แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา88ประกอบมาตรา87(3)จะมีบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตามแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาใช่เป็นการประเมินเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกแต่เพียงอย่างเดียวอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปไม่โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมินตาม แบบ ภ.ค. 80 ที่ ต.1037/3/07400 – 07402 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2531รวม 3 ฉบับ เป็น เงิน 107,852 บาท ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของเจ้าพนักงาน ประเมิน ตาม หนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ที่ต.1037/2/05724 – 05725 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2531 รวม 2 ฉบับเป็น เงิน 218,644 บาท และ ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ เลขที่ 8/2534/1, 9 ก/2534/1 และ 9 ข/2534/1 ลงวันที่3 ตุลาคม 2533 รวม 3 ฉบับ
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตาม หนังสือแจ้ง การ ประเมิน ภาษีการค้า และ การ ประเมิน ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตลอดจนคำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ เจ้าพนักงาน ประเมินและ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ได้ กระทำ ด้วย ความ ถูกต้อง ชอบ ด้วยกฎหมาย แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ถอนฟ้อง เฉพาะ ประเด็น ที่ ให้เพิกถอน การ ประเมิน ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตาม หนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ ต.1037/2/05724-05725 และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ เลขที่8/2534/1 ศาลภาษีอากรกลาง อนุญาต
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงานประเมิน ตาม แบบ ภ.ค. 80 ที่ ต. 1037/3/07400-07402 ลงวันที่ 8สิงหาคม 2531 และ เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์เลขที่ 9 ก/2534/1 และ 9 ข/2534/1 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2533ค่าฤชาธรรมเนียม ให้ เป็น พับ
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า สำหรับ ประเด็น เกี่ยวกับภาษีการค้า ปกติ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่าคดี โจทก์ ต้องห้าม อุทธรณ์ ตามมาตรา 88 แห่ง ประมวลรัษฎากร โจทก์ ไม่มี สิทธิ นำ คดี มา ฟ้อง ต่อ ศาลขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน นั้น ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า เจ้าหน้าที่ของ จำเลย ส่งหมาย เรียก แจ้ง ให้ โจทก์ นำ ส่ง บัญชี เอกสาร หรือ หลักฐาน อื่นไป ให้ ไต่สวน โดย วิธี โฆษณา ทาง หนังสือพิมพ์ “สาย กลาง ” และ ภาษีการค้าดังกล่าว โจทก์ ไม่ต้อง เสีย ภาษีการค้า เพราะ รายรับ ดอกเบี้ยจำนวน 121,627.34 บาท ได้รับ ยกเว้น ตาม คำสั่ง กรมสรรพากร ที่ป.11/2528 รายรับ จำนวน 1,143 บาท เป็น รายรับ ที่ ไม่ถึง 4,000 บาทตาม พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มาตรา 6(18) รายรับจำนวน 399,212.49 บาท โจทก์ มิได้ รับ มา จริง ดังนั้น การ ที่ เจ้าพนักงานประเมิน ได้ ประเมิน ให้ โจทก์ เสีย ภาษีการค้า เพิ่มเติม จาก รายรับจำนวน 521,982.89 บาท เป็น เงิน ภาษี 42,719 บาท จึง ไม่ชอบศาลฎีกา เห็นว่า แม้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ประกอบ มาตรา 87(3)จะ มี บทบัญญัติ ห้าม มิให้ อุทธรณ์ การ ประเมิน ใน กรณี ที่ ผู้ มี หน้าที่ เสียภาษี ไม่ปฏิบัติ ตาม หมายเรียก ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน หรือไม่ ยอม ตอบคำถาม ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน โดย ไม่มี เหตุผล อัน สมควร ก็ ตาม แต่ข้อเท็จจริง คดี นี้ ปรากฏว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ดังกล่าวเป็น การ ประเมิน ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หาใช่ เป็น การ ประเมิน เพราะโจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม หมายเรียก แต่เพียง อย่างเดียว อัน จะ ทำให้ โจทก์หมด สิทธิ ที่ จะ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ต่อไป ไม่ โจทก์ จึง มีสิทธินำ คดี มา ฟ้อง ต่อ ศาล ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ดังกล่าว ได้ ที่ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย
พิพากษายืน