คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขต ยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาตแต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีกเมื่อ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใดกรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน และ อาคารทาวน์เฮ้าส์ ซึ่ง ปลูก บน ที่ดิน บางส่วน ของ โฉนด เลขที่ 1252 เนื้อที่ประมาณ 31.50 ตารางวา จาก จำเลย ใน ราคา 1,120,000 บาท ต่อมาจำเลย ได้ มี หนังสือ ถึง โจทก์ แจ้ง ว่า สำนักงาน เขต ยานนาวา ไม่ออก ใบอนุญาต ให้ ก่อสร้าง อาคาร ที่ โจทก์ ซื้อ ขอให้ โจทก์ รับ เงิน ที่ ชำระ แล้วคืน โจทก์ เห็นว่า จำเลย มี เจตนา ไม่สุจริต จึง มี หนังสือ ถึง จำเลยให้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา แต่ จำเลย กลับ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญา ทั้งที่ ไม่มีสิทธิ ต่อมา ประมาณ ต้น ปี 2533 สำนักงาน เขต ยานนาวา ได้ ออก ใบอนุญาต ให้ ก่อสร้าง อาคาร ที่ โจทก์ ทำ สัญญา ซื้อ ไว้ กับ จำเลย ได้โจทก์ ติดต่อ ให้ จำเลย โอน กรรม สิทธิ ใน ที่ดิน และ อาคาร ให้ โจทก์ หลาย ครั้งแต่ จำเลย เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลยจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน เลขที่ 48691 พร้อม อาคาร ให้ โจทก์ตาม สัญญา หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ใน อัตราเดือน ละ 20,000 บาท นับแต่ เดือน พฤษภาคม 2533 เป็นต้น ไปจนกว่า จำเลย จะ โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และ อาคาร ดังกล่าว ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่สามารถ โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินและ อาคาร ให้ โจทก์ ได้ เนื่องจาก สำนักงาน เขต ยานนาวา มี คำสั่ง ไม่อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง อาคาร จำเลย จึง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ และ ให้ ไปรับ เงิน คืน พร้อม ดอกเบี้ย แต่ โจทก์ ให้ จำเลย ปฏิบัติ ตาม สัญญาจำเลย มี หนังสือ ชี้แจง ข้อเท็จจริง ให้ โจทก์ ทราบ และ พร้อม ที่ จะ คืนเงินและ ดอกเบี้ย หาก จะ รับโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน จำเลย ก็ ยินยอม โอน ให้แต่ โจทก์ เพิกเฉย จำเลย จึง มี หนังสือ แจ้ง ไป ยัง โจทก์ ให้ มา รับ เงิน คืนพร้อม ทั้ง บอกเลิก สัญญา จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด โจทก์ เสียหาย ไม่เกินเดือน ละ 1,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 48691 พร้อม อาคาร ให้ โจทก์ โดย ให้ โจทก์ ชำระ ราคาค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จำนวน 764,000 บาท ให้ แก่ จำเลย ก่อน ทำการโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และ อาคาร ดังกล่าว ให้ โจทก์ หาก จำเลยไม่ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน และ อาคาร ดังกล่าว ให้ โจทก์ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา และ ให้ จำเลย ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 10,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่า โจทก์ ได้ ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน และ อาคาร พิพาท จาก จำเลย ตาม เอกสาร หมายล. 1 หลังจาก ทำ สัญญา เจ้าพนักงาน สำนักงาน เขต ยานนาวา มี คำสั่ง ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ก่อสร้าง อาคาร ตาม สัญญา ดังกล่าว จำเลย ได้ ยื่นคำคัดค้าน และ อุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ แต่ ไม่ได้ รับ อนุญาตจึง ยื่น อุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการ วินิจฉัย อุทธรณ์ แล้ว แจ้ง ให้ โจทก์ รับ เงินที่ ผ่อนชำระ ไว้ คืน พร้อม ดอกเบี้ย และ บอกเลิก สัญญา ต่อมา คณะกรรมการวินิจฉัย อุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย กลับ คำสั่ง และ ให้ ทาง เขต พิจารณาออก ใบอนุญาต ให้ จำเลย ตาม เอกสาร หมาย ล. 17 มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยว่า เจ้าพนักงาน สำนักงาน เขต ยานนาวา ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ก่อสร้าง อาคาร เป็นเหตุ สุดวิสัย ที่ จำเลย ไม่อาจ ปฏิบัติ ตาม สัญญาหรือไม่ เห็นว่า เหตุสุดวิสัย นั้น จะ ต้อง เป็นเหตุ ที่ ไม่มี ใคร อาจจะฟ้อง กัน ได้ การ ที่ จำเลย ไม่ได้ รับ อนุญาต ให้ ทำการ ก่อสร้าง อาคารใน ที่ดิน ตาม สัญญา จำเลย ก็ ได้ ยื่น คำคัดค้าน และ อุทธรณ์ ต่อมา แม้คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ไม่อนุญาต แต่ จำเลย ก็ ได้ อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการ วินิจฉัย อุทธรณ์ อีก เมื่อ คณะกรรมการ วินิจฉัย อุทธรณ์ยัง มิได้ วินิจฉัย และ มี คำสั่ง อย่างใด จำเลย ก็ บอกเลิก สัญญา แก่ โจทก์เช่นนี้ กรณี จึง ยัง ไม่เป็นเหตุ สุดวิสัย ต่อมา ก็ ปรากฎ ว่า คณะกรรมการวินิจฉัย อุทธรณ์ วินิจฉัย ให้ กลับ คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน สำนักงานเขต ยานนาวา และ ให้ พิจารณา ออก ใบอนุญาต แก่ จำเลย ย่อม เป็น การ แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย สามารถ ดำเนินการ เพื่อ ทำการ ก่อสร้าง ให้ เป็น ไปตาม สัญญา ได้ จำเลย จึง ต้อง ปฏิบัติ ตาม สัญญา ต่อ โจทก์
พิพากษายืน

Share