกแถว สาม ชั้น ใน บริเวณ ดังกล่าวได้ เพียง 7 ห้อง อันเป็น ผล ให้ ใบอนุญาต เดิม ถูก ยกเลิก ไป แล้ว วินิจฉัยต่อไป ว่า
“คดี มี ปัญหา ตาม ที่ จำเลย ที่ 4 ฎีกา ข้อ แรก ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ว่า ทางพิพาท สาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ทางภารจำยอมของ โจทก์ ที่ 3 จำเลย ที่ 4 ปิด กั้น ไม่ได้ และ ให้ จำเลย ที่ 4 รื้อสิ่ง กีดขวาง ต่าง ๆ ออก ไป จาก ทางภารจำยอม ทั้ง สาม สาย ที่พิพาท กันให้ หมดสิ้น เป็น การ พิพากษา นอกฟ้อง นอกประเด็น และ นอก คำขอ ของ โจทก์อันเป็น การ ขัด ต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 นั้นเห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า ทางพิพาท ทั้ง หก สาย เป็น ทางสาธารณะแล้ว จำเลย ที่ 4 ได้ ก่อสร้าง ตึกแถว ลง บน ทางสาธารณะ ดังกล่าว ขอให้บังคับ จำเลย ที่ 4 ระงับ การกระทำ อันเป็น การ รบกวน ขัดขวาง หรือ กระทำด้วย ประการใด ๆ อันเป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต โดย ให้ นำ สิ่ง กีดขวางทุก ชนิด ออกจาก แนวเขต ทางสาธารณะ ทั้ง หก สาย จำเลย ที่ 4 ให้การ ว่าทาง ทั้ง หก สาย มิใช่ ทางสาธารณะ ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ ดังกล่าว มิได้กล่าวอ้าง ว่า ทางพิพาท ทั้ง หก สาย เป็น ทางภารจำยอม และ ศาลชั้นต้นชี้สองสถาน ก็ กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท ว่า ทาง ทั้ง หก สาย เป็น ทางสาธารณะหรือไม่ แล้ว วินิจฉัย ว่า ทาง ทั้ง หก สาย ไม่ใช่ ทางสาธารณะ โจทก์ ที่ 3อุทธรณ์ ว่า ทาง ทั้ง หก สาย เป็น ทางสาธารณะ ปัญหา ใน ชั้นอุทธรณ์ จึง มี เพียงว่า ทาง ทั้ง หก สาย เป็น ทางสาธารณะ หรือไม่ ไม่มี ประเด็น จะ วินิจฉัยว่า ทางพิพาท สาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ทางภารจำยอม ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า ทางพิพาท สาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ทางภารจำยอมสำหรับ โจทก์ ที่ 3 จึง เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น และ ไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหา ว่า ทาง ทั้ง หก สาย เป็น ทางสาธารณะ หรือไม่ นั้น ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า ทาง สาย ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 ไม่เป็น ทางสาธารณะ โจทก์ มิได้ฎีกา โต้แย้ง คง มี ปัญหา ที่ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัย แต่เพียง ว่าทาง สาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ทางสาธารณะ หรือไม่ ซึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควร วินิจฉัย ไป ตาม พยานหลักฐาน ใน สำนวน โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวนไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อีก ปัญหา นี้ โจทก์ ที่ 3 นำสืบ ว่า โจทก์ ที่ 3ซื้อ ที่ดิน และ ตึกแถว ซึ่ง อยู่ ด้านหลัง ทางพิพาท จาก บริษัท อรรถพร จำกัด เจ้าของ เดิม เมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม 2524 ซึ่ง เป็น วันเดียว กับที่ จำเลย ที่ 4 ซื้อ ที่ดิน ด้านหน้า ที่ เป็น แผงลอย ขาย ผ้า พร้อม ทางพิพาททั้ง หก สาย จาก บริษัท อรรถพร จำกัด หลังจาก นั้น โจทก์ ที่ 3 และ ชาวบ้าน ที่อยู่ ใกล้เคียง ต่าง ใช้ ทาง ทั้ง หก สาย ดังกล่าว เป็น ทาง สัญจรและ ขนส่ง สินค้า เรื่อย มา จำเลย ที่ 4 นำสืบ ว่า เมื่อ จำเลย ที่ 4ซื้อ ที่ดิน ด้านหน้า ซึ่ง เป็น แผงลอย ขาย ผ้า พร้อม ทางเดิน ซึ่ง ขณะ นั้นมี รวม 11 สาย แล้ว ก็ ได้ ปรับปรุง ลักษณะ ที่ ตั้ง แผงลอย ให้ ดี ขึ้นให้ ทางเดิน กว้าง ขึ้น โดย ลด ทางเดิน เหลือ เพียง หก สาย เห็นว่า พยานโจทก์ที่ นำสืบ มา ได้ความ แต่เพียง ว่า โจทก์ ที่ 3 กับ ชาวบ้าน ใช้ ทางพิพาทเป็น ทาง สัญจร ได้ โดย ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า บริษัท อรรถพร จำกัด ได้ อุทิศ ทาง ดังกล่าว ให้ เป็น ทางสาธารณะ แล้ว หรือไม่ ทั้ง ยัง ได้ความด้วย ว่า หลังจาก จำเลย ที่ 4 ซื้อ ที่ดิน มา แล้ว ได้ ทำการ ปรับปรุง ทางดังกล่าว เสีย ใหม่ จัด ให้ มี ยาม เฝ้า ทาง บริเวณ ทาง ออก และ ปิด ทางใน เวลา กลางคืน มิให้ คน เข้า ออก อันเป็น การ หวง กัน ทางพิพาท อยู่พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ ที่ 3 นำสืบ มา จึง ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่า ทางพิพาทสาย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น ทางสาธารณะ ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 4 ฎีกาต่อไป ว่า สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม เอกสาร หมาย จ. 16 ไม่มี ผลบังคับเพราะ สัญญา ดังกล่าว มี ลักษณะ เป็น สัญญาต่างตอบแทน ซึ่ง คู่สัญญาจะ ต้อง ปฏิบัติ ต่อ กัน ตาม ข้อตกลง ใน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ที่ ได้ ระบุเงื่อนไข และ เงื่อนเวลา ให้ ครบถ้วน เสีย ก่อน ทั้ง สัญญา ประนีประนอมยอมความ ตาม เอกสาร หมาย จ. 16 ก็ ไม่มี ผล ใช้ บังคับแก่ โจทก์ ที่ 3 เพราะ โจทก์ ที่ 3 ไม่ได้ เป็น คู่สัญญา ด้วย เห็นว่าโจทก์ ฟ้อง อ้างว่า จำเลย ที่ 3 ที่ 4 สมคบ กับ เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 1ใช้ กลอุบาย หลอกลวง โจทก์ ทั้ง หก และ อาศัย การ พูดจา หว่า นล้อม จน โจทก์ทั้ง หก กับพวก ยอม ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ที่ 4 จำเลย ที่ 4ให้การ ว่า สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าว ทั้ง สอง ฝ่าย ทำ ขึ้น โดยสมัครใจ มิได้ มี การ ใช้ กลอุบาย หลอกลวง โจทก์ จึง ต้อง ปฏิบัติ ตาม สัญญานั้น เมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ยก ฟ้อง โดย วินิจฉัย ว่า สัญญาประนีประนอม ยอมความ มีผล ใช้ บังคับ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย คำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้น จึง เป็น การ สมประโยชน์ แก่ จำเลย ที่ 4 แล้ว จำเลย ที่ 4จึง ไม่อาจ ยก ปัญหา นี้ ขึ้น อุทธรณ์ ฎีกา ได้ อีก ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัยเมื่อ คดี ฟังได้ ว่า ทางพิพาท ไม่ใช่ ทางสาธารณะ ข้อกล่าวหา ของ โจทก์ที่ ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 4 ระงับ การกระทำ อันเป็น การ รบกวน ขัดขวางหรือ กระทำ ด้วย ประการใด ๆ อันเป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต โดย ให้ นำสิ่ง กีดขวาง ออกจาก ทางพิพาท จึง ตก ไป ปัญหา อื่น ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 4นอกจาก นี้ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา ไม่ต้อง ด้วยความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ที่ 4 ฟังขึ้น แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 4 ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 5นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 5 มิได้ อุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share