คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19และมาตรา20บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะดำเนินการแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้แต่ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้โดยจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องการออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่จึงจะเป็นการออกหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมายประกอบกับตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรพ.ศ.2525ข้อ7.3ที่ว่าการออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบไต่สวนในปีภาษีใดจะต้องไม่เรียกตรวจสอบซ้ำกับปีที่เคยออกหมายเรียกไปแล้วเว้นแต่กรณีมีหลักฐานหรือข้อมูลซึ่งไม่ซ้ำกับที่เคยตรวจสอบไปก่อนแล้วหรือกรณีมีเหตุอันสมควรอื่นก็ให้ขออนุมัติออกหมายเรียกตรวจสอบใหม่ได้เฉพาะรายเมื่อไม่ปรากฏหลักฐานว่าการตรวจสอบครั้งแรกผิดพลาดบกพร่องหรือไม่ถูกต้องประการใดเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียภาษีมาตรวจสอบภาษีใหม่เป็นครั้งที่2

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ภาษี และ เงินเพิ่ม ตามหนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมินใน การ เรียกเก็บ ภาษีอากร ชอบแล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ตาม หนังสือ แจ้งภาษีเงินได้ นิติบุคคล เลขที่ 8033/2/00021 และ เลขที่ 8033/2/00022และ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ เลขที่ 42/2534 และ เลขที่ 43/2534
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหาวินิจฉัย มี ว่า การ ออกหมาย เรียก ครั้งที่ 2 ของ เจ้าพนักงาน ประเมินเป็น การ ชอบ ด้วย มาตรา 19 แห่ง ประมวลรัษฎากร และ ระเบียบ กรมสรรพากรว่าด้วย การ ตรวจสอบ ภาษีอากร ตาม ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 หรือไม่จำเลย อุทธรณ์ ว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน มีอำนาจ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ภาษีครั้งที่ 2 ได้ เพราะ ไม่มี กฎหมาย ห้าม เห็นว่า แม้ ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 20 จะ บัญญัติ ให้ อำนาจ เจ้าพนักงาน ประเมิน ที่ จะดำเนินการ แก้ไข การ ประเมิน ที่ ผิดพลาด ให้ ถูกต้อง ได้ แต่ ก็ จะ ต้องปฏิบัติ ตาม เงื่อนไข ที่ กฎหมาย ให้ ได้ โดย จะ ต้อง ปรากฏ ข้อเท็จจริงว่าการ ตรวจสอบ ครั้งแรก ผิดพลาด บกพร่อง หรือไม่ ถูกต้อง การ ออกหมาย เรียกตรวจสอบ ใหม่ จึง จะ เป็น การ ออกหมาย เรียก ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย นอกจาก นี้ยัง ถือ ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ กรมสรรพากร ว่าด้วย การ ตรวจสอบ ภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 ข้อ 7.3 ที่ ว่า การ ออกหมาย เรียกผู้เสียภาษี มาตร วจสอบ ไต่สวน ใน ปีภาษี ใด จะ ต้อง ไม่ เรียก ตรวจสอบ ซ้ำกับ ปี ที่ เคย ออกหมาย เรียก ไป แล้ว เว้นแต่ กรณี มี หลักฐาน หรือ ข้อมูล ซึ่งไม่ ซ้ำ กับ ที่ เคย ตรวจสอบ ไป ก่อน แล้ว หรือ กรณี มีเหตุอันสมควร อื่นก็ ให้ ขออนุมัติ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ใหม่ ได้ เฉพาะ ราย คดี นี้ไม่ปรากฏ หลักฐาน อย่างใด เลย ว่า การ ตรวจสอบ ครั้งแรก ผิดพลาด บกพร่องหรือไม่ ถูกต้อง ประการใด เจ้าพนักงาน ประเมิน จึง หา มีอำนาจ ออกหมายเรียก โจทก์ มาตร วจสอบ ภาษี ใหม่ เป็น ครั้งที่ 2 เพราะ ปรากฏว่า แม้ แต่เจ้าพนักงาน ของ กรมสรรพากร ก็ โต้แย้ง การ ออกหมาย เรียก โจทก์ มาตร วจสอบภาษี ซ้ำ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 4 แผ่น ที่ 119 และ 124
ส่วน ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า การ ตรวจสอบ ครั้งแรก กับ การ ตรวจสอบครั้งที่ 2 เป็น คน ละ ประเด็น กัน และ การ ตรวจสอบ ครั้งแรก ไม่ครบทุก ประเด็น นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ข้อ นี้ ขัดแย้ง กับ ข้อเท็จจริงใน สำนวน เพราะ ปรากฏ เหตุผล จาก คำวินิจฉัย อุทธรณ์ เลขที่ 42/2534และ 43/2534 ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ใน ข้อ 2 ว่า เป็น การออกหมาย เรียก ตรวจสอบ แก่ ผู้เสียภาษี ใน รอบ ระยะเวลา บัญชี เดียว กันและ ประเด็น เดียว กัน แต่ ผล การ ตรวจสอบ ไม่ เหมือนกัน ฯลฯ นอกจาก นี้ปรากฏว่า การ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ภาษี ของ โจทก์ ครั้งแรก เนื่องจากโจทก์ ยื่น คำร้องขอ คืนเงิน ภาษี ที่ ถูก หัก ณ ที่ จ่าย การ ออกหมาย เรียกเจ้าพนักงาน ประเมิน อ้าง อำนาจ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ย่อม เป็นการแสดง ให้ เห็นว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน มีเหตุ ควร เชื่อ ว่า โจทก์แสดง รายการ ตาม แบบ ที่ ยื่น เสีย ภาษี ไม่ถูกต้อง ตาม ความ เป็น จริงหรือไม่ บริบูรณ์ ซึ่ง ใน การ ตรวจสอบ ครั้งแรก โจทก์ ได้ นำ ส่ง เอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับ การ ซื้อ ยางพารา แล้ว ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 164และ เอกสาร หมาย ล. 2 แผ่น ที่ 20 ใน การ ที่ จะ ทราบ ว่า โจทก์ เสีย ภาษีไว้ ถูกต้อง หรือไม่ เจ้าพนักงาน ประเมิน จะ ต้อง ตรวจสอบ ว่า โจทก์มี กำไร สุทธิ เท่าใด โดย จะ ต้อง คำนวณ รายได้ จาก กิจการ หรือ เนื่องจากกิจการ ที่ กระทำ ใน รอบ ระยะเวลา บัญชี นั้น หัก ด้วย รายจ่าย ตาม ที่ ระบุ ไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ มาตรา 65 ตรี ซึ่ง ปรากฏ จากผล การ ตรวจสอบ ว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ดำเนินการ ดังกล่าว ตามรายงาน การ ตรวจสอบ ภาษี ปี 2523 เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 6 ถึง 9และ รายงาน การ ตรวจสอบ ภาษี ปี 2524 เอกสาร หมาย ล. 2 แผ่น ที่ 2 ถึง 6แสดง ว่าการ ตรวจสอบ ได้ พิจารณา ถึง รายได้ และ รายจ่าย ของ โจทก์ โดยเฉพาะรายจ่าย ใน การ ซื้อ ยางพารา มิฉะนั้น ก็ จะ ไม่สามารถ คิด คำนวณ หา ตัวเลขว่า โจทก์ จะ ต้อง เสีย ภาษี ใน รอบ ระยะเวลา บัญชี นั้น เป็น จำนวน เท่าใดทั้ง ไม่สามารถ พิจารณา เงิน ค่าภาษี ที่ โจทก์ ถูก หัก ณ ที่ จ่าย ไว้ นั้นเกินกว่า ภาษี ที่ ต้อง ชำระ สำหรับ รอบ ระยะเวลา บัญชี นั้น หรือไม่นาย สุพจน์ เพชรทวี อดีต ผู้ช่วย สรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราช พยานโจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ทำการ ตรวจสอบ ภาษีเงินได้ ของ โจทก์ ใน รอบ ระยะเวลาบัญชี ปี 2523 และ 2524 เบิกความ ว่า การ ตรวจสอบ โจทก์ มี วัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการ ตรวจสอบ ดู ว่า โจทก์ ได้ ชำระ ภาษี ไว้ ถูกต้อง หรือไม่โดย จะ ตรวจสอบ รายได้ และ รายจ่าย เพื่อ นำ มา คำนวณ กำไร ขาดทุน ใน ทุก ประเด็นโดยเฉพาะ ยอด ซื้อ ได้ ตรวจสอบ ใบ สำคัญ การ ซื้อ ไว้ ด้วย โดย ตรวจสอบ จากเอกสาร ที่ โจทก์ ส่ง มา นาย ธวัชชัย มีเนียม พยาน จำเลย ซึ่ง ขณะ เกิดเหตุ รับ ราชการ อยู่ ที่ สำนักงาน สรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราช ใน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ ภาษี ระดับ 5 ก็ เบิกความ เจือสม พยานโจทก์ ว่าตาม ระเบียบ กรมสรรพากร ว่าด้วย การ ตรวจสอบ ภาษีอากร ตาม ประมวลรัษฎากรพ.ศ. 2525 ใน กรณี ที่ มี ผู้ขอ คืน ภาษีอากร จะ ต้อง ตรวจสอบ ทุก ประเด็นก็ เพื่อ ที่ จะ ทราบ ว่า ผู้เสียภาษี ได้เสีย ภาษี ไว้ ถูกต้อง หรือไม่ซึ่ง ใน กรณี ที่ จะ ทราบ ว่าการ เสีย ภาษีอากร ถูกต้อง หรือไม่ จะ ต้อง ทราบ ว่ามี กำไร สุทธิ เท่าไร และ กำไร สุทธิ นั้น จะ ทราบ ว่า มี เท่าใด ก็ จะ ต้อง ตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่า กิจการ มี รายได้ และ ค่าใช้จ่าย ที่ เกี่ยวข้อง กับ รายได้เป็น จำนวน เท่าใด และ โจทก์ ได้ ส่ง บัญชี และ เอกสาร ประกอบการ ตรวจสอบโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เอกสาร การ ซื้อ ยางพารา ซึ่ง เป็น รายจ่าย ให้ ตรวจสอบแล้ว ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 164 และ ล. 2 แผ่น ที่ 20และ จำเลย ที่ 3 ก็ เบิกความ ด้วย ว่า การ ตรวจสอบ โจทก์ ครั้งแรก ได้ มีการ ตรวจสอบ ใน ทุก ประเด็น และ ทุก เรื่อง ที่ เกี่ยวข้อง จาก พยานหลักฐานดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า การ ตรวจสอบ ภาษี โจทก์ ครั้งแรก เจ้าพนักงานประเมิน ได้ ทำการ ตรวจสอบ ภาษี ทุก ประเด็น แล้ว รวมทั้ง การ ซื้อ ยางพาราของ โจทก์ ด้วย ดังนั้น เจ้าพนักงาน ประเมิน จึง ไม่มี อำนาจ ออกหมาย เรียกตรวจสอบ ภาษี ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับ รายจ่าย ใน การ ซื้อ ยางพารา ของ โจทก์ อีกเพราะ เป็น การ ตรวจสอบ ซ้ำ ใน ประเด็น เดียว กัน ส่วน ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่าเหตุ ที่ มี การ ตรวจสอบ ภาษี ของ โจทก์ ใน ครั้งที่ 2 เพราะ มี หนังสือร้องเรียน ของ กลุ่ม ผู้ซื้อ ยางพารา ว่า โจทก์ ทำ ใบเสร็จ ซื้อ ยางพาราอันเป็นเท็จ และ นาย สุพจน์ ผู้ช่วย สรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราช ผู้ตรวจสอบ ภาษี ของ โจทก์ ครั้งแรก ตรวจสอบ ภาษี ของ โจทก์ ไม่ครบ ทุก ประเด็นไม่มี การ ตรวจสอบ การ ซื้อ ยางพารา ต่อมา สรรพากรเขต 8 ได้ ตรวจสอบเรื่อง นี้ จึง ตั้ง กรรมการ สอบสวน ขึ้น ต่อมา นาย สุพจน์ ได้ ลาออก จาก ราชการ ไป น่าเชื่อ ว่า มี การ หลีกเลี่ยง ภาษี เกิดขึ้น การ ที่ โจทก์ไม่ส่ง มอบ เอกสาร ทั้งที่ ใน ครั้งแรก ได้ เคย ส่ง โดย อ้างว่า สูญหายเป็น พิรุธ น่าเชื่อ ว่า โจทก์ หลีกเลี่ยง ภาษีอากร โดย ร่วมมือ กับเจ้าพนักงาน จำเลย ใน การ ตรวจสอบ ภาษี โจทก์ ครั้งแรก นั้น เห็นว่าหนังสือ ร้องเรียน ของ กลุ่ม ผู้ซื้อ ยางพารา มี ลักษณะ เป็น บัตรสนเท่ห์เป็น พยานหลักฐาน ที่ ไม่มี เหตุผล ที่ จะ รับฟัง นอกจาก นี้ ปรากฏ จากคำเบิกความ ของ นาย นิคม ธาราภูมิ อดีต สรรพากรเขต 8 ว่า ตอน ที่ พยาน ไป ตรวจ ที่ สำนักงาน สรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราช ได้ นำ บัตรสนเท่ห์ที่ มี ผู้ร้องเรียน ว่า โจทก์ หลีกเลี่ยง ภาษี ไป ด้วย แต่เมื่อ ไป ถึง ปรากฏที่ สำนักงาน สรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราช ได้ มี การ ร้องเรียน โจทก์ไว้ เช่นกัน และ ได้ มี การ ออกหมาย เรียก มา ทำการ ตรวจสอบ และ ผล การ ตรวจสอบได้ เสร็จสิ้น ไป แล้ว นาย สุพจน์ ผู้ช่วย สรรพากร จังหวัด นครศรีธรรมราช ผู้ตรวจสอบ ภาษี โจทก์ ครั้งแรก ก็ เบิกความ ว่า จาก การ ตรวจสอบ เอกสารการ ซื้อ ขาย ของ โจทก์ ปี 2523 และ 2524 ที่ ส่ง มา ไม่พบ ความ บกพร่องไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ได้ ถาม ค้าน นาย สุพจน์ พยานโจทก์ ใน ประเด็น ที่ นาย สุพจน์ ถูก ตั้ง กรรมการ สอบสวน แต่อย่างใด ทั้ง ไม่ปรากฏ ว่า มี เอกสาร หลักฐาน อย่างใด ว่า นาย สุพจน์ ถูก ตั้ง กรรมการ สอบสวน จริง หรือไม่ และ มี ความผิด อย่างใด ใน การ ที่ ลาออก จาก ราชการ ไป ข้ออ้าง ที่ ว่านาย สุพจน์ ถูก ตั้ง กรรมการ สอบสวน ดังกล่าว จึง ไม่มี น้ำหนัก ให้ รับฟัง อีก ทั้ง ปรากฏว่า หลังจาก นาย สุพจน์ ได้ ทำการ ตรวจสอบ ภาษี ของ โจทก์ แล้ว ได้ เสนอ สรรพากร จังหวัด ใน ขณะ นั้น สรรพากร จังหวัด ก็ อนุมัติ ให้คืนเงิน ภาษี แก่ โจทก์ ตาม ผล การ ตรวจสอบ ที่นาย สุพจน์ กระทำ ด้วย เป็น ข้อ ยืนยัน ว่าการ ตรวจสอบ ของ นาย สุพจน์ ถูกต้อง ส่วน ที่ โจทก์ ส่งมอบ เอกสาร บัญชี ไม่ครบ ถ้วน นั้น ก็ ปรากฏ เหตุผล ตาม คำเบิกความ ของนาย อร่าม หุ้นส่วน ผู้จัดการ ห้าง โจทก์ ว่า ใน การ ตรวจสอบ ภาษีเงินได้ ของ โจทก์ ใน ครั้งแรก โจทก์ ยื่น เอกสาร และ บัญชี ให้ แก่ เจ้าพนักงานประเมิน ครบถ้วน และ เมื่อ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตรวจสอบ ภาษี เสร็จนาย พรเทพ ตันวราวุฒิกุล ซึ่ง เป็น ผู้ดำเนินการ แทน โจทก์ ได้ เป็น ผู้รับ เอกสาร คืน ต่อมา เมื่อ เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ขอ ตรวจสอบ ภาษีของ โจทก์ เป็น ครั้งที่ 2 โจทก์ ได้ ส่ง เอกสาร ทาง บัญชี เท่าที่ มี อยู่ให้ แก่ เจ้าพนักงาน ประเมิน โดย โจทก์ มิได้ ตรวจสอบ ว่า เอกสาร ทาง บัญชีจะ อยู่ ครบ หรือไม่ เพราะ เมื่อ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตรวจสอบ ภาษีใน ครั้งแรก เสร็จ แล้ว โจทก์ เข้าใจ ว่าการ เสีย ภาษี ของ โจทก์ ไม่มี ปัญหาจึง ไม่ได้ สนใจ เกี่ยวกับ เอกสาร และ บัญชี อีก ซึ่ง เป็น ข้ออ้าง ที่ มีเหตุ ผลและ ไม่มี ข้อ พิรุธ ใน อัน ที่ จะ ฟัง ว่า โจทก์ มี การ หลีกเลี่ยง ภาษีอากรโดย จัดทำ เอกสาร หลักฐาน อันเป็นเท็จ โดย ร่วมมือ กับ เจ้าพนักงาน ของจำเลย ใน การ ตรวจสอบ ภาษี ของ โจทก์ ใน ครั้งแรก กรณี จึง ไม่มี เหตุผล สมควรที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน จะ ทำการ ออกหมาย เรียก ตรวจสอบ ภาษี ของ โจทก์ใน ครั้งที่ 2 คำพิพากษาฎีกาที่ จำเลย ยกขึ้น อ้าง ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับคดี นี้ และ เมื่อ ฟัง ว่าการ ออกหมาย เรียก ครั้งที่ 2 ของ เจ้าพนักงานประเมิน ไม่ชอบ แล้ว ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ใน ประเด็น ตาม ข้อ อุทธรณ์ของ จำเลย ที่ ว่า คณะกรรมการ อุทธรณ์ มีอำนาจ ลด ภาษี ให้ โจทก์ หรือไม่เพราะ การ วินิจฉัย ใน ประเด็น ดังกล่าว ไม่เป็น ประโยชน์ แก่ คดี อีก ต่อไปที่ ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ตาม หนังสือ แจ้งภาษีเงินได้ นิติบุคคล เลขที่ 8033/2/00021 และ เลขที่ 8033/2/00022และ เพิกถอน คำวินิจฉัย อุทธรณ์ เลขที่ 42/2534 และ เลขที่ 43/2534 นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share