คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวเมื่อโจทก์ผู้ได้รับสิทธิอาศัยถึงแก่ความตายสิทธิอาศัยเป็นอันระงับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1404แต่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยนอกเหนือจากที่ให้ขับไล่นั้นมีลักษณะเป็นทรัพย์สินที่อาจเป็นมรดกตกทอดให้แก่ทายาทของโจทก์ได้ตามมาตรา1599มิใช่สิทธิเฉพาะตัวอันทำให้ความมรณะของคู่ความฝ่ายโจทก์ยังให้คดีไม่มีประโยชน์ต่อไปแต่เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลา1ปีหลังจากโจทก์ถึงแก่ความตายแล้วทายาทหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของโจทก์มิได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ทั้งจำเลยและจำเลยร่วมก็มิได้มีคำขอให้ศาลเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา42วรรคสองประกอบมาตรา132(2)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ตึกแถว เลขที่ 51/6และ 51/7 ต่อมา โจทก์ ยก กรรมสิทธิ์ ใน ตึกแถว ดังกล่าว ให้ กับนาง อำนวย หอมวัฒนวงศ์ โดย นาง อำนวย จดทะเบียน ให้ โจทก์ อาศัย ทำประโยชน์ มี กำหนด 25 ปี โดย ไม่ คิด ค่าตอบแทน จำเลย เข้า อยู่อาศัยตึกแถว เลขที่ 51/7 โดย อาศัย สิทธิ ของ โจทก์ โจทก์ ต้องการ ขยาย กิจการอู่ซ่อมรถยนต์ ของ โจทก์ จึง บอกกล่าว ให้ จำเลย ออกจาก ตึก ที่อาศัยจำเลย ไม่ยอม ออก ผัดผ่อน เรื่อย มา ทำให้ โจทก์ เสียหาย ขอให้ บังคับจำเลย และ บริวาร ขนย้าย ออกจาก ตึกแถว เลขที่ 51/7 และ ให้ จำเลยชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 2,500 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจำเลย และ บริวาร จะ ขนย้าย ทรัพย์สิน ออกจาก ตึกแถว เลขที่ 51/7
จำเลย ให้การ ว่า ตึกแถว เลขที่ 51/6 และ 51/7 เป็น ของนาง อำนวย จำเลย ครอบครอง อาศัย ตึกแถว เลขที่ 51/7 อยู่ ก่อน โจทก์ ได้ สิทธิ ตาม สัญญา จาก นาง อำนวย จำเลย ไม่ได้ เป็น คู่สัญญา กับ โจทก์ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง
นาง อำนวย หอมวัฒนวงศ์ ยื่น คำร้อง ว่า เป็น เจ้าของ ตึกแถว เลขที่ 51/6 และ 51/7 จำเลย ครอบครอง อาศัย อยู่ ใน ตึกแถว เลขที่ 51/7โดย อาศัย สิทธิ ของ ผู้ร้อง ก่อน ที่ จะ ทำ สัญญา ให้สิทธิ อาศัย แก่ โจทก์โดย โจทก์ ตกลง กับ ผู้ร้อง ว่า จะ ไม่ ขับไล่ จำเลย บัดนี้ โจทก์ ผิดสัญญาฟ้องขับไล่ จำเลย ผู้ร้อง ได้ บอกเลิก สัญญา กับ โจทก์ แล้ว ผู้ร้อง จึงจำเป็น ต้อง ร้องสอด เข้า มา ใน คดี เพื่อ คุ้มครอง สิทธิ ขอให้ พิพากษาให้ โจทก์ คืน ตึกแถว ที่ ครอบครอง แก่ ผู้ร้อง
ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ นาง อำนวย ผู้ร้อง เข้า เป็น คู่ความ โดย เรียก จำเลยร่วม
โจทก์ ให้การ ว่า โจทก์ ไม่เคย ตกลง กับ จำเลยร่วม ว่า ให้ จำเลยร่วมอาศัย อยู่ ใน ตึกแถว เลขที่ 51/7 และ จะ ไม่ ขับไล่ จำเลย ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ให้ ขนย้าย ออกจากตึกแถว เลขที่ 51/7 หมู่ ที่ 2 ตำบล ท่าตลาด อำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม ห้าม เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหายให้ โจทก์ เดือน ละ 1,500 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลยและ บริวาร จะ ขนย้าย ออกจาก ตึกแถว เลขที่ 51/7 ตาม ฟ้อง
จำเลย และ จำเลยร่วม อุทธรณ์
ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ โจทก์ มรณะ ไม่มี ผู้ใด ยื่น คำขอเข้า มา เป็น คู่ความ แทนที่ ผู้มรณะ และ ไม่มี คู่ความ ฝ่ายใด ยื่น คำขอ ให้ศาล หมายเรียก ผู้ใด เข้า เป็น คู่ความ แทนที่ ผู้มรณะ ภายใน กำหนด หนึ่ง ปีนับแต่ วันที่ จำเลย มรณะ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ให้ จำหน่ายคดี
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ว่าคดี นี้ โจทก์ ฟ้อง โดยกล่าวอ้าง ว่า โจทก์ ได้รับ สิทธิอาศัย อยู่ ใน ตึกแถว เลขที่ 51/7หมู่ ที่ 2 ตำบล ท่าตลาด อำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม ซึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1404 บัญญัติ ว่า “สิทธิอาศัยนั้น จะ โอน กัน ไม่ได้ แม้ ใน ทาง มรดก ” สิทธิอาศัย จึง เป็น สิทธิ เฉพาะตัวเมื่อ โจทก์ ถึงแก่ความตาย สิทธิอาศัย ใน ตึกแถว ดังกล่าว ของ โจทก์ จึงเป็น อัน ระงับ ลง จำเลย จึง ไม่ต้อง ถูก ขับไล่ ตาม ฟ้องโจทก์ อีก ต่อไปศาลอุทธรณ์ ชอบ ที่ จะ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่ง ให้จำหน่ายคดี จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า แม้ สิทธิอาศัย เป็น สิทธิ เฉพาะตัวเมื่อ ผู้ได้รับ สิทธิอาศัย ถึงแก่ความตาย สิทธิอาศัย เป็น อัน ระงับ ลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1404 แต่ ตาม ฟ้องโจทก์โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ขับไล่ จำเลย ออกจาก ตึกแถว เลขที่ 51/7 และ ให้ จำเลยชดใช้ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ขาด ประโยชน์ ไม่ได้ ใช้ ตึกแถว ดังกล่าวเดือน ละ 2,500 บาท ศาลชั้นต้น พิพากษา ขับไล่ จำเลย และ ให้ จำเลยชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ เดือน ละ 1,500 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจำเลย และ บริวาร จะ ออก ไป จาก ตึกแถว ดังกล่าว ด้วย ใน ส่วน ที่ โจทก์มีสิทธิ ได้รับ ชดใช้ ค่าเสียหาย ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น นี้ มี ลักษณะเป็น ทรัพย์สิน ที่ อาจ เป็น มรดก ตกทอด ให้ แก่ ทายาท ของ โจทก์ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 มิใช่ สิทธิ เฉพาะตัวอัน ความ มรณะ ของ คู่ความ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ยัง ให้ คดี นั้น ไม่มี ประโยชน์ต่อไป ซึ่ง ศาล ต้อง สั่ง จำหน่ายคดี ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 132(3) ดังนั้น ทายาท หรือ ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือ บุคคลอื่น ใดที่ ปกครอง ทรัพย์มรดก ของ โจทก์ จึง มีสิทธิ ร้องขอ เข้า มา เป็น คู่ความ แทนที่ โจทก์ ผู้มรณะ หรือ คู่ความ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง มี คำขอ ฝ่ายเดียว โดย ทำ เป็นคำร้อง ให้ ศาล หมายเรียก ให้ บุคคล ดังกล่าว เข้า มา เป็น คู่ความ แทนที่ โจทก์ผู้มรณะ ใน คดี ส่วน ดังกล่าว ได้ ภายใน กำหนด เวลา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 วรรคแรก เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ระหว่าง คดี ค้าง พิจารณา อยู่ ใน ศาลอุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 7กันยายน 2534 โจทก์ ได้ ถึงแก่ความตาย หลังจาก นั้น จน ล่วงเลย กำหนด เวลา1 ปี ทายาท หรือ ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือ บุคคลอื่น ใด ที่ ปกครอง ทรัพย์มรดก ของ โจทก์ มิได้ เข้า มา เป็น คู่ความ แทนที่ โจทก์ ผู้มรณะ จำเลย และจำเลยร่วม ก็ มิได้ มี คำขอ ฝ่ายเดียว โดย ทำ เป็น คำร้อง ให้ ศาล เรียก บุคคลดังกล่าว เข้า มา เป็น คู่ความ แทนที่ โจทก์ ผู้มรณะ ศาลอุทธรณ์ มี คำสั่งจำหน่ายคดี นั้น ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42วรรคสอง ประกอบ มาตรา 132(3) แล้ว ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share