คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จ. เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยที่3แม้จะมีข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ2.3ว่าบริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายก็ตามแต่กรมธรรม์ดังกล่าวข้อ2.8ก็มีข้อความว่าบริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองจำเลยที่2นำรถยนต์คันดังกล่าวไปใช้โดยให้จำเลยที่1ลูกจ้างของตนเป็นคนขับแล้วเกิดเหตุคดีนี้จึงต้องถือว่าจำเลยที่1ขับรถโดยความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยและมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเองเมื่อจำเลยที่1ทำละเมิดและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จำเลยที่3ก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาข้อ2.8ซึ่งเป็นข้อตกลงพิเศษหาได้ขัดกับมาตรา887วรรคหนึ่งไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2530 จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัยไว้ โดย ขับ สวนทาง ด้วย ความ เร็ว สูง และ ด้วย ความประมาท เลินเล่อล้ำ ทาง พุ่ง เข้า ชน รถยนต์ ที่ โจทก์ รับประกัน ภัย ไว้ อย่าง แรง เป็นเหตุให้ เสียหาย หลาย รายการ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน84,520 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน81,200 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ เป็น ลูกจ้าง หรือ ตัวแทนของ จำเลย ที่ 2 ใน ขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 84-4095 กรุงเทพมหานคร ไป เพื่อ ประโยชน์ ส่วนตัว ของ จำเลยที่ 1 เอง จำเลย ที่ 2 ไม่ใช่ นายจ้าง หรือ ตัวการ ของ จำเลย ที่ 1 เหตุคดี นี้ เกิดขึ้น เนื่องจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ นาย เสมียน สุทธิเรือง จำเลย ที่ 1 ให้การ รับ สภาพ ใน ชั้นสอบสวน เพื่อ ให้ คดี เสร็จ ไป โดย รวดเร็ว จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 84-4095 กรุงเทพมหานคร ไว้ จาก บุคคลอื่น มิได้ รับประกัน ภัยจาก จำเลย ที่ 2
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ร่วมกัน ชำระ เงิน 81,200 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน เงินต้น ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 19 สิงหาคม 2530 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จดอกเบี้ย คำนวณ ถึง วันฟ้อง (วันที่ 18 มีนาคม 2531) ให้ ไม่เกิน 3,320บาท ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 3
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วมรับผิด กับจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ด้วย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ศาลฎีกา ต้องถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว ว่า โจทก์ รับประกัน ภัยรถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9จ-3517 กรุงเทพมหานคร ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย จ. 3 จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน84-4095 กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เอา ประกันภัย ไว้ กับจำเลย ที่ 3 ปรากฎ ตาม ตาราง กรมธรรม์ เอกสาร หมาย ล. 1 หรือจ. 12 ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 รถ คัน ดังกล่าว ไป เกิดอุบัติเหตุ ชน กับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 9จ-3517 กรุงเทพมหานครใน ระหว่าง อายุ สัญญาประกันภัย ทั้ง ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ฝ่ายประมาท เลินเล่อ และ ทำละเมิด จริง ตาม ฟ้อง ด้วย แม้ ข้อเท็จจริงจะ ได้ความ ว่า นาย จิ้นเพ้ง ปิยะสันติกุล จะ เป็น ผู้เอาประกันภัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 3 และ มี ข้อ สัญญา ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.3 ว่าบริษัท จะ ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ใน นาม ของ ผู้เอาประกันภัย เมื่อ ผู้ เอาประกันภัย ต้อง รับผิด ตาม กฎหมาย ก็ ตาม แต่ กรมธรรม์ ดังกล่าว ข้อ 2.8ก็ มี ข้อความ ว่า บริษัท จะ ถือว่า บุคคล ใด ซึ่ง ขับขี่ รถยนต์ โดย ได้รับความ ยินยอม จาก ผู้เอาประกันภัย เสมือน หนึ่ง เป็น ผู้เอาประกันภัย เองซึ่ง กรณี นี้ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า จำเลย ที่ 2 นำ รถยนต์บรรทุก คันดังกล่าว ซึ่ง จำเลย ที่ 3 รับประกัน ภัย ไว้ ไป ใช้ โดย ให้ จำเลย ที่ 1ลูกจ้าง ของ ตน เป็น คนขับ แล้ว เกิดเหตุ คดี นี้ จึง ต้อง ถือว่า จำเลย ที่ 1ขับ รถ โดย ความ ยินยอม จาก ผู้เอาประกันภัย และ มี ฐานะ เป็น เสมือนผู้เอาประกันภัย เอง ดังนั้น เมื่อ จำเลย ที่ 1 ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อและ ทำละเมิด จน เกิด ความเสียหาย ขึ้น และ ต้อง รับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลย ที่ 3ก็ ต้อง รับผิด ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย ตาม กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.8ซึ่ง เป็น ข้อตกลง พิเศษ ที่ ผู้รับประกันภัย ยอม ผูกพัน ตน ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อ ความ วินาศภัย ที่ เกิดขึ้น แก่ บุคคลภายนอกเพราะ ถือว่า จำเลย ที่ 1 ก็ เป็น ผู้เอาประกันภัย ตาม ข้อ 2.8ดังกล่าว ด้วย และ หา ได้ ขัด กับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887วรรคหนึ่ง ไม่
พิพากษายืน

Share