คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

มติของลูกจ้างที่ให้กรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา48(5)ไม่จำต้องเป็นมติจากการประชุมเมื่อลูกจ้างของจำเลยเกินกึ่งหนึ่งลงชื่อในเอกสารปลดโจทก์ทั้งสองให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางตามมาตรา52 แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสองกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯแต่คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะโจทก์ที่1ขาดสมรรถภาพในการทำงานโจทก์ที่2กระทำความผิดซ้ำคำเตือนมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทแม้จะเป็นการตัดสิทธิโจทก์ทั้งสองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็เป็นไปโดยผลแห่งคดีหาทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบไม่

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง มี ใจความ ทำนอง เดียว กัน ว่า เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 และ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลย จ้าง โจทก์ที่ 1 และ ที่ 2 เข้า ทำงาน เป็น ลูกจ้าง ตำแหน่ง ช่าง ประกอบ และ ช่าง ไฟฟ้าตามลำดับ ครั้งสุดท้าย โจทก์ ที่ 1 ได้รับ ค่าจ้าง วัน ละ 190 บาทโจทก์ ที่ 2 ได้รับ ค่าจ้าง วัน ละ 195 บาท โจทก์ ทั้ง สอง เป็น กรรมการลูกจ้าง ต่อมา วันที่ 25 ธันวาคม 2536 จำเลย อ้าง มติ ของ พนักงานปลด โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก การ เป็น กรรมการ ลูกจ้าง ซึ่ง ความจริง ไม่ได้มี การ ประชุม และ ไม่ได้ เป็น มติ จาก ที่ ประชุม หาก แต่ เป็น การ ล่าลายเซ็นจาก พนักงาน อันเป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ จำเลย กระทำ ขึ้น เพื่อประสงค์ จะ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง โดย ไม่ต้อง ขอ อำนาจศาล ครั้น วันที่29 ธันวาคม 2536 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง โดย ที่ โจทก์ ทั้ง สองไม่มี ความผิด และ จำเลย ยัง มิได้ จ่าย ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือ ค่าชดเชยให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ทั้ง จำเลย ไม่ได้ ขออนุญาต เลิกจ้าง ต่อ ศาลขอให้ เพิกถอน คำสั่ง เลิกจ้าง ของ จำเลย ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2536และ หนังสือ ปลด กรรมการ ลูกจ้าง ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2536 และ 25ธันวาคม 2536 ให้ จำเลย รับ โจทก์ ทั้ง สอง กลับ เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่งหน้าที่ เดิม โดย จ่าย ค่าจ้าง แก่ โจทก์ ที่ 1 วัน ละ 190 บาท โจทก์ ที่ 2วัน ละ 195 บาท ตั้งแต่ วันที่ 29 ธันวาคม 2536 เป็นต้น ไป จนกว่าจะ รับ โจทก์ ทั้ง สอง กลับ เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่ง หน้าที่ เดิม หาก จำเลยไม่ยอม ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า เหตุ ที่ เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สองเนื่องจาก โจทก์ ที่ 1 มี อัตรา การ หยุดงาน ซึ่ง รวม วัน ลา ทุก ประเภท และวัน ขาดงาน สูง อัน มี ลักษณะ หย่อนสมรรถภาพ ใน การ ทำงาน จำเลย ตักเตือนแล้วแต่ โจทก์ ที่ 1 ยัง คง หยุดงาน มาก และ โจทก์ ที่ 1 มี สุขภาพ ไม่ดีไม่สามารถ ทำงาน ตรากตรำ ให้ จำเลย ได้ ส่วน โจทก์ ที่ 2 ได้ ละทิ้ง หน้าที่ใน วันที่ 13, 14, 16 และ 21 ธันวาคม 2536 โดย ไม่มี เหตุอันสมควรซึ่ง ก่อนหน้า นี้ จำเลย ได้ เคย ตักเตือน โจทก์ ที่ 2 เป็น หนังสือ แล้วการกระทำ ของ โจทก์ ที่ 2 เป็น การ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการ ทำงาน เป็น ความผิด ซ้ำ คำเตือน จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สองโดยชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ เป็น กรรมการ ลูกจ้าง ใน ขณะเลิกจ้าง เพราะ พนักงาน ของ จำเลย เกินกว่า กึ่งหนึ่ง มี มติ ให้ โจทก์ทั้ง สอง พ้น จาก ตำแหน่ง กรรมการ ลูกจ้าง ก่อน ครบ วาระ แล้ว นอกจาก นี้ที่ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น กรรมการ ลูกจ้าง โดย ได้รับ การ แต่งตั้ง เมื่อ วันที่17 มิถุนายน 2536 นั้น กรรมการ ลูกจ้าง ชุด ดังกล่าว ถูก แต่งตั้งขึ้น โดย อ้างว่า กรรมการ ลูกจ้าง ชุด เดิม พ้น จาก ตำแหน่ง เกิน กึ่งหนึ่งแต่ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า กรรมการ ลูกจ้าง ชุด เดิม มิได้ พ้น จาก ตำแหน่งเกิน กึ่งหนึ่ง แต่อย่างใด การ แต่งตั้ง โจทก์ ทั้ง สอง เป็น กรรมการ ลูกจ้างจึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง โดยชอบ ด้วยกฎหมาย จึง ไม่จำต้อง รับ โจทก์ ทั้ง สอง กลับ เข้า ทำงาน และ จ่าย ค่าจ้างให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ใน ข้อ แรก ว่า ตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48(5) ที่ บัญญัติให้ กรรมการ ลูกจ้าง พ้น จาก ตำแหน่ง เมื่อ ลูกจ้าง เกิน กึ่งหนึ่ง ของจำนวน ลูกจ้าง ทั้งหมด ใน สถาน ประกอบ กิจการ มี มติ ให้ พ้น จาก ตำแหน่ง นั้นคำ ว่า “มติ ” จะ ต้อง เป็น การแสดง ความ คิดเห็น ใน ที่ ประชุม ของ ลูกจ้างและ มี มติ จาก การ ประชุม การ ที่ ลูกจ้าง ของ จำเลย จำนวน 83 คน ใน จำนวนทั้งหมด 120 คน ลงชื่อ ใน เอกสาร หมาย ล. 13 ปลด โจทก์ ทั้ง สอง กับ คณะให้ พ้น จาก ตำแหน่ง กรรมการ ลูกจ้าง ถือไม่ได้ว่า มี มติ ตาม บทบัญญัติดังกล่าว จึง เป็น การ ไม่ชอบ โจทก์ ทั้ง สอง ยัง เป็น กรรมการ ลูกจ้าง อยู่จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก ศาลแรงงานกลางเป็น การ ไม่ชอบ เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 48 บัญญัติ ว่า “นอกจาก พ้น จาก ตำแหน่ง ตาม วาระ กรรมการ ลูกจ้างพ้น จาก ตำแหน่ง เมื่อ (5) ลูกจ้าง เกิน กึ่งหนึ่ง ของ จำนวน ลูกจ้างทั้งหมด ใน สถาน ประกอบ กิจการ นั้น มี มติ ให้ พ้น จาก ตำแหน่ง ฯลฯ “มิได้ บัญญัติ ว่า มติ นั้น ต้อง เป็น มติ จาก การ ประชุม หรือ ที่ ประชุมแต่อย่างใด ทั้ง ตาม พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ก็ ได้ ให้ ความหมาย ของ คำ ว่า “มติ ” ไว้ ว่า หมายถึง ความ คิด ความเห็นความรู้ ดังนี้ จึง จะ แปล ความ คำ ว่า “มติ ” ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ว่าต้อง เป็น มติ จาก การ ประชุม หรือ ที่ ประชุม หาได้ไม่ การ ที่ ลูกจ้าง ของจำเลย เกิน กึ่งหนึ่ง ลงชื่อ ใน เอกสาร หมาย ล. 13 ปลด โจทก์ ทั้ง สอง กับ คณะให้ พ้น จาก ตำแหน่ง กรรมการ ลูกจ้าง จึง ถือได้ว่า เป็น การ มี มติ ตามบทบัญญัติ ดังกล่าว โจทก์ ทั้ง สอง พ้น จาก ตำแหน่ง กรรมการ ลูกจ้าง แล้วจำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง ได้ โดย ไม่ต้อง ได้รับ อนุญาต จากศาลแรงงานกลาง ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 52 อุทธรณ์ ข้อ นี้ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ ใน ข้อ ต่อไป ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง เรียกร้องสิทธิ ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48 และมาตรา 52 มิได้ ฟ้อง เรียกร้อง สิทธิ ตาม กฎหมาย คุ้มครองแรงงาน เรื่องเลิกจ้าง ที่ ไม่เป็นธรรม หาก ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า โจทก์ ทั้ง สองไม่ได้ เป็น กรรมการ ลูกจ้าง สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ใน เรื่อง ค่าชดเชย ก็ ได้รับ ความคุ้มครอง เช่น เดิมการ ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สองเพราะ โจทก์ ที่ 1 ขาด สมรรถภาพ ใน การ ทำงาน โจทก์ ที่ 2 กระทำ ความผิดซ้ำ คำเตือน ถือไม่ได้ว่า เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่เป็นธรรม เป็น การตัด สิทธิ ประโยชน์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม กฎหมาย คุ้มครองแรงงานและ เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น ที่ กำหนด ไว้ เห็นว่า โจทก์ ทั้ง สองฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง โดย ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มีความผิด และ ยัง มิได้ จ่าย ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือ ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์ทั้ง สอง จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง เนื่องจากโจทก์ ที่ 1 หยุดงาน มาก อัน มี ลักษณะ หย่อนสมรรถภาพ ใน การ ทำงาน และมี สุขภาพ ไม่ดี ส่วน โจทก์ ที่ 2 ละทิ้ง หน้าที่ ซึ่ง จำเลย เคย ตักเตือนเป็น หนังสือ แล้ว โจทก์ ที่ 2 กระทำการ ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน เป็น ความผิด ซ้ำ คำเตือน ดังนี้ ที่ ศาลแรงงานกลางกำหนด ประเด็น ใน ข้อ 2 ว่า โจทก์ ที่ 1 มี อัตรา การ หยุดงาน ซึ่ง รวมวัน ลา ทุก ประเภท และ วัน ขาดงาน เป็น จำนวน สูง อัน มี ลักษณะ หย่อนสมรรถภาพใน การ ทำงาน หรือไม่ ข้อ 3 ว่า โจทก์ ที่ 2 ฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือ คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลย และ จำเลยได้ เตือน เป็น หนังสือ แล้ว หรือไม่ และ ข้อ 4 ว่า การ ที่ จำเลย เลิกจ้างโจทก์ ทั้ง สอง เป็น การ เลิกจ้าง ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ จึง เป็น การกำหนด ประเด็น ตาม คำฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง และ คำให้การ จำเลย โจทก์ ทั้ง สองมิได้ โต้แย้ง คัดค้าน การ กำหนด ประเด็น ดังกล่าว แต่อย่างใด ที่ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง เพราะ โจทก์ที่ 1 ขาด สมรรถภาพ ใน การ ทำงาน โจทก์ ที่ 2 กระทำ ความผิด ซ้ำ คำเตือนการ เลิกจ้าง ดังกล่าว มิใช่ เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่เป็นธรรม แก่ ลูกจ้างก็ เป็น การ วินิจฉัย ตาม ประเด็น ที่ กำหนด ไว้ หา เป็น การ วินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ เมื่อ เป็น ดังนี้ แม้ การ วินิจฉัย คดี ใน ลักษณะ ดังกล่าวจะ เป็น การ ตัด สิทธิ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม กฎหมาย คุ้มครองแรงงานก็ เป็น ไป โดย ผล แห่ง คดี อุทธรณ์ ข้อ นี้ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share