คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(2)บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา110วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วนแต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา110วรรคท้าย ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่งแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่1จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค4ลักษณะ2การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่ประการใดไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา306

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก เจ้าพนักงาน บังคับคดี ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 11826/2523 ของ ศาลแพ่ง ได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท คือ ที่ดินโฉนด เลขที่ 1532 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น ลูกหนี้(จำเลย ) ที่ 2 ใน คดี นี้ ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง เป็น โจทก์ ในคดีแพ่ง ดังกล่าว ใน ราคา 14,000,000 บาท เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์2531 โจทก์ ยื่น คำร้อง ว่า โจทก์ ได้ ร้องขอ ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 2เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท และ ให้ โอน ทรัพย์พิพาท เข้า มาใน คดี นี้ แต่ ผู้คัดค้าน ที่ 2 มี คำสั่ง ยกคำร้อง ของ โจทก์ คำสั่ง ของผู้คัดค้าน ที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ลูกหนี้ ที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 13 มกราคม 2530 ก่อน การ บังคับคดีแพ่ง ได้ สำเร็จ บริบูรณ์ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง ต้อง โอน อำนาจการ บังคับคดี มา ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 จัดการ ต่อไป การ ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ยัง คง ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ให้ แก่ผู้คัดค้าน ที่ 1 เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2531 ใน ขณะที่ ศาลยัง มิได้ พิพากษา ให้ ลูกหนี้ ที่ 2 เป็น บุคคล ล้มละลาย ย่อม ไม่มีอำนาจ จะ ทำได้ ตาม กฎหมาย และ ราคา ทรัพย์ ที่ ตกลง ขาย ให้ แก่ ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ ต่ำกว่า ความ เป็น จริง มาก ทั้ง ไม่ได้ เป็น ไป เพื่อ ประโยชน์แก่ เจ้าหนี้ ราย อื่น นอกจาก นี้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไม่ได้ แจ้งกำหนด วัน ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ให้ โจทก์ ทราบ ทำให้ ไม่มี โอกาส ไปควบคุม การ ขายทอดตลาด และ การ ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยื่น คำขอ รับชำระหนี้จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 เท่ากับ สละ สิทธิ ใน ฐานะ เป็นเจ้าหนี้ มี ประกัน จึง ต้อง โอน ทรัพย์พิพาท เข้า มา ไว้ ใน คดีล้มละลายขอให้ มี คำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ที่ ยกคำร้อง ของโจทก์ และ ขอให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท แล้ว โอน ทรัพย์พิพาท เข้า มา ไว้ ใน คดีล้มละลาย ต่อไป
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยื่น คำคัดค้าน ว่า คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่11826/2523 ของ ศาลแพ่ง ถึงที่สุด แล้ว ผู้คัดค้าน ที่ 1 ใน ฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิ ยึดทรัพย์ พิพาท ซึ่ง จำนอง ไว้ แก่ผู้คัดค้าน ที่ 1 ขายทอดตลาด เพื่อ นำ เงิน มา ชำระหนี้ ได้ ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ ซื้อ ทรัพย์พิพาท จาก การ ขายทอดตลาด โดยสุจริต ใน ราคา14,000,000 บาท ซึ่ง สูง กว่า ราคาประเมิน เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดี หัก ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และ จ่ายเงิน ให้ แก่ เจ้าหนี้มี ประกัน แล้ว หาก มี เหลือ ก็ ส่ง เป็น ทรัพย์สิน ใน คดีล้มละลาย จัด แบ่งให้ แก่ เจ้าหนี้ ราย อื่น ได้ โดย ไม่ต้อง เพิกถอน การ ขายทอดตลาด และการ บังคับคดี เสร็จ บริบูรณ์ แล้ว ขอให้ ยกคำร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 2 ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็นผู้รับจำนอง ทรัพย์พิพาท ได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ใน คดีล้มละลายต่อ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าหนี้ มี ประกัน โดย ขอให้ ขายทอดตลาดทรัพย์สิน อันเป็น หลักประกัน แล้ว ขอรับ ชำระหนี้ สำหรับ จำนวน ที่ ยังขาด อยู่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 จึง มีอำนาจ ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดีขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ต่อไป ได้ โดย ไม่ต้อง โอน ทรัพย์พิพาทเข้า มา ใน คดีล้มละลาย ก่อน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ไม่ใช่การ ขายทอดตลาด ใน คดีล้มละลาย ซึ่ง ไม่ต้อง รอ ให้ ศาล พิพากษาให้ ลูกหนี้ ที่ 2 เป็น บุคคล ล้มละลาย ก่อน ทั้ง ไม่ต้อง แจ้ง วันขายทอดตลาด ให้ โจทก์ ทราบ และ โจทก์ ไม่มี หลักฐาน สนับสนุน ว่า ราคาที่ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ได้ นั้น ต่ำกว่า ปกติ ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1เป็น เจ้าหนี้ มี ประกัน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ตาม คำพิพากษา คดี หมายเลขแดงที่ 11826/2523 ของ ศาลแพ่ง และ ได้ ดำเนินการ บังคับคดี แก่ ทรัพย์พิพาทของ ลูกหนี้ ที่ 2 ซึ่ง จำนอง เป็น หลักประกัน ตาม คำพิพากษา ดังกล่าวโดย ขอให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ พิพาท มา ขายทอดตลาด แต่ก่อน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ หารือ กับ ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้าน ที่ 2 ได้ ขอให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ต่อไป และ หาก มี เงิน สุทธิ เหลือ หลังจาก หัก ชำระหนี้ จำนองแก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 แล้ว ก็ ให้ โอน เข้า มา ใน คดีล้มละลายเจ้าพนักงาน บังคับคดี ทำการ ขายทอดตลาด 7 ครั้ง ปรากฏว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็น ผู้ซื้อ ได้ ใน ราคา 14,000,000 บาท ซึ่ง สูง กว่า ราคาที่ ประเมิน ไว้ ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า การ ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ ยื่นคำขอ รับชำระหนี้ ใน ฐานะ เจ้าหนี้ มี ประกัน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 96(3) โดย ขอให้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท แล้ว ขอรับ ชำระหนี้ สำหรับ จำนวน ที่ ขาด อยู่ ต่อมา ผู้คัดค้านที่ 2 มี คำสั่ง ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ดำเนินการ ขายทอดตลาด ไป นั้นการ ขายทอดตลาด โดย เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง ถือว่า เป็น การ ขายทอดตลาดใน คดีล้มละลาย ตาม คำสั่ง ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ โดย ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่ง เมื่อ ปรากฏว่า ไม่ได้ มี การ แจ้ง วัน ขายทอดตลาด ให้ แก่ โจทก์และ เจ้าหนี้ อื่น ใน ฐานะ ผู้มีส่วนได้เสีย ใน คดีล้มละลาย เพื่อ เปิด โอกาสให้ โจทก์ และ เจ้าหนี้ อื่น เข้า มาตรวจสอบ ดูแล ควบคุม การ ขายทอดตลาดเป็นเหตุ ให้ ขาย ทรัพย์พิพาท ได้ ใน ราคา ที่ ต่ำกว่า ความ เป็น จริง มากก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ และ เจ้าหนี้ทั้งปวง อีก ทั้ง เกิด ความ เสียเปรียบ ระหว่าง เจ้าหนี้ อื่น จึง เป็น การไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้น เห็นว่า เมื่อ ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้ แล้ว พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(2) บัญญัติให้ อำนาจ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แต่ ผู้เดียว ใน การ เก็บ รวบรวมและ รับ เงิน หรือ ทรัพย์สิน ซึ่ง จะ ตก ได้ แก่ ลูกหนี้ หรือ ซึ่ง ลูกหนี้มีสิทธิ จะ ได้รับ จาก ผู้อื่น แม้ ทรัพย์สิน นั้น จะ อยู่ ใน ระหว่าง การบังคับคดี ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ก็ ตาม เจ้าพนักงาน บังคับคดีก็ ยัง ต้อง ปฏิบัติ ตาม คำขอ ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เกี่ยวกับทรัพย์สิน นั้น เว้นแต่ การ บังคับคดี นั้น ได้ สำเร็จ บริบูรณ์ แล้ว ก่อนวันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตาม มาตรา 110 วรรคแรก ประกอบ ด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ ด้วย วัตถุประสงค์ ที่ จะ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้มา แบ่ง เฉลี่ย ให้ แก่ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย โดย เสมอภาค ตาม ส่วน อย่างไร ก็ ตามอำนาจ ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ดังกล่าว ไม่ กระทบ ถึง สิทธิของ เจ้าหนี้ มี ประกัน ใน การ บังคับคดี แก่ ทรัพย์สิน อันเป็น หลักประกันตาม มาตรา 110 วรรคท้าย เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็น เจ้าหนี้ จำนอง ทรัพย์พิพาท ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ได้ ฟ้องบังคับจำนอง และ ทำการ บังคับคดี โดย นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ พิพาทเพื่อ ขายทอดตลาด แล้ว ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ใน คดี นี้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ย่อม ไม่มี อำนาจ ที่ จะ ขอให้เจ้าพนักงาน บังคับคดี โอน การ ยึดทรัพย์ พิพาท มา ไว้ ใน คดีล้มละลายเพราะ เป็น การ กระทบ ต่อ สิทธิ ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้มี ประกัน ใน การ บังคับ แก่ ทรัพย์ อันเป็น หลักประกัน โดยตรง เทียบตาม นัย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 5744/2531 ระหว่าง บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ มหาสมุทร จำกัด โจทก์ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ผู้ร้อง นางสาว เล็ก ผาสุขวณิชย์ จำเลย ดังนั้น การ ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ซึ่ง จำนอง เป็น หลักประกัน ต่อไป ใน การบังคับคดี แพ่ง แม้ เป็น การ ปฏิบัติ ตาม คำขอ ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2เมื่อ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ กระทบ ถึง สิทธิ ดังกล่าว ของ ผู้คัดค้านที่ 1 เช่นนี้ จึง มีผล เท่ากับ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ไป ตาม อำนาจ หน้าที่ ของ ตน ใน การ บังคับคดี แพ่ง ตามบทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2การ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง หาใช่ เป็น การ ขายทอดตลาดใน คดีล้มละลาย อันเป็น อำนาจ หน้าที่ ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 แต่ ผู้เดียวตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 แต่ ประการใด ไม่ โจทก์หรือ เจ้าหนี้ อื่น จึง มิใช่ ผู้มีส่วนได้เสีย ใน การ บังคับคดี แก่ทรัพย์สิน ที่ จะขาย ซึ่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี จะ ต้อง แจ้ง ให้ ทราบ ซึ่งวัน ขายทอดตลาด ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306
พิพากษายืน

Share