คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา196วรรคสองการเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินณสถานที่และในเวลาที่ใช้เงินอัตราแลกเปลี่ยนเงินหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนกันโดยเสรีซึ่งคิดโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินตราของต่างประเทศเป็นเงินตราของประเทศในกรุงเทพฯเป็นเกณฑ์และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดในวันที่มีคำพิพากษาของศาลถ้าไม่มีอัตราการขายในวันดังกล่าวก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายนั้นก่อนวันพิพากษาแต่ทั้งนี้โจทก์ก็ไม่อาจรับชำระเงินจากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินตามคำขอท้ายฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย สาขา ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ เปิด เครดิต ที่ มี เอกสาร ประกอบ ชนิด เพิกถอน ไม่ได้ เลขที่ แอลซี-5124 ให้ แก่ บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด และ จำเลย สำนักงาน ใหญ่ ได้ แจ้ง การ เปิด เครดิต ให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้รับประโยชน์ ทราบ เพื่อ ให้ โจทก์จัด ส่ง สินค้า เครื่องเรือน หวาย ไป ให้ บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด ที่ ประเทศ อังกฤษ ตาม ที่ จำเลย เปิด เครดิต ไว้ โจทก์ ได้ ส่ง สินค้า เครื่องเรือน หวาย ไป จำหน่าย แก่ บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด ตาม หลักฐาน เกี่ยวกับ การ ส่ง ดังนี้ คือ สินค้า ตาม ใบ กำกับ สินค้าและ ใบ รายการ บรรจุ หีบ ห่อ เลขที่ ไออาร์ 87/03 เลขที่ ไออาร์ 87/04 และ เลขที่ ไออาร์ 87/09 การ ส่ง สินค้า โจทก์ ได้ มอบ ให้ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา ปทุมวัน จัด ส่ง พร้อม ตั๋วแลกเงิน ไป ยัง จำเลย สาขา ลอนดอน แต่ ปรากฏว่า จำเลย สาขา ลอนดอน ปฏิบัติ หน้าที่ โดย จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ ปล่อย เอกสาร ให้ แก่ บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด ไป รับ สินค้า ที่ ท่าเรือ ประเทศ อังกฤษ โดย มิได้ จัดการ ให้ บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด ชำระ เงิน ค่าสินค้า จำนวน 50 เปอ ร์เซ นต์ตาม เงื่อนไข ดี/พี ที่ ระบุ ไว้ ใน ใบ กำกับ สินค้า และ ตั๋วแลกเงิน แต่ละ ฉบับ ก่อน โจทก์ จึง ไม่ได้ รับ เงิน ส่วน นี้ การกระทำ ของ จำเลยเป็น การ ผิดนัด ผิดสัญญา และ เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลยรับผิด ชำระ เงิน ค่าสินค้า จำนวน 50 เปอ ร์เซ นต์ของ ราคา สินค้า ใน ใบ กำกับสินค้า ฉบับ แรก เป็น เงิน 6,664.25 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา คิด เป็นเงิน ไทย ตาม อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วัน ถึง กำหนด ชำระ 1 เหรียญ สหรัฐ อเมริกาเท่ากับ 25.49 บาท เป็น เงิน 169,871.73 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 10 พฤษภาคม 2530 ฉบับที่ สอง เป็น เงิน6,302.83 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา คิด เป็น เงิน ไทย ตาม อัตรา แลกเปลี่ยนณ วัน ถึง กำหนด ชำระ 1 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา เท่ากับ 25.64 บาท เป็น เงิน161,604.56 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2530 และ ฉบับที่ สาม เป็น เงิน 12,204.12 เหรียญสหรัฐ อเมริกา คิด เป็น เงิน ไทย ตาม อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วัน ถึง กำหนดชำระ 1 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา เท่ากับ 25.92 บาท เป็น เงิน 316,330.79บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 5 สิงหาคม2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มิได้ ประมาท เลินเล่อ หรือ ผิดสัญญา หรือต้อง รับผิด ใด ๆ ต่อ โจทก์ โจทก์ ใช้ อัตรา แลกเปลี่ยน เงินตรา ไม่ถูกต้องทำให้ การ คำนวณ ยอดหนี้ ตาม ฟ้อง ไม่ถูกต้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 25,171.20 เหรียญสหรัฐ อเมริกา พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน6,664.25 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา นับแต่ วันที่ 10 พฤษภาคม 2530 จากต้นเงิน 6,302.83 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา นับแต่ วันที่ 27 พฤษภาคม2530 และ จาก ต้นเงิน 12,204.12 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา นับแต่ วันที่4 สิงหาคม 2530 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ โดย ให้ คิด อัตรา แลกเปลี่ยนเงินตรา จาก เงินตรา สหรัฐ อเมริกา เป็น เงินตรา ไทย โดย เฉลี่ย ตาม อัตราที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด ไว้ ใน วันที่ มี คำพิพากษา นี้ ถ้า ไม่มีอัตรา แลกเปลี่ยน สำหรับ การ ขาย ใน วัน นี้ ก็ ให้ ถือเอา วัน สุดท้าย ที่ มีอัตรา การ ขาย เช่นว่า นั้น ก่อน วัน พิพากษา คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความไม่ได้ โต้เถียง กัน รับฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย สาขา ลอนดอน ได้รับ การ ร้องขอ จาก บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด ให้ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อ สั่ง ซื้อ สินค้า จาก โจทก์ จำเลย สาขา ลอนดอน จึง เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต หมายเลข 5124 ให้ ใน วงเงิน 15,000 เหรียญสหรัฐ อเมริกา โดย ให้ โจทก์ เป็น ผู้รับประโยชน์ เป็น เครดิต ที่ มีเอกสาร ประกอบ ชนิด เพิกถอน ไม่ได้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 โดย ตอนแรกมี เงื่อนไข การ ชำระ เงิน ค่าสินค้า ระหว่าง โจทก์ กับ บริษัท ฟินิเชี่ยน เทรดเดอร์ จำกัด ว่า จะ ชำระ เต็ม มูลค่า ราคา สินค้า ที่ ระบุ ใน ใบ กำกับ สินค้า มี กำหนด 30 วัน นับแต่ เห็น เอกสาร ต่อมา ได้ เปลี่ยน เงื่อนไขการ ชำระ เงิน เป็น ชำระ ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต 50 เปอ ร์เซ นต์ ของ ราคาสินค้า ที่ ระบุ ใน ใบ กำกับ สินค้า ส่วน ที่ เหลือ อีก 50 เปอ ร์เซ นต์ของ ราคา สินค้า ชำระ ตาม เงื่อนไข ดี/พี มี กำหนด 60 วัน นับแต่ วันที่ ลง ใน ใบตราส่ง ต่อมา โจทก์ ได้ ส่ง สินค้า ตาม ใบ กำกับ สินค้า และ ใบ รายการบรรจุ หีบ ห่อ เอกสาร หมาย จ. 5 จ. 6 และ จ. 7 ให้ บริษัท ฟินิเชี่ยน เทรดเดอร์ จำกัด ตาม เงื่อนไข การ ชำระ ดังกล่าว จำเลย สาขา ลอนดอน ได้ จัดการ ให้ บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด ชำระ เงิน ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต เพียง 50 เปอ ร์เซ นต์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 12 ถึงล. 14 แล้ว จำเลย มอบ เอกสาร หลักฐาน ให้ บริษัท ฟินิเชี่ยนเทรดเดอร์ จำกัด ไป รับ สินค้า โดย จำเลย มิได้ ดำเนินการ ให้ บริษัท ฟินิเชี่ยน เทรดเดอร์ จำกัด ชำระ เงิน ที่ เหลือ อีก 50 เปอ ร์เซ นต์ ตาม ตั๋ว แลก เงิน เอกสาร หมาย จ. 11 ถึง จ. 13
“ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด เพียงใด โดย จำเลย ฎีกาว่า เอกสาร การ ส่ง สินค้า ตาม เอกสาร หมาย ล. 8 ล. 11 ล. 14 จ. 7 จ. 10และ จ. 13 เป็น เอกสาร การ ส่ง สินค้า ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 5155เอกสาร หมาย ล. 19 ไม่เกี่ยวกับ เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 5124ซึ่ง โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย รับผิด ด้วย เหตุ ผิดสัญญา เลตเตอร์ออฟเครดิตเลขที่ 5124 ซึ่ง โจทก์ ได้ ขอแก้ ฟ้อง ว่า การ ส่ง สินค้า ตาม ฟ้อง ข้อ 3.3เป็น การ ส่ง ไป ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 5155 แต่ ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ให้ แก้ฟ้อง จึง มิใช่ เป็น การ ฟ้อง ให้ รับผิด ด้วย เหตุผิดสัญญา เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 5124 แม้ โจทก์ จะ นำสืบ ไว้ ก็ เป็นเรื่อง นอกฟ้อง จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ใน ส่วน นี้ เห็นว่า โจทก์ ฟ้องให้ จำเลย รับผิด ด้วย เหตุ ผิดสัญญา เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 5124ใน การ ส่ง สินค้า รวม 3 ครั้ง ตาม ข้อ 3.1 ข้อ 3.2และ ข้อ 3.3 แต่ ข้อเท็จจริงได้ความ ว่า การ ส่ง สินค้า ตาม ข้อ 3.3 ตาม เอกสาร หมาย ล. 8 ล. 11 ล. 14จ. 7 จ. 10 และ จ. 13 เป็น การ เรียกเก็บ ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่5155 จำนวน 12,204.12 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา ซึ่ง เป็น ข้อ สัญญา ต่างหากจาก เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 5124 มิได้ เกี่ยวเนื่อง กัน ข้อเท็จจริงตาม ทางพิจารณา จึง ต่าง กับ ฟ้อง อัน ไม่อาจ บังคับ ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองให้ จำเลย รับผิด ใน จำนวนเงิน ดังกล่าว ตาม ฟ้อง ข้อ 3.3 ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังขึ้น
ส่วน ปัญหา ตาม ฎีกา จำเลย ว่า การ คิด อัตรา แลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ จะ คิด เมื่อใด โดย จำเลย ฎีกา ว่า ให้ ใช้ อัตรา แลกเปลี่ยนณ วันที่ ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษา หาได้ไม่ เพราะ มิใช่ วันที่ มี การชำระหนี้ กัน จริง และ เป็น การ ให้ ใช้ เป็น เงิน ไทย สูง ขึ้น กว่า อัตราแลกเปลี่ยน ที่ โจทก์ ใช้ ใน ฟ้อง ยอดหนี้ ตาม คำพิพากษา จึง เกินกว่าฟ้องโจทก์ ใน ข้อ นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน25,171.20 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา โดย คิด เทียบ เป็น เงิน ไทย ตาม อัตราแลกเปลี่ยน เงินตรา ต่างประเทศ ใน วันที่ มี คำพิพากษา ศาลชั้นต้น นั้นเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติ ว่าการ เปลี่ยน เงิน ให้ คิด ตาม อัตรา แลกเปลี่ยน เงิน ณ สถานที่ และ ในเวลา ที่ ใช้ เงิน อัตรา แลกเปลี่ยน เงิน ตาม มาตรา นี้ นั้น ย่อม ต้อง หมายถึงอัตรา ที่ จะ แลกเปลี่ยน กัน ได้ โดย เสรี ซึ่ง ปกติ จะ คิด ตาม อัตรา แลกเปลี่ยนเงิน โดย เฉลี่ย ที่ ธนาคารพาณิชย์ ที่ทำการ ขาย เงิน เหรียญ สหรัฐ อเมริกาเป็น เงินตรา ของ ประเทศ ใน กรุงเทพมหานคร เป็น เกณฑ์ และ เห็นว่า เพื่อความสะดวก แก่ การ บังคับคดี จึง ให้ คิด อัตรา แลกเปลี่ยน โดย ธนาคารพาณิชย์ ใน วันที่ มี คำพิพากษา ของ ศาล นี้ ถ้า ไม่มี อัตรา การ ขาย ใน วันนั้นก็ ให้ ถือเอา วัน สุดท้าย ที่ มี อัตรา การ ขาย เช่นว่า นั้น ก่อน วัน พิพากษาแต่ เนื่องจาก โจทก์ ขอ ใช้ อัตรา แลกเปลี่ยน เงินตรา ต่างประเทศ ใน วันถึง กำหนด ชำระ เป็น เกณฑ์ คำนวณ ใน การ มี คำขอ ท้ายฟ้อง และ โจทก์ ไม่ อุทธรณ์ฎีกา คัดค้าน จำนวนเงิน เหรียญ สหรัฐ อเมริกา ซึ่ง ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ โจทก์ ชนะคดี โจทก์ จึง ไม่อาจ รับ ชำระ เงิน จาก จำเลย เกินกว่า จำนวนเงิน ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน 6,664.25 เหรียญ สหรัฐอเมริกา พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงินดังกล่าว นับแต่ วันที่ 10 พฤษภาคม 2530 และ ชำระ เงิน 6,302.83เหรียญ สหรัฐ อเมริกา พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2530 จนกว่า ชำระ เสร็จโดย คิด เป็น เงิน ไทย ตาม อัตรา แลกเปลี่ยน โดย เฉลี่ย ของ ธนาคารพาณิชย์ใน กรุงเทพมหานคร ใน วันที่ ศาล นี้ พิพากษา ถ้า อัตรา แลกเปลี่ยน ใน วันดังกล่าว ไม่มี ก็ ให้ ถือเอา วัน สุดท้าย ที่ มี อัตรา แลกเปลี่ยน เช่นว่าก่อน วัน พิพากษา แต่เมื่อ คิด แล้ว เป็นต้น เงิน ต้อง ไม่เกิน กว่า169,871.73 บาท และ 161,604.56 บาท ตามลำดับ ดัง ที่ โจทก์ ขอ ให้ยกค่า คำขอ โจทก์ ที่ เรียกเก็บเงิน ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต เลขที่ 5155จำนวน 12,204.12 เหรียญ สหรัฐ อเมริกา พร้อม ดอกเบี้ย นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share