คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพ.ศ.2456โดยมิได้บรรยายฟ้องว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษเป็นจำนวนเท่าไรอีกทั้งมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งที่เป็นพิษเป็นจำนวนเท่าใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่กรมเจ้าท่าได้การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมเจ้าท่าจึงไม่ถูกต้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตาม พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 119, 119 ทวิ 204 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 90
จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 119,119 ทวิ , 204 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำ ของ จำเลยทั้ง สอง เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติการ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 119 ทวิ ซึ่ง เป็นบทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลย ที่ 1 ปรับ 60,000 บาทจำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 จำคุก 2 เดือน จำเลย ทั้ง สอง ให้การ รับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำเลย ที่ 1 คง ปรับ 30,000 บาทจำเลย ที่ 2 จำคุก 3 เดือน และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ค่าเสียหาย ให้ แก่ กรมเจ้าท่า ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจ หน้าที่บังคับ การ ให้ เป็น ไป ตาม พระราชบัญญัติ การ เดิน เรือ ใน น่านน้ำ ไทยพ.ศ. 2456 เป็น เงิน 500,000 บาท หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ ค่าปรับให้ บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ ขอให้ ลดโทษ ลด ค่า ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่กรมเจ้าท่า และ รอการลงโทษ จำเลย ที่ 2
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า “ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนด ให้จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ กับ กรมเจ้าท่า ชอบ หรือไม่ สำหรับปัญหา นี้ มิได้ ว่า กัน มา ใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 แต่ เป็นปัญหา เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ศาล เห็นควร วินิจฉัย ให้ และเห็นว่า ค่าเสียหาย ส่วน นี้ โจทก์ มิได้ บรรยายฟ้อง ว่า กรมเจ้าท่าได้เสีย ค่าใช้จ่าย ที่ ต้อง เสีย ไป ใน การ แก้ไข สิ่ง เป็น พิษ เป็น จำนวนเท่าไร อีก ทั้ง มิได้ ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายส่วน นี้ และ ข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏ ว่า กรมเจ้าท่า ได้เสีย ค่าใช้จ่ายใน การ แก้ไข สิ่ง เป็น พิษ เป็น จำนวน เท่าไร จึง ไม่อาจ กำหนด ค่าเสียหายส่วน นี้ ให้ แก่ กรมเจ้าท่า ได้ การ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนด ให้ จำเลยทั้ง สอง ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ กรมเจ้าท่า จึง ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ปรับ จำเลย ที่ 2 เป็น เงิน 60,000 บาทอีก สถาน หนึ่ง ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78แล้ว คง ปรับ 30,000 บาท โทษ จำคุก จำเลย ที่ 2 ให้ รอการลงโทษ ไว้ มีกำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ยก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ใน ส่วน ที่ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหายให้ แก่ กรมเจ้าท่า ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจ หน้าที่ บังคับการ ให้ เป็น ไป ตาม พระราชบัญญัติ ดังกล่าว เป็น จำนวนเงิน 500,000 บาทนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share