แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทั้งไม่เคยรู้จักจำเลยทั้งสองมาก่อนไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะแกล้งปรักปรำจำเลยทั้งสองน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามความจริงฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2535 เวลา กลางวัน จำเลยทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน มี เฮโรอีน อันเป็น ยาเสพติดให้โทษ ชนิด ร้ายแรง ในประเภท 1 จำนวน 2 หลอด มี ปริมาณ คำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ หนัก1.36 กรัม ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต และจำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน จำหน่าย เฮโรอีน จำนวน 1 หลอด คำนวณ เป็นสาร บริสุทธิ์ หนัก 0.54 กรัม อันเป็น ส่วน หนึ่ง ของ เฮโรอีน ที่ จำเลยทั้ง สอง มีไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ จำหน่าย ดังกล่าว ให้ แก่ สาย ลับ ผู้ทำการล่อ ซื้อ เป็น เงิน 250 บาท โดย ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย เหตุ ทั้งหมด เกิด ที่ตำบล สามเมือง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ตาม วัน เวลา ดังกล่าว เจ้าพนักงาน จับ จำเลย ทั้ง สอง ได้ พร้อม เฮโรอีนที่ จำเลย ทั้ง สอง มีไว้ เพื่อ จำหน่าย และ จำหน่าย กับ ธนบัตร จำนวน 250 บาทเป็น ของกลาง ก่อน คดี นี้ ใน ขณะที่ จำเลย ที่ 1 มี อายุ เกิน 17 ปี เคย กระทำความผิด และ ต้อง คำพิพากษาถึงที่สุด ให้ ลงโทษ จำคุก มี กำหนด 10 ปี ฐานฆ่า ผู้อื่น ตาม คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 7415/2527 ของ ศาลอาญา และภายใน เวลา 5 ปี นับแต่ วัน พ้นโทษ จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ ความผิด คดี นี้อีก ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7, 8, 15, 66, 67 พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2528 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 92พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2526 มาตรา 4 เพิ่มโทษ จำเลย ที่ 1 ตาม กฎหมาย และ คืน ธนบัตรจำนวน 250 บาท แก่ เจ้าของ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ แต่ จำเลย ที่ 1 รับ ว่า เคย ต้องโทษและ พ้นโทษ จริง ตาม ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7(1), 8, 15,66 วรรคแรก อันเป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน เรียง กระทง ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน มี เฮโรอีน ไว้ ใน ครอบครองเพื่อ จำหน่าย จำคุก คน ละ 5 ปี ฐาน จำหน่าย เฮโรอีน จำคุก คน ละ 5 ปีเพิ่มโทษ จำเลย ที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หนึ่ง ใน สามรวมเป็น ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ มี กำหนด 13 ปี 4 เดือน จำคุก จำเลยที่ 2 มี กำหนด 10 ปี คืน ธนบัตร ของกลาง จำนวน 250 บาท แก่ เจ้าของ
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ได้ความ ใน เบื้องต้น ว่า ตาม วันเวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น สามี ภรรยา กันถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับกุม ใน ข้อหา ตาม ฟ้อง ชั้นสอบสวน จำเลย ทั้ง สองให้การ ปฏิเสธ พนักงานสอบสวน ได้ ส่ง วัตถุ ที่ อ้างว่า ได้ จาก จำเลย ที่ 1ไป ตรวจ พิสูจน์ ผล การ ตรวจ พิสูจน์ ปรากฏว่า เป็น ยาเสพติดให้โทษชนิด เฮโรอีน น้ำหนัก 1.36 กรัม ปรากฏ ตาม รายงาน ผล การ ตรวจ พิสูจน์เอกสาร หมาย จ. 1
พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ ความผิด ตาม ฟ้องโจทก์ หรือไม่ โจทก์ มีสิบตำรวจเอก บรรเทา จารเขียน เบิกความ ว่า เมื่อ เดือน มกราคม 2535 ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ที่ 2 ตำบล สามเมือง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้ ชี้ บ้าน ที่เกิดเหตุ แก่ พยาน และ บอก ว่ามี การ ขาย เฮโรอีน ที่ บ้าน ดังกล่าว ต่อมา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2535เวลา ประมาณ 17 นาฬิกา พยาน ได้รับ คำสั่ง จาก พัน ตำรวจ ตรี บัญชา ปั้นประดับ ให้ ไป ทำการ ล่อ ซื้อ เฮโรอีน ที่ บ้าน ดังกล่าว พยาน นำ เงิน จำนวน 250 บาท ซึ่ง ได้ บันทึก หมายเลข ธนบัตร ไว้ ใน รายงาน ประจำวันเกี่ยวกับ คดี ตาม เอกสาร หมาย ปจ. 1 ของ ศาลจังหวัด แพร่ เพื่อ ไป ใช้ล่อ ซื้อ จาก นั้น พยาน พร้อม ด้วย ร้อยตำรวจเอก ขจรพล ค้ำชู และ เจ้าพนักงาน ตำรวจ อื่น อีก 3 คน ไป ยัง บ้าน ที่เกิดเหตุ โดย พยานซึ่ง แต่งกาย นอก เครื่องแบบ เป็น ผู้ เข้า ไป ล่อ ซื้อ ใน บ้าน ส่วนร้อยตำรวจเอก ขจรพล รอ อยู่ นอกบ้าน เจ้าพนักงาน ตำรวจ ที่ เหลือ อีก 3 คน ซุ่ม อยู่ ด้านหลัง บ้าน พยาน เข้า ไป ใน บ้าน ขณะ จำเลย ทั้ง สองอยู่ หลังบ้าน พยาน บอก จำเลย ทั้ง สอง ว่า มา ซื้อ ของ และ ยื่น ธนบัตร ที่เตรียม มา จำนวน 250 บาท จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้รับเงิน ไว้ ส่วน จำเลยที่ 1 ไป เอา เฮโรอีน จาก บริเวณ หลัง เล้าไก่ ซึ่ง อยู่ ใน บริเวณ บ้านมอบ ให้ พยาน 1 หลอด พยาน รับ ไว้ และ ถอด หมวก ออก เป็น การ ให้ สัญญาณให้ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ที่ ซุ่ม อยู่ เข้า ทำการ จับกุม จำเลย ทั้ง สอง ได้ทำการ ตรวจค้น จำเลย ที่ 1 พบ เฮโรอีน อีก 1 หลอด และ ยึด ธนบัตรที่ ใช้ ล่อ ซื้อ ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 2 ชั้น จับกุม จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพ แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ลงลายมือชื่อ ใน บันทึก การ จับกุมปรากฏ ตาม บันทึก การ จับกุม ตรวจค้น เอกสาร หมาย ปจ. 3 ของ ศาลจังหวัด แพร่นอกจาก คำเบิกความ ของ สิบตำรวจเอก บรรเทา แล้ว โจทก์ ยัง มี ร้อยตำรวจเอก ขจรพล ซึ่ง ร่วม จับกุม จำเลย ทั้ง สอง เบิกความ สนับสนุน คำเบิกความ ของ สิบตำรวจเอก บรรเทา ดังกล่าว เห็นว่า พยานโจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทั้ง สอง ปาก ดังกล่าว เป็น เจ้าพนักงาน ปฏิบัติราชการ ตาม หน้าที่ ทั้ง ไม่เคย รู้ จัก จำเลย ทั้ง สอง มา ก่อน ไม่มี เหตุระแวง สงสัย ว่า จะ แกล้ง ปรักปรำ จำเลย ทั้ง สอง น่าเชื่อ ว่า พยานโจทก์ทั้ง สอง ปาก เบิกความ ไป ตาม ความจริง จึง ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำความผิด ตาม ฟ้องโจทก์ ดัง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ที่ จำเลย ที่ 1นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ กระทำ ความผิด ตาม ฟ้องโจทก์ วันเกิดเหตุจำเลย ทั้ง สอง ไป หา นาง วรรณี และ ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ แกล้ง จับกุม และ ถูก ปรักปรำ เป็น คดี นี้ ไม่อาจ หักล้าง พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้แม้ จำเลย ที่ 1 จะ มี ชื่อ อยู่ ตาม ทะเบียนบ้าน ซึ่ง อยู่ ใน เขตกรุงเทพมหานคร ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ก็ ตาม ก็ ไม่ใช่ เป็น ข้อ ที่ แสดงว่า จำเลย ที่ 1 ไม่อาจ กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง ได้ และ ที่ จำเลย ที่ 1กล่าวอ้าง มา ใน ฎีกา ว่า เหตุ เกิด ที่ หมู่ ที่ 1 เหตุใด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ที่ 2 เป็น ผู้แจ้ง เจ้าพนักงาน ตำรวจ ร้อยตำรวจเอก ขจรพล เบิกความ ถึง ตอน เห็น จำเลย ทั้ง สอง ว่า อยู่ ใต้ ต้นมะม่วง ส่วน สิบตำรวจเอก บรรเทา เบิกความ ว่า จำเลย ทั้ง สอง อยู่ หลังบ้าน และ เหตุใด เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไม่ทำ บันทึก การ จับกุม จำเลย เสีย ใน ที่เกิดเหตุ ทั้ง เอกสาร หมายปจ. 1 กับ เอกสาร หมาย ปจ. 5 ทำ ขึ้น ใน ช่วง ระยะเวลา ห่าง กันหนึ่ง ชั่วโมง ครึ่ง ซึ่ง ไม่มี ความ สัมพันธ์ กับ ระยะ ทาง ระหว่างสถานีตำรวจภูธร อำเภอ ลาดบัวหลวง กับ ที่เกิดเหตุ ซึ่ง อยู่ ห่าง กัน ประมาณ 60 กิโลเมตร เห็นว่า การ ที่ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ที่ 2 เป็น ผู้แจ้ง ว่า มี การ ลักลอบ จำหน่าย เฮโรอีน ที่ บ้าน ที่เกิดเหตุ ซึ่ง อยู่ ใน หมู่ที่ 1 ก็ ดี การ ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทำ บันทึก การ จับกุม จำเลย ทั้ง สองที่ สถานีตำรวจ ก็ ดี ไม่ใช่ เป็น เรื่อง แปลก แต่อย่างใด และ ที่ร้อยตำรวจเอก ขจรพล เบิกความ ถึง ตอน เห็น จำเลย ทั้ง สอง ว่า อยู่ ใต้ ต้นมะม่วง ใน บริเวณ บ้าน และ สิบตำรวจเอก บรรเทา เบิกความ ว่า จำเลย อยู่ หลังบ้าน เห็นว่า โดย ใจความ แล้ว พยาน ทั้ง สอง ต่าง เบิกความว่า เห็น จำเลย ทั้ง สอง อยู่ ใน บริเวณ บ้าน ที่เกิดเหตุ นั้นเอง เป็น แต่สิบตำรวจเอก บรรเทา ไม่ได้ กล่าว ถึง ต้นมะม่วง เท่านั้น ซึ่ง ไม่ได้ หมายความ ว่า ไม่ได้ อยู่ ใต้ ต้นมะม่วง จึง ถือไม่ได้ว่า พยาน ทั้ง สองปาก ดังกล่าว เบิกความ แตกต่าง กัน ใน สถานที่ ที่ พบ จำเลย ทั้ง สอง ก่อน ทำการล่อ ซื้อ สำหรับ ปัญหา เรื่อง ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ช่วง เวลา ที่เจ้าพนักงาน ตำรวจ ทำ บันทึก หมายเลข ธนบัตร ที่ ใช้ ล่อ ซื้อ และ บันทึก การรับมอบ ตัว จำเลย ทั้ง สอง ภายหลัง ที่ จับกุม จำเลย ทั้ง สอง แล้ว ตามรายงาน ประจำวัน เกี่ยวกับ คดี เอกสาร หมาย ปจ. 1 และ ปจ. 5 กับ ระยะทาง ระหว่าง สถานีตำรวจภูธร อำเภอ ลาด บัว หลวง กับ ที่เกิดเหตุข้อเท็จจริง ใน ทางพิจารณา ไม่ปรากฏ ว่า สถานีตำรวจภูธร อำเภอ ลาด บัว หลวงกับ ที่เกิดเหตุ อยู่ ห่าง กัน เท่าใด บันทึก ทั้ง สอง ฉบับ ทำ ขึ้น ใน ระยะเวลาที่ ห่าง กัน ประมาณ หนึ่ง ชั่วโมง ครึ่ง ไม่ใช่ เป็น เรื่อง ที่ ผิดปกติ วิสัยแต่อย่างใด ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน