คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา9บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่านอกจากจะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในมาตรา6และมาตรา8พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นๆไว้ณสถานที่ที่ทำการเจ้าหน้าที่ที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่เมื่อจำเลยที่1ในฐานะเจ้าหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผลโดยตรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ไม่ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อมาจากบริษัท ธ. ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจะต้องถูกเวนคืนทำให้อาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อต้องถูกรื้อย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่1แม้มิได้แจ้งให้บริษัท ธ. ทราบเรื่องดังกล่าวขณะขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก็หาได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ไม่ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของโจทก์เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะได้ทราบถึงการแจ้งการครอบครองและให้รื้อถอนอาคารพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2526แต่ในขณะนั้นอาคารพิพาทยังไม่ถูกเข้าครอบครองและรื้อถอนมูลละเมิดจึงยังไม่เกิดเมื่อจำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 900,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจน ถึง วันที่ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน460,044 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความรับ และ ไม่ โต้เถียง กัน ฟังได้ ว่า ทางราชการ ได้ มี พระราชกฤษฎีกากำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้าง ทางหลวง เทศบาล สาย รัชดาภิเษก ตอน แขวง บางซื่อ-แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 ซึ่ง มีผล บังคับ ใช้ ตั้งแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2517 โดย ให้ ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครเป็น เจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการ ตาม พระราชกฤษฎีกา นี้ หลังจาก ที่พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว มีผล บังคับ แล้ว บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ได้ ขออนุญาต เขต ดุสิต ปลูกสร้าง อาคาร 4 ชั้น รวม 29 ห้อง บน ที่ดิน ซึ่ง อยู่ ใน แนวเขต สร้าง ทางหลวง เทศบาล ตาม พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวจำเลย ที่ 2 ซึ่ง ปฏิบัติ ราชการ แทน หัวหน้าเขต ดุสิต ได้ อนุญาต ให้ ปลูกสร้าง อาคาร ดังกล่าว ได้ โดย มิได้ แจ้ง ให้ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ผู้ขออนุญาต ทราบ ว่า อาคาร ที่ จะ ปลูกสร้าง อยู่ ใน แนว ทางหลวง เทศบาล สาย รัชดาภิเษก ตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับ ดังกล่าว ครั้น เมื่อ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ได้ ทำการ ปลูกสร้าง อาคาร ที่ ขออนุญาต เสร็จ แล้ว ได้ โอน ขาย อาคาร พร้อม ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ รวม 3 ห้อง และ ได้ ไป จดทะเบียนการ ซื้อ ขาย กัน ที่ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร เมื่อ วันที่ 17พฤศจิกายน 2521 โดย เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไม่ได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่าที่ดิน และ อาคาร ดังกล่าว อยู่ ใน แนวเขต ทางหลวง เทศบาล ตาม พระราชกฤษฎีกาฉบับ ดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ แจ้ง เรื่อง ที่ มีพระราชกฤษฎีกา ฉบับ ดังกล่าว ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ทราบ ต่อมา ทางราชการได้ มี พระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อ สร้าง ทางหลวง เทศบาลสาย รัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 ซึ่ง มีผล บังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ 31 มีนาคม 2526 และ ใน วันที่ 14 ตุลาคม 2529 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ สั่ง ให้ เจ้าหน้าที่ เข้า ครอบครอง และ รื้อ อาคารของ โจทก์ ที่ ซื้อ มา ดังกล่าว คดี มี ข้อ วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ว่าจำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ หรือไม่ ค่าเสียหาย ของ โจทก์มี เพียงใด และ ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่
สำหรับ ปัญหา ข้อ แรก ที่ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์หรือไม่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ไม่ได้ บังคับ ไว้ โดย เด็ดขาด ว่าเจ้าหน้าที่ จะ ต้อง มอบ พระราชกฤษฎีกา และ พระราชบัญญัติ เวนคืนณ สถานที่ ตาม มาตรา ดังกล่าว ข้อ ก. ข. และ ค. แต่อย่างใด การ ที่จำเลย ที่ 1 มิได้ ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย ดังกล่าว จึง ไม่เป็น การ ละเมิดต่อ โจทก์ เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาตรา 9 บัญญัติ ไว้ ว่า นอกจาก ที่ จะ ต้อง ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา แล้ว ให้ เจ้าหน้าที่ มอบ สำเนา อัน แท้จริง แห่งพระราชกฤษฎีกา และ พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ใน มาตรา 6 และ มาตรา 8พร้อม ทั้ง แผนที่ ท้าย พระราชกฤษฎีกา และ พระราชบัญญัติ นั้น ๆ ไว้ณ สถานที่ เหล่านี้ คือ ก. ที่ทำการ เจ้าหน้าที่ ข. ที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่ง ทรัพย์สิน ที่ ต้อง เวนคืน นั้น ตั้ง อยู่ค. ที่ว่าการ อำเภอ หรือ หอทะเบียน ที่ดิน ใน ตำบล ซึ่ง ทรัพย์สิน ที่ ต้องเวนคืน นั้น ตั้ง อยู่ และ มาตรา 4 บัญญัติ ว่า “เจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ใน รัฐบาล หรือ ทบวง การเมือง อื่น หรือ บุคคลผู้กระทำ การ เพื่อ ประโยชน์ ของรัฐ ซึ่ง มีอำนาจ ที่ จะ กระทำการ ใด ๆที่ ได้รับ อำนาจ ให้ กระทำ หรือ ควบคุม การ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ดังนี้ ถือว่า พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 บัญญัติ ไว้ โดย เด็ดขาด ให้ เจ้าหน้าที่ ต้อง ปฏิบัติ ตามบทบัญญัติ มาตรา 9 เมื่อ พระราชกฤษฎีกา กำหนด แนว ทางหลวง ที่ จะ สร้างทางหลวง เทศบาล สาย รัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ-แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517มาตรา 4 บัญญัติ ไว้ ว่า ให้ ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าหน้าที่ ดำเนินการ ตาม พระราชกฤษฎีกา นี้ ดังนั้น จำเลย ที่ 1 จึง มีหน้าที่ ต้อง แจ้ง ให้ สำนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร ทราบ ตาม มาตรา 9ค. เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ แจ้ง จึง เป็น การละเว้น ไม่ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม กฎหมาย หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ ละเว้น การปฏิบัติ หน้าที่ โดย แจ้ง ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน เมื่อ โจทก์ มา จดทะเบียนการ ซื้อ ขาย เจ้าพนักงาน ที่ดิน ก็ จะ ต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ว่า ที่ดินซึ่ง เป็น ที่ ตั้ง ของ อาคาร พิพาท จะ ต้อง ถูก เวนคืน โจทก์ ก็ คง จะ ไม่ ซื้อที่ดิน และ อาคาร พิพาท การ ละเว้น ไม่ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม กฎหมาย ของจำเลย ที่ 1 ดังกล่าว จึง เป็น ผล โดยตรง ก่อ ให้ บังเกิด ความเสียหายแก่ โจทก์ กล่าว คือ ทำให้ โจทก์ ซื้อ อาคาร พิพาท มา และ ต้อง ถูก รื้อย่อม เป็น การกระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ฎีกา จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้นส่วน จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ไม่มี กฎหมาย หรือ ระเบียบ ข้อบังคับ ให้จำเลย ที่ 2 ต้อง แจ้ง ให้ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ผู้ขออนุญาต ปลูกสร้าง อาคาร ทราบ ว่า ที่ดิน จะ ถูก เวนคืน เห็นว่า ถึง หาก จะ ฟัง ว่าจำเลย ที่ 2 ไม่แจ้ง ให้ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ทราบ จะ เป็น การ ทำ ละเมิด เพราะ เกิดจาก ความประมาท เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 2 การกระทำของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว ก็ เป็น การ ทำละเมิด ต่อ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด หาก มี ความเสียหาย เกิดขึ้น ก็ เป็น เรื่อง ที่ บริษัท ธนสถิตย์ จำกัด จะ ไป ว่ากล่าว เอา แก่ จำเลย ที่ 2 ส่วน โจทก์ ซึ่ง รับโอน อาคาร พิพาท จากบริษัท ธนสถิตย์ จำกัด ตาม สัญญาซื้อขาย มา อีก ต่อ หนึ่ง นั้น โจทก์ หา ได้ มี นิติสัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 2 ไม่ ความเสียหาย ที่ โจทก์ ได้รับเพราะ ที่ดิน ถูก เวนคืน และ อาคาร พิพาท ถูก รื้อ จึง ถือไม่ได้ว่า เป็นผล โดยตรง จาก การ ทำละเมิด ของ จำเลย ที่ 2 คดี ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 2ทำละเมิด ต่อ โจทก์ ฎีกา จำเลย ที่ 2 ฟังขึ้น
สำหรับ ปัญหา ข้อ ที่ ว่า ค่าเสียหาย ของ โจทก์ มี เพียงใด จำเลย ที่ 1ฎีกา ว่า โจทก์ ซื้อ ที่ดิน และ อาคาร พิพาท มา ใน ราคา 900,000 บาทโจทก์ ได้รับ ค่าทดแทน ค่าที่ดิน ไป แล้ว 669,933 บาท คงเหลือ ที่ เป็นราคา ค่า อาคาร พิพาท เพียง 230,000 บาท อาคาร พิพาท ใช้ มา นาน 10 ปี แล้วคงเหลือ ราคา ไม่เกิน 50,000 บาท หาก จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ก็ ไม่ควร เกิน 50,000 บาท ได้ความ จาก คำเบิกความของ โจทก์ ว่า โจทก์ ได้รับ ค่าทดแทน ค่าที่ดิน ไป แล้ว รวมเป็น เงิน 439,956บาท ตาม ใบเสร็จรับเงิน เอกสาร หมาย ล. 12 ล. 13 และ ล. 14 แต่เมื่อ ได้คำนวณ จำนวนเงิน ใน ใบเสร็จรับเงิน ทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว แล้ว ได้ ยอดเงิน669,933 บาท ถูกต้อง ตรง กับ ข้ออ้าง ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 1 ดังนี้จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ ได้รับ ค่าทดแทน ค่าที่ดิน ไป แล้ว เป็น เงิน 669,933บาท ไม่ใช่ 439,956 บาท ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟัง มา จึง เหลือ เป็นค่า อาคาร พิพาท เพียง 230,067 บาท ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า อาคาร พิพาทใช้ มา 10 ปี แล้ว คงเหลือ ราคา ไม่เกิน 50,000 บาท นั้น เห็นว่าการ ที่ อาคาร พิพาท ถูก ใช้ มา นาน ย่อม ต้อง เสื่อมสภาพ ไป บ้าง เป็น ธรรมดาแต่ ก็ ใช่ ว่า ราคา จะ ลดลง ไป ด้วย เสมอ ไป หาก แต่ ราคา อาจจะ แพง ขึ้น ตามสภาวะ ของ เศรษฐกิจ ก็ ได้ ดังนั้น ศาลฎีกา จึง เห็นสมควร กำหนด ค่าเสียหายส่วน นี้ ให้ แก่ โจทก์ เท่ากับ ราคา ส่วน ที่ เหลือ คือ จำนวน 230,067 บาทฎีกา จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ ฟังขึ้น บางส่วน
ส่วน ปัญหา ข้อ อายุความ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า อายุความ ฟ้องร้องคดี นี้ เริ่ม นับ ตั้งแต่ วันที่ โจทก์ ได้รับ ทราบ หนังสือ ของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ แจ้ง การ เข้า ครอบครอง และ ให้ รื้อถอน อาคาร พิพาทฉบับ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ตาม เอกสาร หมาย ล. 3 แต่ โจทก์ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2530 เกิน 1 ปี นับแต่ วัน รู้ตัวผู้ที่ จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน คดี โจทก์ จึง ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น เห็นว่า แม้ โจทก์จะ ได้ ทราบ ถึง การ แจ้ง การ ครอบครอง และ ให้ รื้อถอน อาคาร พิพาท ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2526 ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ก็ ตาม แต่ ใน ขณะ นั้นอาคาร พิพาท ยัง ไม่ ถูก เข้า ครอบครอง และ รื้อถอน มูลละเมิด จึง ยัง ไม่ เกิดแต่ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ส่ง เจ้าหน้าที่ เข้า ครอบครองและ รื้อถอน อาคาร พิพาท เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2529 ดังนี้ ถือได้ว่ามูลละเมิด เกิดขึ้น นับ ตั้งแต่ วันที่ กล่าว นี้ เป็นต้น ไป โจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยัง ไม่เกิน 1 ปี นับแต่ มูลละเมิดเกิดขึ้น คดี โจทก์ ยัง ไม่ขาดอายุความ ฎีกา จำเลย ที่ 1 ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 230,067 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share