แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ณเวลาที่กำหนดการที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม2533แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญาไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใดๆที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญาทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่แต่ไม่เป็นที่ตกลงกันถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลง เลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้วการที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาหรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลังหามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิมอันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาแต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายโจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2532 โจทก์ ได้ ทำ สัญญาจะซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6766 จาก จำเลย คิด เป็น เงิน ทั้งสิ้น 834,000บาท โดย จำเลย ตกลง จะ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ภายในเดือน มกราคม 2533 ใน วัน ทำ สัญญา โจทก์ ได้ วางเงิน มัดจำ 200,000 บาทต่อมา วันที่ 29 ธันวาคม 2532 โจทก์ ได้ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ให้ แก่จำเลย อีก 200,000 บาท รวมเป็น เงิน ค่าที่ดิน ที่ จำเลย ได้รับ ไป จากโจทก์ 400,000 บาท เมื่อ ถึง กำหนด นัด โอน กรรมสิทธิ์ จำเลย ไม่ยอมไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ดังกล่าว และ ยัง ไม่ได้ ไถ่ถอน จำนองทั้ง ยัง ไม่ได้ รื้อถอน ขนย้าย บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง และ ผู้ที่อยู่อาศัย ออก ไป จาก ที่ดิน เพื่อ ทำการ โอน และ ส่งมอบ ให้ แก่ โจทก์จำเลย จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ มี หนังสือ บอกกล่าว ให้ จำเลยไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ พร้อม รับ เงิน ค่าที่ดิน ที่ เหลือใน วันที่ 19 เมษายน 2533 ครั้น ถึง กำหนด จำเลย ไม่ไป ตาม นัด โจทก์ได้ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญาจะซื้อขาย แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ต้อง คืนเงินที่ รับ ไป 400,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย และ ค่าปรับ ตาม สัญญา อีก200,000 บาท รวมเป็น เงิน 612,500 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน612,500 บาท พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ได้ ผิดสัญญา ก่อน ครบ กำหนด ตามสัญญาจะซื้อขาย จำเลย รอ การ ติดต่อ จาก โจทก์ อยู่ ตลอด เพราะ การ โอนจะ สำเร็จ ได้ ก็ ต่อเมื่อ โจทก์ พร้อม ที่ จะ ชำระ ราคา ให้ แก่ จำเลย สำหรับการ จดทะเบียน ไถ่ถอน จำนอง นั้น จำเลย สามารถ ที่ จะ ไถ่ถอน จำนองได้ ใน วันเดียว กับ วันที่ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ส่วน การ รื้อถอนขนย้าย เป็น เรื่อง อนาคต ไม่ได้ กล่าว ถึง ใน สัญญา โจทก์ ไม่เคย ติดต่อทวงถาม จำเลย ก่อน ที่ โจทก์ จะ มี หนังสือ บอกกล่าว ให้ จำเลย ไป โอน กรรมสิทธิ์ใน วันที่ 19 เมษายน 2533 นั้น จำเลย ได้ มี หนังสือ แจ้ง โจทก์ ว่าโจทก์ ผิดสัญญา สัญญา สิ้นสุด และ ริบ เงินมัดจำ ตาม สัญญา แล้ว
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง แต่ ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ที่ จะ ฟ้อง เรียกเงิน คืน เนื่องจาก สัญญา เลิกกัน ภายใน อายุความ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน 400,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันที่ 29ธันวาคม 2532 จนกว่า ชำระ เงิน เสร็จ ให้ แก่ โจทก์ คำขอ อื่นนอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า โจทก์ จำเลยคู่สัญญา ตกลง เลิกสัญญา จะซื้อขาย เอกสาร โดย ปริยาย หรือไม่ เห็นว่าตาม สัญญาจะซื้อขาย ไม่ได้ ระบุ แจ้งชัด ว่า หาก ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ผิดนัด แล้วสัญญาจะซื้อขาย เป็น อัน เลิกกัน ทันที ทั้ง วัตถุประสงค์ แห่ง สัญญาก็ เห็น ได้ว่า โดยสภาพ หรือ โดย เจตนา ที่ คู่สัญญา แสดง ไว้ มิใช่ ว่าจะ เป็น ผลสำเร็จ ได้ ก็ แต่ ด้วย การ ชำระหนี้ ณ เวลา ที่ กำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 ดังนั้น การ ที่ โจทก์และ จำเลย ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่พิพาท โดย กำหนด โอน ที่ดิน ภายในเดือน มกราคม 2533 แต่เมื่อ ครบ กำหนด ตาม สัญญา แล้ว ไม่ปรากฏ ว่าทั้ง โจทก์ และ จำเลย ได้ บอกกล่าว หรือ เตรียม การ ใด ๆ ที่ จะ ทำการโอน ที่ดิน ให้ เป็น ไป ตาม สัญญา โดย โจทก์ นำสืบ ว่า ยัง ไม่ประสงค์จะ รับโอน ที่ดิน เพราะ ยัง ติด จำนอง และ จำเลย ยัง มิได้ ขับไล่ ผู้ อยู่อาศัยใน ที่ดิน ส่วน จำเลย นำสืบ ว่า โจทก์ และ ญาติ โจทก์ ได้ ไป พบ จำเลย ในเดือน มีนาคม 2533 โดย ทาง โจทก์ และ ญาติ ไป ขอ คืนเงิน 400,000 บาทไม่ได้ ขอให้ จำเลย โอน ที่ดิน ตาม สัญญา ที่ โจทก์ ขอ เงิน คืน จำเลยไม่คืน ให้ แต่ ได้ เสนอราคา ที่ จะขาย ใหม่ เป็น ไร่ ละ 100,000 บาทและ ได้ ลดลง เหลือ ไร่ ละ 75,000 บาท แต่ ตกลง กัน ไม่ได้ จึง เห็น ได้ว่าหลังจาก ครบ กำหนด เวลา ตาม สัญญา แล้ว โจทก์ จำเลย มิได้ ยึดถือ ตาม สัญญา เดิมได้ เจรจา ตกลง ราคา ที่พิพาท กัน ใหม่ โดย จำเลย เพิ่ม ราคา ที่ดิน ขึ้นจาก เดิม แต่ ไม่เป็น ที่ ตกลง กัน ตาม พฤติการณ์ ดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ จำเลย ตกลง เลิกสัญญา จะซื้อขาย โดย ปริยาย แล้ว การ บอกเลิก สัญญาของ จำเลย หรือ โจทก์ มี หนังสือ ให้ ไป โอน ที่พิพาท ใน ภายหลัง หา มีผล ว่าเป็น การ ยึดถือ ตาม สัญญา เดิม อัน จะ ทำให้ สัญญา เดิม มีผล ผูกพันแต่อย่างใด ไม่ ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า คดี นี้ มี ประเด็น ว่า จำเลย ผิดสัญญา หรือไม่ เมื่อ รับฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย มิได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญาแล้ว ศาลอุทธรณ์ ต้อง พิพากษายก ฟ้อง ไม่ควร พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน400,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย คืน ให้ โจทก์ และ สัญญาจะซื้อขายระหว่าง โจทก์ จำเลย เลิกกัน เพราะ ความผิด ของ โจทก์ จำเลย จึง มีสิทธิริบ เงินมัดจำ และ เงิน ที่ ได้รับ จาก โจทก์ 400,000 บาท ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 378 เห็นว่า แม้ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ว่าจำเลย ผิดสัญญา หรือไม่ ก็ ตาม แต่ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า เหตุ ที่โจทก์ และ จำเลย ไม่ทำ การ โอน ที่พิพาท ภายใน เดือน มกราคม 2533ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ นั้น เพราะ โจทก์ ต้องการ ให้ จำเลย คืนเงิน มัดจำและ จำเลย ได้ ตกลง จะขาย ที่พิพาท กัน ใหม่ โดย เพิ่ม ราคา ขึ้น อีก ดังนั้นจึง หาใช่ จำเลย ผิดสัญญา ไม่ และ เมื่อ ถือว่า เป็น กรณี ที่ โจทก์ จำเลยตกลง เลิกสัญญา จะซื้อขาย โดย ปริยาย แล้ว โจทก์ จำเลย จึง ต้อง กลับคืนสู่ ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิม สำหรับ เงิน อัน จะ ต้อง ใช้ คืน ดังกล่าว ให้บวก ดอกเบี้ย เข้า ด้วย คิด ตั้งแต่ เวลา ที่ ได้รับ ไว้ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 391 จำเลย จึง ต้อง คืนเงิน ที่ ได้รับ ไว้พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ หา ได้ ขัด ต่อ สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับ ของ โจทก์ ไม่ และ เมื่อ การ เลิกสัญญา มิใช่ ด้วย ความผิด ของ โจทก์จำเลย จะ ริบ เงินมัดจำ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378หาได้ไม่
พิพากษายืน