คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1เป็นบุคคลล้มละลายแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่1เมื่อวันที่11กันยายน2532เพราะหนี้สินของจำเลยที่1ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงโจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่1ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติบังคับไว้แล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ที่ 1 ตาม คำพิพากษาของ ศาลชั้นต้น จำนวน 1,369,791.66 บาท เมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2532โจทก์ ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 53121 และ 30205 จึง ไป ตรวจสอบ เพื่อ จะ บังคับคดี แต่ พบ ว่าเมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2527 ซึ่ง เป็น เวลา ภายหลัง จาก ที่ จำเลย ที่ 1ทราบ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี แล้ว จำเลย ที่ 1 โอน ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 2 ให้ จำเลย ที่ 3 ลงชื่อ เป็น ผู้รับโอน แทนซึ่ง จำเลย ที่ 3 ทราบ ว่าการ โอน ขาย ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว ก็ เพื่อให้ พ้น การ บังคับคดี ของ โจทก์ ใน วันนั้น เอง จำเลย ที่ 3 จดทะเบียน จำนองที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ที่ รับโอน มา ไว้ กับ จำเลย ที่ 4 ต่อมา วันที่ 5 ตุลาคม2530 จำเลย ที่ 3 โดย ความ ยินยอม ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 โอน ที่ดินทั้ง สอง แปลง นั้น ชำระหนี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ทั้งนี้ เพื่อ ให้ พ้น การติดตาม บังคับคดี ของ โจทก์ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ทำนิติกรรม ต่าง ๆดังกล่าว มา โดย ไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ โจทก์ เสียเปรียบขอให้ เพิกถอน
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 ซื้อ ที่ดินทั้ง สอง แปลง ตาม ฟ้อง จาก จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2527โดยสุจริต เสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 3ได้ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง เป็น ประกันหนี้ เงินกู้ ยืมต่อ จำเลย ที่ 4 จน ถึง วันที่ 5 ตุลาคม 2530 จำเลย ที่ 3 จึง โอน ที่ดินทั้ง สอง แปลง นั้น ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 เพื่อ เป็น การ ชำระหนี้ การ โอน ที่ดินแต่ละ ครั้ง ถูกต้อง ตาม กฎหมาย มิใช่ เป็น การ โอน เพื่อ ให้ พ้น จาก การบังคับคดี ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เพราะ โจทก์ ทราบ ถึง การ โอน ขาย ที่ดินทั้ง สอง แปลง ตั้งแต่ ปี 2527 นับ ถึง วันฟ้อง เป็น เวลา กว่า 4 ปี แล้วขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก ฟ้อง ล้มละลาย ตามคดีล้มละลาย หมายเลขแดง ที่ ล. 163/2529 ระหว่าง นาง กาญจนา โจทก์ นาย ทรง จำเลย ศาลชั้นต้น สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด วันที่ 19พฤษภาคม 2529 เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ โฆษณา คำสั่งศาล ชั้นต้นวันที่ 24 มิถุนายน 2529 ครบ กำหนด เวลา เจ้าหนี้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้วันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าว ต่อมา วันที่11 กันยายน 2532 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก เลิก การ ล้มละลาย ของจำเลย ที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135(3)ทำให้ จำเลย ที่ 1 หลุดพ้น จาก หนี้สิน ทั้งปวง โจทก์ ไม่มี สิทธิ บังคับคดีเอา แก่ จำเลย ที่ 1 ได้ อีก ต่อไป และ ไม่มี สิทธิ ฟ้อง เป็น คดี นี้จำเลย ที่ 3 นำ ที่ดิน 2 โฉนด ตาม ฟ้อง จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกันหนี้เงินกู้ แต่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่สามารถ ชำระหนี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 4ได้ จึง โอน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 เป็น การชำระหนี้ บางส่วน จำเลย ที่ 4 รับโอน มา โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนจำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ไม่ทราบ มา ก่อน ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก โจทก์ฟ้อง ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 4 ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย เบื้องต้น ว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่ ขอให้ เพิกถอน นิติกรรมการ โอน ขาย การ จำนอง และ การ โอน ชำระหนี้ จำนอง ที่ดินพิพาท ตาม ฟ้องโดย มี วัตถุประสงค์ ติดตาม ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 1 เพื่อ บังคับคดีตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ใน คดีแพ่ง ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1แต่ ปรากฏว่า ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 1 เด็ดขาดเมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ตาม คดีล้มละลาย ดังนั้น แม้ โจทก์จะ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ที่ 1 ตาม คำพิพากษา ก็ ตาม แต่ โจทก์ ไม่ยื่น คำขอรับชำระหนี้ ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ภายใน กำหนด เวลา สอง เดือนนับแต่ วัน โฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด โจทก์ ย่อม หมด สิทธิเรียกร้อง เอา แก่ จำเลย ที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27 และ มาตรา 91 ซึ่ง ต่อมา ปรากฏว่า ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกเลิกการ ล้มละลาย ของ จำเลย ที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 135(3) จำเลย ที่ 1 ย่อม หลุดพ้น จาก หนี้สิน ทั้งปวง โจทก์ จึงไม่มี สิทธิ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ใน คดีแพ่ง เอา แก่จำเลย ที่ 1 ได้ อีก ต่อไป ขอให้ ศาล วินิจฉัยชี้ขาด ข้อกฎหมาย เบื้องต้นว่า โจทก์ จะ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่ เป็น คดี นี้ หรือไม่ เพราะ จะ ทำให้ไม่ต้อง พิจารณา คดี อีก ต่อไป
ศาลชั้นต้น ได้ วินิจฉัยชี้ขาด ข้อกฎหมาย เบื้องต้น ว่า โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้อง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า หนี้ ของ ลูกหนี้ที่ เจ้าหนี้ ไม่ได้ ขอรับ ชำระหนี้ ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนด เวลา สอง เดือน นับแต่ วัน โฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 ยัง เป็น หนี้ ที่ไม่ระงับ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็นลูกหนี้ ใน คดีล้มละลาย ที่ ศาล ได้ มี คำสั่ง ยกเลิก การ ล้มละลาย ไป แล้วแต่ ไม่ทราบ ถึง การ ที่ จำเลย ที่ 1 ถูก ฟ้องคดี ล้มละลาย จึง มีอำนาจ ฟ้องบังคับ เอา แก่ จำเลย ที่ 1 ภายใน อายุความ สิบ ปี ตาม บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 เป็น กฎหมาย พิเศษ อัน เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนมี เจตนารมณ์ ที่ บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ชำระ สะสาง บรรดา หนี้สิน ของ บุคคลผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว และ เพื่อ ประโยชน์ แก่ บรรดา เจ้าหนี้ ของ ลูกหนี้ผู้ล้มละลาย ทั้งหลาย ให้ มีสิทธิ รับชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ผู้ล้มละลาย โดย ทั่วถึง กัน นอกจาก นี้ ยัง เปิด โอกาส ให้ ลูกหนี้ผู้ล้มละลาย ผู้สุจริต ได้ หลุดพ้น จาก หนี้สิน ทั้งปวง มี โอกาส ฟื้นตัวประกอบ อาชีพ ทำ มา หากิน โดยสุจริต ต่อไป ได้ พระราชบัญญัติ ดังกล่าวจึง บัญญัติ วิธีการ และ ข้อกำหนด ใน การ ปฏิบัติ เพื่อ ให้ ได้รับความคุ้มครอง ทั้ง ฝ่าย เจ้าหนี้ และ ฝ่าย ลูกหนี้ โดย เสมอภาค กัน ดังนั้นโดย นัย แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ มาตรา 91เจ้าหนี้ ทุก ประเภท ไม่ว่า จะ เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือไม่ ก็ ตามจะ ต้อง ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ภายใน กำหนดเวลา สอง เดือน นับแต่ วัน โฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดเมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ใน คดี ที่นาง กาญจนา เป็น โจทก์ ฟ้องคดี ล้มละลาย ให้ จำเลย ที่ 1 เป็น บุคคล ล้มละลาย แต่ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ละเลย ไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติ ของ มาตรา 27 และ มาตรา 91 แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 กล่าว คือ โจทก์ ไม่ได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ของ โจทก์ที่ มี แก่ จำเลย ที่ 1 ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เสีย ภายใน กำหนด เวลาสอง เดือน นับแต่ วัน โฆษณา คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด จน กระทั่งศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง ยกเลิก การ ล้มละลาย ของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่11 กันยายน 2532 เพราะ หนี้สิน ของ จำเลย ที่ 1 ได้ ชำระ เต็ม จำนวนแล้ว ตาม มาตรา 135(3) แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483ซึ่ง เป็น ผล ให้ จำเลย ที่ 1 หลุดพ้น จาก บรรดา หนี้สิน ทั้งปวง แม้ โจทก์จะ อ้างว่า โจทก์ ไม่ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก ฟ้องคดี ล้มละลาย มา ก่อน ก็ ตามแต่เมื่อ การ ฟ้องคดี ล้มละลาย กระทำ โดย เปิดเผย และ มี การ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ตาม ที่ พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483บัญญัติ บังคับ ไว้ แล้ว โจทก์ จะ กล่าวอ้าง ว่า โจทก์ ไม่ทราบ ว่า จำเลย ที่ 1ถูก ฟ้องคดี ล้มละลาย ไม่ได้ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่เป็น คดี นี้
พิพากษายืน

Share