แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยร่วมกันทำเทียมและเลียนแบบผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่261ของโจทก์โดยผลิตและใช้กรรมวิธีการผลิตตามสิทธิบัตรหรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ขายและมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาตามข้อถือสิทธิของสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่261ของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ขอให้ห้ามมิให้จำเลยกระทำการละเมิดดังกล่าวอันเป็นมูลกรณีเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา85,86และ88โดยโจทก์อ้างในฟ้องคดีอาญานั้นว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์หรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและได้ร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ม่านเหล็กบังตาที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีหรือใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเลขที่261ของโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ลอกหรือเลียนแบบการประดิษฐ์ของโจทก์โดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับที่โจทก์อ้างในคดีนี้คดีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยงเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวซึ่งคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวนั้นนอกจากผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นแล้วในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้ศาลยังต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46อีกด้วย เมื่อปรากฏตามคำแถลงของจำเลยที่3และที่4สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาและสำเนาใบสำคัญคดีถึงที่สุดว่าคดีอาญาดังกล่าวได้ถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวคดีนี้สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และใบสำคัญคดีถึงที่สุดนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)และจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อได้มีการออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาแบบยืดและพับได้ไว้ในต่างประเทศก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์และก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเช่นนั้นการประดิษฐ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วการประดิษฐ์ที่โจทก์ขอรับสิทธิบัตรดังกล่าวจึงเป็นการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่โจทก์จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา5สิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงเป็นสิทธิบัตรที่ได้ออกโดยไม่ชอบด้วยมาตรา5ดังกล่าวซึ่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งให้ถือว่าเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์การประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522แต่ประการใดแม้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ผลิต และ จำหน่าย ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับประตู เหล็ก แบบ ยืด และ พับ ได้ มา เป็น เวลา ประมาณ 15 ปี ต่อมา โจทก์ได้ คิด ค้น วิธีการ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็ก บังตา แบบ ใหม่ ขึ้น และ ได้ นำสิ่ง ประดิษฐ์ ที่ คิด ค้น ได้ ดังกล่าว ไป จดทะเบียน สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ต่อ กรมทะเบียนการค้า เมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2524 เมื่อกรมทะเบียนการค้า ได้ ทำการ ตรวจสอบ สิ่ง ประดิษฐ์ ดังกล่าว ของ โจทก์ แล้วปรากฏว่า สิ่ง ประดิษฐ์ ของ โจทก์ เป็น สิ่ง ประดิษฐ์ ขึ้น ใหม่ และ มีลักษณะ คุณสมบัติ ครบถ้วน ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522จึง ออก สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ให้ แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่26 เมษายน 2528 มี ข้อ ถือ สิทธิ คือ ขอบ ใบ ม่าน เหล็ก บังตา ตาม ความยาวด้าน ข้าง ทั้ง สอง ด้าน ม้วน ขึ้น เป็น รูป ก้นหอย ซึ่ง มี ทิศทาง การ ม้วนที่ ต่างกัน และ ขอบ ด้าน หนึ่ง จะ หัก เป็น มุม แผ่น ใบ ม่าน นี้ จะ สอด สวมเข้า ด้วยกัน ใน ลักษณะ สามารถ ยืด ออก และ พับ ได้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันจงใจ ทำเทียม และ เลียนแบบ ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ตาม สิทธิบัตรเลขที่ 261 ของ โจทก์ โดย ผลิต และ ใช้ กรรมวิธี การ ผลิต ตาม สิทธิบัตรของ โจทก์ ขาย และ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ดังกล่าวโดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมาย และ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก โจทก์ การกระทำของ จำเลย ทั้ง สี่ จึง เป็น การ ละเมิด สิทธิบัตร ของ โจทก์ และ เป็น การฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ขอให้ห้าม มิให้ จำเลยทำเทียม หรือ เลียนแบบ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตร หรือ ใช้ แบบผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร รวมทั้ง ห้าม มิให้ จำเลย ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขายซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ตาม ข้อ ถือ สิทธิ แห่ง สิทธิบัตร เลขที่ 261ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง สี่ ให้การ ว่า ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์เลขที่ 261 ของ โจทก์ ไม่ใช่ เป็น การ ประดิษฐ์ ขึ้น ใหม่ แต่ เป็น การประดิษฐ์ ที่ มี และ ใช้ แพร่หลาย อยู่ ใน ราชอาณาจักร เป็น เวลา นาน แล้วโจทก์ ไม่มี สิทธิ ขอรับ สิทธิบัตร สิทธิบัตร ของ โจทก์ ขัด ต่อพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5(1) ไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่ใช่ ผู้ทรง สิทธิบัตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ดำเนิน กิจการ โดย ไม่ได้ เกี่ยวข้อง กับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ผลิต ม่าน เหล็ก บังตา ตาม คำขอ รับ สิทธิบัตร การ ออก แบบ ผลิตภัณฑ์เลขที่ 001069 ของ จำเลย ที่ 2 ที่ ได้ ยื่น ไว้ ต่อ กรมทะเบียนการค้าโดย เมื่อ จำเลย ที่ 2 ได้ ยื่น คำขอ เช่นนั้น โจทก์ ได้ ยื่น คำคัดค้านแต่ ใน ที่สุด อธิบดี กรมทะเบียนการค้า ได้ วินิจฉัย ให้ยก คำคัดค้านของ โจทก์ ม่าน เหล็ก บังตา ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ผลิต ขึ้น แตกต่างจาก ม่าน เหล็ก บังตา ตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ว่า จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกันกระทำ ละเมิด ต่อ สิทธิบัตร ของ โจทก์ หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ฟ้อง อ้างว่า จำเลย ทั้ง สี่ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ โดย ร่วมกัน ทำเทียมและ เลียนแบบ ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ชนิด ติดกับ ประตู เหล็ก แบบ ยืดและ พับ ได้ ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์ โดย ผลิตและ ใช้ กรรมวิธี การ ผลิต ตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์ ขาย และ มีไว้ เพื่อ ขายซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตา ดังกล่าว ตาม ข้อ ถือ สิทธิ ของ สิทธิบัตรการ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์ โดย ไม่มี สิทธิ ตาม กฎหมาย และ ไม่ได้ รับอนุญาต จาก โจทก์ ขอให้ห้าม มิให้ จำเลย ทำเทียม หรือ เลียนแบบ ผลิต หรือใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตร หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร รวมทั้งห้าม มิให้ จำเลย ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ม่าน เหล็ก บังตาตาม ข้อ ถือ สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์ อันเป็น มูลกรณีเดียว กับ ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สี่ ตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 85, 86 และ 88 ตาม คดี หมายเลขดำที่ 8152/2528 ของ ศาลอาญา โดย โจทก์ อ้าง ใน ฟ้องคดี อาญา นั้น ว่าจำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน ผลิต ผลิตภัณฑ์ หรือ ใช้ กรรมวิธี ตาม สิทธิบัตรของ โจทก์ หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตาม สิทธิบัตร ของ โจทก์ โดย ไม่มี สิทธิตาม กฎหมาย และ ได้ ร่วมกัน ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ม่าน เหล็ก บังตา ที่ ผลิต หรือ ใช้ กรรมวิธี หรือ ใช้ แบบ ผลิตภัณฑ์ ตามสิทธิบัตร เลขที่ 261 ของ โจทก์ โดย จำเลย ทั้ง สี่ ลอก หรือ เลียนแบบการ ประดิษฐ์ ของ โจทก์ โดย ไม่สุจริต เช่นเดียว กับ ที่ โจทก์ อ้าง ใน คดี นี้คดี นี้ จึง เป็น คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ดังกล่าว ซึ่ง คำพิพากษาใน คดีอาญา ดังกล่าว นั้น นอกจาก ผูกพัน โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สี่ ซึ่ง เป็นคู่ความ ใน คดี นั้น แล้ว ใน การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่ง คดี นี้ ศาล ยัง ต้องถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 อีก ด้วย ดังนั้นเมื่อ ปรากฏ ตาม คำแถลง ของ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ลงวันที่ 6 กันยายน 2536สำเนา คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ สำเนา ใบ สำคัญ คดีถึงที่สุด ว่า คดีอาญาดังกล่าว ได้ ถึงที่สุด โดย ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นที่ พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์ ใน การ พิพากษาคดี ส่วน แพ่ง นี้ ศาลฎีกาเห็นว่า สำเนา คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ใบ สำคัญ คดีถึงที่สุด ดังกล่าวเป็น พยานหลักฐาน อัน สำคัญ ซึ่ง เกี่ยวกับ ประเด็น แห่ง คดี เพื่อ ประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม ศาลฎีกา มีอำนาจ รับฟัง พยานหลักฐาน ดังกล่าวเข้า สู่ สำนวน ความใน ชั้นฎีกา ได้ และ จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา ของ ศาลอุทธรณ์ ดังกล่าว ว่า ได้ มี การออก สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ม่าน เหล็ก บังตา แบบ ยืด และ พับ ได้ ไว้ ในต่างประเทศ ก่อน โจทก์ ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตร ตาม สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์เลขที่ 261 ของ โจทก์ และ ก่อน โจทก์ ยื่น คำขอ รับ สิทธิบัตร เช่นนั้นการ ประดิษฐ์ ดังกล่าว ได้ มี การ เปิดเผย สาระสำคัญ ใน เอกสาร ที่ ได้เผยแพร่ อยู่ แล้ว การ ประดิษฐ์ ที่ โจทก์ ขอรับ สิทธิบัตร ดังกล่าว จึงเป็น การ ประดิษฐ์ ที่ ได้ มี การ เปิดเผย สาระสำคัญ ใน เอกสาร ที่ ได้ เผยแพร่อยู่ แล้ว ก่อน วัน ขอรับ สิทธิบัตร มิใช่ การ ประดิษฐ์ ขึ้น ใหม่ ที่ โจทก์จะ ขอรับ สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ ได้ ตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตรพ.ศ. 2522 มาตรา 5 สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์จึง เป็น สิทธิบัตร ที่ ได้ ออก ไป โดย ไม่ชอบ ด้วย มาตรา 5 ดังกล่าวซึ่ง พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งให้ ถือว่า เป็น สิทธิบัตร ที่ ไม่สมบูรณ์ การ ประดิษฐ์ ตาม ข้อ ถือ สิทธิใน สิทธิบัตร การ ประดิษฐ์ เลขที่ 261 ของ โจทก์ จึง ไม่ได้ รับ ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แต่ ประการใด แม้ จำเลย ทั้ง สี่ร่วมกัน ผลิต และ ขาย หรือ มีไว้ เพื่อ ขาย ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว ก็ ไม่เป็นการ ละเมิด ต่อ โจทก์
พิพากษายืน