คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ถ้อยคำที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377บัญญัติว่า”เมื่อเข้าทำสัญญาถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ”แสดงว่ามัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่6มีนาคม2532ระบุข้อความว่า”ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน200,000บาทและในวันที่20มีนาคม2532อีกจำนวน3,300,000บาท”เงินสดจำนวน200,000บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำส่วนเงินจำนวน3,300,000บาทนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาบางส่วนล่วงหน้าซึ่งจะชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้น

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง คืนเงิน มัดจำ และ ชำระ เงินค่าเสียหาย ฐาน ผิดสัญญา จะซื้อจะขาย รวม จำนวน 5,603,125 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ เงิน จำนวน 5,500,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ เงิน จำนวน2,300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงินจำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 6 มีนาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระเสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นรับฟัง ได้ว่า เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2532 จำเลย ทั้ง สอง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ตาม แผนผัง จำลอง และ ระวาง รูปถ่าย ทางอากาศหมายเลข 4746 แผ่น ที่ 112 ตาม ผัง ก. ข. และ ค. ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 2ตำบล บ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่ เนื้อที่ ประมาณ 350 ไร่ ใน ราคา ไร่ ละ 50,000 บาท รวมเป็น เงิน ทั้งสิ้น 17,500,000 บาทโดย การ ผ่อนชำระ ราคา เป็น งวด ปรากฏ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 1ต่อมา จำเลย ทั้ง สอง โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ 2 แปลง รวม เนื้อที่ดิน 4 ไร่2 งาน 51 ตารางวา ส่วน การ ชำระ เงิน ค่าซื้อ ที่ดินพิพาท งวด ที่ 1ซึ่ง ต้อง ชำระ ภายใน วันที่ 20 เมษายน 2532 โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สองตกลง กัน เมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2532 ให้ เลื่อน ไป วันที่ 30 เมษายน2532 ตาม บันทึก เอกสาร หมาย จ. 2 (หรือ ล. 12) วันที่ 3 เมษายน 2532จำเลย ทั้ง สอง มอบ ให้ ทนายความ บอกเลิก สัญญาจะซื้อจะขาย โดย อ้างว่าโจทก์ ไม่ชำระ เงิน ค่าซื้อ ที่ดิน งวด ที่ 1 ตาม เอกสาร หมาย จ. 4(หรือ ล. 10) วันที่ 17 เมษายน 2532 โจทก์ มี หนังสือ ถึง นายอำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่ อ้างว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ขาย ที่ดิน ให้ ตาม สัญญา วันที่ 22 พฤษภาคม 2532 จำเลย ทั้ง สอง มอบ ให้ ทนายความมี หนังสือ ให้ โจทก์ นำ เงิน ค่าที่ดิน งวด ที่ 1 ไป ชำระ ภายใน 7 วันมิฉะนั้น จำเลย ทั้ง สอง จะ เลิกสัญญา และ ริบ เงิน ที่ โจทก์ ชำระ ให้ จำเลยทั้งหมด ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 วันที่ 23 พฤษภาคม 2532 โจทก์ ให้ ทนายความมี หนังสือ บอกเลิก สัญญา แก่ จำเลย ทั้ง สอง ตาม เอกสาร หมาย จ. 7คดี มี ปัญหา ว่า โจทก์ หรือ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา พยาน จำเลยทั้ง สอง มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานโจทก์ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ผิดสัญญา และ จำเลย ทั้ง สอง มีสิทธิ ริบ เงินมัดจำ ได้ ตาม สัญญา ข้อ 7ซึ่ง ระบุ ว่า “หาก ผู้จะซื้อ ผิดสัญญา ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด ผู้จะซื้อ ยินยอมให้ ผู้จะขาย ริบ เงินมัดจำ นั้น ทั้งหมด ” มี ปัญหา ว่า โจทก์ ได้ วาง มัดจำไว้ เป็น จำนวน เท่าไร ใน ข้อ นี้ ตาม สัญญา ไม่ปรากฏ ข้อความ ชัดเจน ว่าเงิน จำนวน ใด เป็น เงินมัดจำ จำเป็น ต้อง พิเคราะห์ ถึง ความหมาย ของเงินมัดจำ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 บัญญัติ ว่า”เมื่อ เข้า ทำ สัญญา ถ้า ได้ ให้ สิ่ง ใด ไว้ เป็น มัดจำ ท่าน ให้ ถือว่าการ ที่ ให้ มัดจำ นั้น ย่อม เป็น พยานหลักฐาน ว่า สัญญา นั้น ได้ ทำ กัน ขึ้น แล้วอนึ่ง มัดจำ นี้ ย่อม เป็น ประกัน การ ที่ จะ ปฏิบัติ ตาม สัญญา นั้น ด้วย “ถ้อยคำ ที่ กฎหมาย บัญญัติ ว่า “เมื่อ เข้า ทำ สัญญา ถ้า ได้ ให้ สิ่ง ใด ไว้เป็น มัดจำ ” แสดง ความหมาย ของ มัดจำ ว่า จะ ต้อง เป็น ทรัพย์สิน ซึ่ง ได้ ให้ใน วัน ทำ สัญญา นั้นเอง ไม่ใช่ ทรัพย์สิน ที่ ให้ ใน วัน อื่น นอกจากวัน ทำ สัญญา ดัง จะ เห็น ได้ จาก ผล ของ มัดจำ ตาม มาตรา 378 นั้น ว่าถ้า ผู้รับมัดจำ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ต้อง ส่ง คืน มัดจำ แต่ ถ้า ผู้วางมัดจำผิดสัญญา ผู้รับมัดจำ มีสิทธิ ริบ มัดจำ ฉะนั้น ตาม สัญญาจะซื้อจะขายเอกสาร หมาย จ. 1 ข้อ 3 ที่ ระบุ ข้อความ ว่า “ใน วัน ทำ สัญญา นี้ผู้จะซื้อ ได้ ชำระ เงินสด จำนวน 200,000 บาท และ ใน วันที่ 20 มีนาคม2532 อีก จำนวน 3,300,000 บาท ” เงินสด จำนวน 200,000 บาท ซึ่ง โจทก์ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ยึด เป็น ประกัน เท่านั้น ที่ เป็น เงินมัดจำ ส่วน เงินจำนวน 3,300,000 บาท ซึ่ง จะ มี การ ชำระ ใน วันที่ 20 มีนาคม 2532หลัง วัน ทำ สัญญา นาน ถึง 14 วันนั้น ไม่ใช่ เงินมัดจำ ตาม ความหมาย ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 แต่ เป็น เพียง การ ชำระ ราคาค่าที่ดิน พิพาท บางส่วน ล่วงหน้า ซึ่ง จะ ชำระ ภายหลัง วัน ทำ สัญญาเท่านั้น เมื่อ ได้ความ ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี หนังสือ บอกเลิก สัญญา ตามเอกสาร หมาย จ. 4 (หรือ ล. 10) ถึง โจทก์ เมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2532ก่อน วันที่ โจทก์ มี หนังสือ บอกเลิก สัญญา ตาม เอกสาร หมาย จ. 7 นับแต่วันนั้น โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น คู่สัญญา แต่ละ ฝ่าย จำต้อง กลับคืนสู่ ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391ซึ่ง บัญญัติ ว่า “เมื่อ คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่ง ได้ ใช้ สิทธิ เลิกสัญญา แล้วคู่สัญญา แต่ละ ฝ่าย จำต้อง ให้ อีกฝ่าย หนึ่ง ได้ กลับคืน สู่ ฐานะ ดัง ที่เป็น อยู่ เดิม แต่ ทั้งนี้ จะ ให้ เป็น ที่ เสื่อมเสีย แก่ สิทธิ ของบุคคลภายนอก หาได้ไม่
ส่วน เงิน อัน จะ ต้อง ใช้ คืน ท่าน ให้ บวก ดอกเบี้ย เข้า ด้วยคิด ตั้งแต่ เวลา ที่ ได้รับ ไว้ ” ฉะนั้น เมื่อ ฟัง ข้อเท็จจริง ได้ว่าเงิน จำนวน 3,300,000 บาท ซึ่ง โจทก์ มอบ ให้ จำเลย ทั้ง สอง เมื่อ วันที่20 มีนาคม 2532 เป็น เงิน ค่าที่ดิน บางส่วน ล่วงหน้า ไม่ใช่ เงินมัดจำจำเลย ทั้ง สอง มี หน้าที่ ต้อง คืน ให้ โจทก์ พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี ตั้งแต่ เวลา ที่ รับ เงิน ไว้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่าเงิน ดังกล่าว เป็น เงินมัดจำ ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ไม่ต้อง คืน ให้ โจทก์ นั้นศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ส่วน โจทก์ ซึ่ง ได้รับ โอน ที่ดินพิพาท จากจำเลย ทั้ง สอง ก็ ต้อง โอน คืน ให้ จำเลย ทั้ง สอง เฉพาะ ที่ดิน ตาม สำเนา โฉนดเอกสาร หมาย ล. 2 ซึ่ง ยัง มี ชื่อ ทาง ทะเบียน เป็น ของ โจทก์ จำนวน 2 ไร่1 งาน 02 ตารางวา สำหรับ ที่ดิน ตาม สำเนา โฉนด เอกสาร หมาย ล. 1ซึ่ง โจทก์ ให้ นาง จงกลนี บุคคลภายนอก เป็น ผู้รับโอน จาก จำเลย ทั้ง สอง จำนวน 2 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา เมื่อ วันที่ 21 มีนาคม 2532 นั้นโจทก์ คง มี หน้าที่ ต้อง ชดใช้ ราคา ที่ดิน ให้ จำเลย ทั้ง สอง แทน เพื่อ ไม่ให้เสื่อมเสีย แก่ สิทธิ ของ บุคคลภายนอก ซึ่ง รับโอน ที่ดิน ไป โดยสุจริตส่วน ราคา ที่ดิน นั้น โจทก์ ตอบ คำถาม ติง ของ ทนายโจทก์ ว่า ขณะ จำเลยทั้ง สอง โอน มา ให้ โจทก์ นั้น ราคา แปลง ละ 300,000 บาท ซึ่ง สอดคล้อง กับคำเบิกความ ของ พยานโจทก์ คือ นาย วีระชัย เชื่อมั่น นาง สบสุข เจือศรีกุล ที่ เบิกความ ว่า ปัจจุบัน ที่ดินพิพาท 1 ไร่ ราคา ประมาณ 100,000 บาท เมื่อ คำนึง ถึง ราคา ที่ดิน ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมายจ. 1 ใน วันที่ 6 มีนาคม 2532 ราคา เพียง ไร่ ละ 50,000 บาทแล้ว ไม่ น่าเชื่อ ว่า จำเลย ที่ 1 รับ ซื้อ ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง มาใน ราคา 2,000,000 บาท หรือ ราคา ไร่ ละ ประมาณ 500,000 บาท ดัง คำ อ้างฟังได้ ว่า โจทก์ มี หน้าที่ ต้อง คืนเงิน ค่าที่ดิน พิพาท จำนวน 2 ไร่1 งาน 49 ตารางวา ซึ่ง ได้ โอน ให้ บุคคลภายนอก ไป แล้ว จำนวน 300,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ จาก วันที่ 21 มีนาคม 2532อันเป็น วันที่ โจทก์ ให้ นาง จงกลนี บุคคลภายนอก รับโอน ที่ดิน ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น เพียง บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน คืนเงิน ค่าที่ดินล่วงหน้า จำนวน 3,300,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับ จาก วันที่ 20 มีนาคม 2532 ให้ โจทก์ คืน ที่ดินโฉนด เลขที่ 8256 ตำบล บ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่ และ ชดใช้ เงิน ค่าที่ดิน โฉนด เลขที่ 8255 ตำบล บ้านกลาง อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่ ราคา 300,000 บาท ให้ จำเลย ทั้ง สอง พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับ จาก วันที่ 21 มีนาคม2532 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share