แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่2เป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานเงินคงเหลือประจำทุกวันแต่กลับไม่ตรวจสอบไม่ลงลายมือชื่อเป็นกรรมการรักษาเงินในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและไม่กวดขันให้กรรมการรักษาเงินคนอื่นตรวจสอบหลักฐานการรับเงินและตัวเงินสดและลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์เมื่อผลของการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปการกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชากิจการต่างๆของสำนักงานปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชาจำเลยที่1และที่3ให้ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์จำเลยที่2จึงต้องรับผิดมากกว่าจำเลยที่3 จำเลยที่3ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์อาจจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ขึ้นได้แต่จำเลยที่3ก็มิได้รายงานเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือจำเลยที่2ขึ้นไปทราบเสียในทันทีเพื่อจะได้สั่งการแก้ไขการที่จำเลยที่3ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นจำเลยที่3ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดโจทก์ลงนามรับทราบเรื่องในวันใดถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวอายุความละเมิดเริ่มนับแต่วันนั้น
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดย มี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ผู้บังคับบัญชาสำนักงาน เร่งรัด พัฒนา ชนบท จังหวัด มหาสารคาม อยู่ ใน ความ ควบคุม ดูแลของ โจทก์ มี จำเลย ที่ 1 เป็น หัวหน้า หมวด การเงิน และ บัญชี จำเลย ที่ 2มี ตำแหน่ง เร่งรัด พัฒนา ชนบท จังหวัด มหาสารคาม และ มี หน้าที่ ควบคุม ดูแลรับผิดชอบ บังคับบัญชา กิจการ ต่าง ๆ ของ สำนักงาน จำเลย ที่ 3เป็น หัวหน้า ฝ่ายบริหาร และ พัฒนา มี หน้าที่ ควบคุม ดูแล รับผิดชอบบังคับบัญชา ใน หมวด การเงิน และ บัญชี และ ควบคุม ติดตาม แก้ไข ปัญหาและ ประเมิน ผล การ ปฏิบัติงาน ต่าง ๆ นอกจาก นี้ จำเลย ทั้ง สาม ยัง ได้รับแต่งตั้ง เป็น กรรมการ รักษา เงิน ตาม คำสั่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ระหว่าง เดือน มกราคม 2529 ถึง เดือน มกราคม 2530 จำเลย ที่ 1ได้รับ มอบฉันทะ จาก จำเลย ที่ 2 ให้ ไป รับ เงิน จาก คลัง จังหวัด มหาสารคามเพื่อ นำ ไป ชำระหนี้ แก่ เจ้าหนี้ หลังจาก จำเลย ที่ 1 รับ เงิน มา แล้วได้ เบียดบัง ยักยอก ไว้ เป็น ประโยชน์ ส่วนตัว รวม ฎีกา เบิกเงิน 25 ฎีกาคิด เป็น เงิน 806,225.19 บาท นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 1 ยัง แก้ไข และปลอม ใบเสร็จรับเงิน และ ตั้ง ฎีกา เบิกเงิน ดังกล่าว แล้ว ยักยอก ไป จำนวน125,340 บาท รวมเป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 1 ยักยอก ไป จำนวน 931,565.19 บาทจำเลย ที่ 2 ไม่ทำ การ แต่งตั้ง กรรมการ รับ ส่ง เงิน ให้ เป็น ไป ตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทย และ เมื่อ จำเลย ที่ 1 รับ เงิน และ ลง บัญชี รับ จ่าย แล้วจำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ กรรมการ รักษา เงิน มิได้ ทำการ ตรวจรับ เงิน ให้ ถูกต้องนอกจาก นี้ ระหว่าง วันที่ 2 กันยายน 2529 ถึง วันที่ 14 มกราคม 2530จำเลย ที่ 1 ได้ เสนอ งาน ต่าง ๆ โดยตรง ต่อ จำเลย ที่ 2 โดย ไม่ ผ่านจำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็น ผู้บังคับบัญชา แต่ จำเลย ที่ 3 มิได้ แก้ ปัญหาดังกล่าว เมื่อ จำเลย ที่ 1 นำ งาน ซึ่ง เป็น หน้าที่ ของ ผู้อื่น มาดำเนินการ เอง จำเลย ที่ 3 ก็ ไม่ว่า กล่าว หรือ แก้ไข ปัญหา และ จำเลย ที่ 3ไม่ทำ การ ตรวจสอบ และ เก็บรักษา เงิน ที่ จำเลย ที่ 1 เบิก มา การกระทำ ของจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น การ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้จำเลย ที่ 1 นำ เงิน ของ สำนักงาน เร่งรัด พัฒนา ชนบท จังหวัด มหาสารคามและ ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มหาสารคาม ของ โจทก์ ไป เป็น ประโยชน์ส่วนตัว ถือว่า จำเลย ทั้ง สาม ได้ ร่วมกัน กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ เป็นเหตุให้ โจทก์ ยัง ต้อง เป็น หนี้ ค้างชำระ เจ้าหนี้ ต่าง ๆ และ สำนักงาน ตรวจ เงินแผ่นดิน สั่ง ระงับ การ อนุมัติ ฎีกา มา ยัง โจทก์ จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ จำนวน 931,565.19 บาท จำเลย ที่ 2 ต้อง ร่วมรับผิด กับจำเลย ที่ 1 สอง ส่วน เป็น เงิน 776,304.33 บาท จำเลย ที่ 3 ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 หนึ่ง ส่วน เป็น เงิน 155,260.86 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ที่ จำเลย แต่ละ คนต้อง รับผิด นับ ตั้งแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530 ซึ่ง เป็น วันที่ โจทก์ทราบ ถึง การกระทำ ละเมิด เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ชำระ เสร็จเฉพาะ ดอกเบี้ย เมื่อ คำนวณ ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 66,956.25 บาท55,796.87 บาท และ 11,159.37 บาท ตามลำดับ ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1ชดใช้ เงิน จำนวน 998,521.44 บาท จำเลย ที่ 2 ชดใช้ เงิน จำนวน832,101.20 บาท จำเลย ที่ 3 ชดใช้ เงิน จำนวน 166,420.23 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงินดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ ร่วม กับจำเลย ที่ 1 กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ เมื่อ จำเลย ที่ 1 รับ เงิน มาเก็บรักษา ไว้ แล้ว จึง ทุจริต นำ เงิน ไป ความเสียหาย เกิดจาก การกระทำของ จำเลย ที่ 1 เอง ภายหลัง มิได้ เกิดขึ้น จาก การ ไม่ทำ ตาม ระเบียบของ จำเลย ที่ 2 ตาม ฟ้อง หน้าที่ การ รับ เงิน นั้น เป็น ของ จำเลย ที่ 1ซึ่ง ปฏิบัติ มา ก่อน ที่ จำเลย ที่ 2 จะ มา ดำรง ตำแหน่ง เร่งรัด พัฒนา ชนบทการ ติดตาม ผล การ จ่ายเงิน ที่ จำเลย ที่ 1 เบิก มา ก็ เป็น หน้าที่ ของจำเลย ที่ 3 เมื่อ จำเลย ที่ 3 มิได้ รายงาน ให้ จำเลย ที่ 2 ทราบย่อม เป็น การ พ้นวิสัย ที่ จำเลย ที่ 2 จะ ทราบ ถึง ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้นจำเลย ที่ 2 จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ให้อำนาจ จำเลย ที่ 3 เกี่ยวกับ การ บริหาร การเงิน งบประมาณ จำเลย ที่ 3จึง ไม่อาจ ควบคุม ตรวจสอบ เกี่ยวกับ การเงิน และ บัญชี ได้ จำเลย ที่ 1ได้ เสนอ เรื่อง เกี่ยวกับ การเงิน ทั้งหมด โดยตรง ต่อ จำเลย ที่ 2จำเลย ที่ 3 ได้ ทักท้วง และ สั่งการ ให้ จำเลย ที่ 1 ปฏิบัติงาน ให้ ถูกต้องตาม ระเบียบ และ ได้ ชี้แจง ให้ จำเลย ที่ 2 ทราบ แล้ว แต่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 เพิกเฉย จำเลย ที่ 3 ไม่มี ส่วน ร่วม กระทำผิด กับ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ รับ แจ้ง คำสั่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ ตั้ง จำเลย ที่ 3 เป็น กรรมการ รักษา เงิน และ ตาม คำสั่ง ดังกล่าวมีผล เฉพาะ เงิน ใน งบ อุดหนุน องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพียง 2 รายการคิด เป็น เงิน 28,972.57 บาท หาก จำเลย ที่ 3 เป็น กรรมการ รักษา เงินก็ คง รับผิด เพียง จำนวน ดังกล่าว ฎีกา ที่ จำเลย ที่ 1 เบิกเงิน ตามใบเสร็จรับเงิน ปลอม จำนวน 3 ฉบับ ได้ ดำเนินการ เบิก และ รับ เงินก่อน ที่ จำเลย ที่ 3 จะ ย้าย มา รับ ราชการ ใน ตำแหน่ง ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ จำนวน 924,230.19 บาท ให้ จำเลย ที่ 2และ จำเลย ที่ 3 ร่วม ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ จำนวน770,191.80 บาท และ จำนวน 83,489.65 บาท ตามลำดับ พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ที่ จำเลย แต่ละ คน ต้อง รับผิดนับ ตั้งแต่ วันที่ 14 กันยายน 2530 เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สามจะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดีใน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 รับรอง ว่า จำเลย ที่ 3 มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกาใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่าขณะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ดำรง ตำแหน่ง หัวหน้า หมวด การเงิน และ บัญชีสำนักงาน เร่งรัด พัฒนา ชนบท จังหวัด มหาสารคาม จำเลย ที่ 2 ดำรง ตำแหน่งเร่งรัด พัฒนา ชนบท จังหวัด มหาสารคาม จำเลย ที่ 3 เป็น หัวหน้า ฝ่ายบริหารและ พัฒนา สำนักงาน เร่งรัด พัฒนา ชนบท มหาสารคาม ระหว่าง เดือน มกราคม2529 ถึง เดือน มกราคม 2530 จำเลย ที่ 2 ได้ มอบฉันทะ ให้ จำเลย ที่ 1ไป รับ เงิน จาก คลัง จังหวัด มหาสารคาม เพื่อ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้หลังจาก รับ เงิน มา แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ เบียดบัง ยักยอก ไป โดย ไม่ได้ นำไป ชำระ แก่ เจ้าหนี้ เป็น เงิน 806,225.19 บาท และ จำเลย ที่ 1 ยัง ได้ปลอม ใบเสร็จรับเงิน และ ตั้ง ฎีกา เบิกเงิน แล้ว ยักยอก ไป เป็น เงิน125,340 บาท จำเลย ที่ 2 ฎีกา ข้อ แรก ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ประมาทเลินเล่อ จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ นั้น ข้อ นี้ จำเลย ที่ 2 เบิกความเป็น พยาน ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ค้าน รับ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่มี หน้าที่ รับ เงินเนื่องจาก ได้ มอบฉันทะ ให้ จำเลย ที่ 1 หัวหน้า หมวด การเงิน แล้วหลังจาก รับ เงิน มา แล้ว หาก จ่าย ให้ แก่ เจ้าหนี้ ของ สำนักงาน เร่งรัด พัฒนาชนบท ไม่ หมด จะ ต้อง มา ลง ใน สมุด เงิน คงเหลือ คือ รายงาน เงิน คงเหลือประจำวัน ใน ทางปฏิบัติ จำเลย ที่ 2 ต้อง ตรวจ ทุกวัน ปรากฏ ตามเอกสาร หมาย จ. 89-จ. 126 แต่ ปกติ แล้ว จะ ไม่ เหลือ เงิน ไว้ รายงานเงิน คงเหลือ ประจำวัน ดังกล่าว ไม่มี ลายมือชื่อ ของ กรรมการ ลง ไว้ เลยซึ่ง ตาม ความจริง แล้ว ต้อง มี ลายมือชื่อ ตาม ปกติ รายงาน ดังกล่าวจะ ไม่ เสนอ ทุกวัน จำเลย ที่ 2 ได้ ทักท้วง ด้วย วาจา แต่ ก็ ยัง คง ปฏิบัติเช่น เดิม เห็นว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลย ที่ 1มี หน้าที่ ตรวจสอบ รายงาน เงิน คงเหลือ ประจำวัน ทุกวัน แต่ กลับ ไม่ ตรวจสอบก็ ดี ไม่ ลงลายมือชื่อ เป็น กรรมการ รักษา เงิน ใน รายงาน เงิน คงเหลือประจำวัน ก็ ดี และ ไม่ กวดขัน ให้ กรรมการ รักษา เงิน คนอื่น ตรวจสอบ หลักฐานการ รับ เงิน และ ตัว เงินสด และ ลงลายมือชื่อ ใน รายงาน เงิน คงเหลือ ประจำวันก็ ดี เป็น การ ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง และ ระเบียบ แบบ แผน ของ โจทก์ ไม่ ควบคุมดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม คำสั่ง และ ระเบียบ แบบ แผนของ โจทก์ เมื่อ ผล ของ การกระทำ ดังกล่าว เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 1ยักยอก เงิน ของ โจทก์ ไป การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น การกระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด อีก ประการ หนึ่ง ตาม บันทึก การสอบสวน หา ผู้รับผิด ทางแพ่ง เอกสาร หมาย ล. 4 คณะกรรมการ ได้ สอบถามจำเลย ที่ 2 ว่า เมื่อ เงิน ขาด บัญชี ไป จำนวน 931,565.19 บาท จำเลย ที่ 2ใน ฐานะ ผู้บังคับบัญชา ซึ่ง มี หน้าที่ ควบคุม งาน โดยตรง จะ ยอมรับ ผิด ชอบทางแพ่ง หรือไม่ จำเลย ที่ 2 ตอบ ว่า ยอมรับ ผิด เห็น ได้ว่า จำเลย ที่ 2ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่าการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 2 เป็นเหตุ ให้ โจทก์ เสียหายฉะนั้น จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ฎีกา จำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น ส่วน ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 ควร รับผิดต่อ โจทก์ เท่ากับ จำเลย ที่ 3 นั้น เห็นว่า จำเลย ที่ 2 มี ตำแหน่ง เป็นเร่งรัด พัฒนา ชนบท จังหวัด เป็น ผู้บังคับบัญชา สูงสุด ของ หน่วยงานมี หน้าที่ ควบคุม ดูแล รับผิดชอบ บังคับบัญชา กิจการ ต่าง ๆ ของ สำนักงานความเสียหาย ใน คดี นี้ เกิดจาก การ ที่ จำเลย ที่ 2 ปล่อยปละละเลยไม่ ควบคุม ดูแล รับผิดชอบ บังคับบัญชา จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ให้ ปฏิบัติตาม คำสั่ง และ ระเบียบ แบบ แผน ของ โจทก์ จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิดมาก กว่า จำเลย ที่ 3 ฎีกา จำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
จำเลย ที่ 3 ฎีกา ข้อ แรก ว่า จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ กระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ ข้อ นี้ จำเลย ที่ 3 นำสืบ รับ ว่า จำเลย ที่ 3 ไป รับ ราชการใน ตำแหน่ง หัวหน้า ฝ่ายบริหาร และ พัฒนา สำนักงาน เร่งรัด พัฒนา ชนบทจังหวัด มหาสารคาม เมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2529 มี หน้าที่ บริหาร งานบังคับบัญชา ปกครอง และ ติดตาม การ ปฏิบัติงาน ของ เจ้าหน้าที่ ซึ่ง อยู่ ในฝ่ายบริหาร และ พัฒนา หมวด การเงิน และ บัญชี เป็น หน่วยงาน ซึ่ง จำเลย ที่ 3ต้อง บังคับบัญชา รับผิดชอบ ด้วย แต่ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น หัวหน้าหมวด การเงิน และ บัญชี จะ เสนอ เรื่อง เกี่ยวกับ การ รับ จ่ายเงิน ไป ยังจำเลย ที่ 2 เพียง ผู้เดียว ไม่ ผ่าน จำเลย ที่ 3 ซึ่ง ตาม ระเบียบ แล้วมี การ กำหนด อำนาจ หน้าที่ กัน ไว้ เป็น หนังสือ ว่า จะ ต้อง เสนอ เรื่อง ให้จำเลย ที่ 3 ตรวจสอบ ก่อน แต่ ไม่ได้ ปฏิบัติ จำเลย ที่ 3 เคย เรียกจำเลย ที่ 1 มา ว่ากล่าว แต่ จำเลย ที่ 1 อ้างว่า เคย ปฏิบัติ เช่นนั้นมา ตลอด ดังนี้ แสดง ว่า จำเลย ที่ 3 ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง และ ระเบียบ แบบ แผน ของ โจทก์ อาจจะ เกิดความเสียหาย แก่ โจทก์ ขึ้น ได้ แต่ จำเลย ที่ 3 ก็ มิได้ รายงาน เรื่องให้ ผู้บังคับบัญชา ชั้น เหนือ จำเลย ที่ 2 ขึ้น ไป ทราบ เสีย ใน ทันทีเพื่อ จะ ได้ สั่งการ แก้ไข การ ที่ จำเลย ที่ 3 ปล่อยปละละเลย จน เป็นเหตุให้ เกิด ความเสียหาย ขึ้น จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ผู้บังคับบัญชา โดยตรงของ จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ด้วย ส่วน ที่จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ บันทึก เสนอ จำเลย ที่ 2 และเลขาธิการ สำนักงาน เร่งรัด พัฒนา ชนบท ใน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530เกี่ยวกับ เรื่อง การ ปล่อยปละละเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ขั้นตอน สาย งานบังคับบัญชา ของ ผู้บังคับบัญชา และ หัวหน้า หมวด การเงิน และ บัญชีใน สำนักงาน เร่งรัด พัฒนา ชนบท จังหวัด มหาสารคาม ปรากฏ ตาม เอกสาร หมายล. 3 ซึ่ง แสดง ว่า จำเลย ที่ 3 ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ราชการ ด้วย ความ รอบคอบและ รักษา ผลประโยชน์ ของ ราชการ แล้ว นั้น ก็ ปรากฏว่า จำเลย ที่ 3ได้ กระทำการ ดังกล่าว เมื่อ สำนักงาน ตรวจ เงิน แผ่นดิน ภูมิภาค ที่ 4ได้ สั่ง อายัด ฎีกา ใน คดี นี้ แล้ว การกระทำ ของ จำเลย ที่ 3 จึง ล่วงเลยเวลา ที่ จะ ป้องกัน มิให้ เกิด ความเสียหาย ขึ้น อีก ประการ หนึ่ง โจทก์นำสืบ ว่า ผู้บังคับบัญชา จำเลย ที่ 3 ได้ สั่ง ตั้ง ให้ จำเลย ที่ 3เป็น กรรมการ รักษา เงิน ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 27 จำเลย ที่ 3นำสืบ รับ ว่า ได้ ลงลายมือชื่อ ใน เอกสาร ดังกล่าว ใน ฐานะ ผู้ตรวจ ร่างก่อน เสนอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ลงนาม แต่ หลังจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม แล้ว จำเลย ที่ 3 ไม่ได้ รับ แจ้ง เกี่ยวกับ คำสั่ง ดังกล่าว เลยเห็นว่า จำเลย ที่ 3 เป็น หัวหน้า ฝ่ายบริหาร และ พัฒนา มี หน้าที่บังคับบัญชา ปกครอง และ ติดตาม การ ปฏิบัติงาน ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็นหัวหน้า หมวด การเงิน คำสั่ง แต่งตั้ง กรรมการ รักษา เงิน ตาม เอกสาร หมายจ. 27 จึง เป็น เรื่อง สำคัญ และ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 3 จะ ต้อง รับผิดชอบโดยตรง จำเลย ที่ 3 ก็ ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า มี การ เสนอ ให้ แต่งตั้งจำเลย ที่ 3 เป็น กรรมการ รักษา เงิน แต่ จำเลย ที่ 3 กลับ ปล่อยปละละเลยไม่ ติดตาม เรื่อง และ ไม่ ใส่ ใจ ที่ จะ รับทราบ และ นำ คำสั่ง ดังกล่าวมา ถือ ปฏิบัติ เมื่อ ความเสียหาย เกิดขึ้น เพราะ เหตุ ที่ กรรมการ รักษา เงินไม่ ตรวจสอบ หลักฐาน การ จ่ายเงิน และ เงินสด คงเหลือ ตาม คำสั่ง และระเบียบ ของ โจทก์ จำเลย ที่ 3 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 3ฎีกา ข้อ สุดท้าย ว่า ตาม เอกสาร หมาย จ. 140 หรือ ล. 5 ปรากฏว่าคณะกรรมการ สอบสวน หา ผู้รับผิด ทางแพ่ง ได้ สรุป ผล การ สอบสวน เสนอ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคาม เมื่อ วันที่ 11 กันยายน 2530โจทก์ ฟ้องคดี เมื่อ วันที่ 13 กันยายน 2531 จึง พ้น กำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ ผู้ต้อง เสียหาย รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ค่าเสียหาย ฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ นั้น ปรากฏว่า ตาม เอกสาร หมายจ. 140 หรือ ล. 5 นาย ไสว พราหมณี ผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคาม ใน ขณะ นั้น ลงนาม รับทราบ เรื่อง นี้ เมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2530ถือได้ว่า โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน ใน วัน ดังกล่าว อายุความ เริ่ม นับแต่ วันนั้น โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ใน วันที่ 13 กันยายน 2531 ยัง ไม่ พ้น กำหนด 1 ปี คดี โจทก์จึง ไม่ขาดอายุความ ฎีกา จำเลย ที่ 3 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นเดียวกัน ”
พิพากษายืน