คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ข้ออ้างของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่1ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องนั้นมิได้บรรยายว่าจำเลยที่1ได้ประทุษร้ายต่อโจทก์ทั้งสอง เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือจำเลยที่1ได้ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรงหรือจำเลยที่1ได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ทั้งสองในเวลาที่โจทก์ทั้งสองยากไร้และจำเลยที่1ยังสามารถจะให้ได้แต่อย่างใดแม้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ขับไล่โจทก์ทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่1ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ก็มิได้บรรยายมาด้วยว่าจำเลยที่1ขับไล่โจทก์ทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทด้วยการกระทำหรือด้วยวาจาอย่างใดอันจะฟังได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่1ได้ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองอย่างร้ายแรงดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีเหตุที่จะถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งสองอันจะทำให้โจทก์ทั้งสองเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531แต่อย่างใดโจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่1ได้และเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่อาจเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที1แล้วโจทก์ทั้งสองก็ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2และนิติกรรมการขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่2กับที่3และที่4ได้ด้วย ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะขอให้บังคับจำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองได้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่1จะมิได้ฎีกาหากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น บุตร และ จำเลย ที่ 2 เป็น บุตรสะใภ้ของ โจทก์ ทั้ง สอง เมื่อ ปี 2521 โจทก์ ทั้ง สอง ซื้อ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 3160 ด้วย เจตนา ยกให้ จำเลย ที่ 1 โดยเสน่หา เพื่อ จะ ให้จำเลย ที่ 1 มี ที่ดิน ไว้ ทำกิน และ หา เลี้ยง โจทก์ ทั้ง สอง ยาม ชราเมื่อ มี ความจำเป็น มี ฐานะ ยากจน ไม่สามารถ ช่วยเหลือ ตนเอง โดย ลงชื่อโจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม กัน ใน วัน ดังกล่าวเพราะ โจทก์ ทั้ง สอง มี เจตนา ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 1ครึ่ง หนึ่ง ก่อน ต่อมา วันที่ 30 พฤษภาคม 2528 โจทก์ ทั้ง สอง จดทะเบียนยก ที่ดิน ที่ เหลือ อีก ครึ่ง หนึ่ง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 แต่ โจทก์ ทั้ง สองยัง คง เก็บรักษา โฉนด ที่ดิน ไว้ และ เป็น ผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ โดย การปลูก ส้ม โอและ ต้น พลูใน ที่ดิน ดังกล่าว ทั้ง แปลง โดย จำเลย ที่ 1ไม่เคย ช่วยเหลือ โจทก์ ทั้ง สอง ทำกิน เลย โจทก์ ทั้ง สอง เรียก ที่ดินคืน จาก จำเลย ที่ 1 เนื่องจาก จำเลย ที่ 1 ไม่ ช่วย โจทก์ ทั้ง สอง ทำกินแต่ จำเลย ที่ 1 หลบหนี หน้า ไป ต่อมา จำเลย ทั้ง สี่ รู้ อยู่ แล้ว ว่าโจทก์ ทั้ง สอง กำลัง เรียก ที่ดิน ดังกล่าว คืน จาก จำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง สี่ได้ ร่วมกัน ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง สอง โอน ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 3และ ที่ 4 โดย จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ให้ จำเลย ที่ 1 ไป แจ้ง เจ้าพนักงานให้ ออก ใบแทน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 เมื่อ ต้น ปี 2532เจ้าพนักงาน หลงเชื่อ ออก ใบแทน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ให้ หลังจาก นั้นจำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ให้ จำเลย ที่ 1 โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าวให้ จำเลย ที่ 2 โดยเสน่หา เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2532 โดย จำเลยทั้ง สี่ รู้ อยู่ แล้ว ว่าการ กระทำ ดังกล่าว เป็น การ ไม่สุจริต เป็น ทางทำให้ โจทก์ เสียเปรียบ และ ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง สอง และ ต่อมา วันที่11 สิงหาคม 2532 จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ให้ จำเลย ที่ 2 โอน ขาย ที่ดินดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ใน ราคา ต่ำกว่า ราคา จริง มาก เพียง200,000 บาท ด้วย เจตนา ร่วมกัน ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง สอง ซึ่ง ราคาซื้อ ขาย ทั่วไป ขณะ นั้น ขาย ได้ ใน ราคา ไม่ ต่ำกว่า 4,350,000 บาทจำเลย ทั้ง สี่ รู้ อยู่ แล้ว ว่าการ ทำนิติกรรม โอน ขาย ที่ดิน ดังกล่าวเป็น การ ไม่สุจริต ต่อมา จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ให้ จำเลย ที่ 1 ขับไล่โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดิน ดังกล่าว จำเลย ที่ 1 ประพฤติ เนรคุณต่อ โจทก์ ทั้ง สอง ทั้ง จำเลย ที่ 1 ยัง ร่วม กับ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4ฉ้อฉล โจทก์ ทั้ง สอง และ ขับไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษา ว่า ใบแทน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 3160 เป็น โมฆะ และ เพิกถอน นิติกรรมการ จดทะเบียน ยกให้ ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 กับ นิติกรรมการ จดทะเบียน ขาย ระหว่าง จำเลย ที่ 2 กับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4ใน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 3160 ให้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน โอน ที่ดิน ดังกล่าวให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 และ ห้าม จำเลย ทั้ง สี่ และ บริวารเกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน ดังกล่าว อีก ต่อไป
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 2 ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ ไม่ใช่เจ้าของ ที่ดินพิพาท และ ไม่เคย ยก ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 ฟ้อง ของ โจทก์ทั้ง สอง เป็น ฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ ที่ 1 ไม่ใช่ คน ยากจน ไม่สามารถเลี้ยงดู ตนเอง ได้ เพราะ ยัง มี ที่ดิน เป็น ของ ตนเอง และ ที่ดิน ที่ มีชื่อ ร่วม กับ โจทก์ ที่ 2 ทำกิน อยู่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่เคย ตกลงกับ โจทก์ ทั้ง สอง เรื่อง ค่า เลี้ยงดู โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี เหตุ ที่ จะ เรียกถอน คืน การ ให้ ได้ จำเลย ที่ 1 ยก ที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ที่ 2 โดยสุจริตเพื่อ เป็น ทุน เลี้ยงดู บุตร และ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 1 ทำ โฉนด ที่ดินหาย จึง ต้อง ขอ ออก ใบแทน จำเลย ที่ 2 ขาย ที่ดิน ให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4โดยสุจริต และ ได้รับ ความ ยินยอม จาก จำเลย ที่ 1 แล้ว จำเลย ที่ 2ขาย ที่ดิน ไป ใน ราคา 1,000,000 บาท เศษ แต่ แจ้ง ว่า ขาย เพียง 200,000 บาทเพราะ ผู้ซื้อ เป็น ผู้ ออก ค่าธรรมเนียม จำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ให้การ ว่า ใบแทน โฉนด ที่ดิน ได้ ออก โดยชอบด้วย กฎหมาย เป็น เอกสารสิทธิ ที่ สมบูรณ์ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ได้รับ โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว จาก จำเลย ที่ 2 โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนไม่เคย ร่วม ฉ้อฉล กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี อำนาจฟ้องเรียก ที่ดิน คืน เนื่องจาก ตาม คำบรรยายฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง สอง นั้นจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ประพฤติ เนรคุณ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ใบแทน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 3160ซึ่ง เจ้าพนักงาน ออก ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของจำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 เป็น โมฆะ ให้ เพิกถอน นิติกรรม การ จดทะเบียนยกให้ ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 กับ นิติกรรม การ จดทะเบียน ขายระหว่าง จำเลย ที่ 2 กับ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 เสีย กับ ให้ จำเลย ที่ 1ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ดังกล่าว คืน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ทันที โดย ให้โจทก์ ทั้ง สอง มี กรรมสิทธิ์ หาก จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 1 ห้าม จำเลย ทั้ง สี่และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน ดังกล่าว ต่อไป
จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ฎีกา โดย จำเลย ที่ 2 ได้รับ อนุญาตให้ ฎีกา อย่าง คนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 1 ประพฤติ เนรคุณต่อ โจทก์ ทั้ง สอง อัน จะ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ถอน คืน การ ให้ที่ดินพิพาท ได้ หรือไม่ นั้น เห็นว่า ข้ออ้าง ของ โจทก์ ที่ อ้างว่าจำเลย ที่ 1 ประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม ที่ โจทก์ บรรยาย มาใน คำฟ้อง นั้น ไม่ ปรากฎ ว่า โจทก์ ได้ บรรยาย ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ประทุษร้ายต่อ โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ความผิด อาญา อย่างร้ายแรง ตาม ประมวลกฎหมายอาญาหรือ จำเลย ที่ 1 ได้ ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง เสียชื่อเสียง หรือ หมิ่นประมาทโจทก์ ทั้ง สอง อย่างร้ายแรง หรือ จำเลย ที่ 1 ได้ บอกปัด ไม่ยอม ให้สิ่งของ จำเป็น เลี้ยง ชีวิต แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ใน เวลา ที่ โจทก์ ทั้ง สองยากไร้ และ จำเลย ที่ 1 ยัง สามารถ จะ ให้ ได้ แต่อย่างใด แม้ โจทก์ได้ บรรยายฟ้อง มา ว่า จำเลย ที่ 1 ขับไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินพิพาทจำเลย ที่ 1 ประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง แต่ โจทก์ มิได้ บรรยายมา ด้วย ว่า จำเลย ที่ 1 ขับไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินพิพาทด้วย การกระทำ หรือ ด้วย วาจา อย่างใด อัน จะ ฟังได้ ว่า เป็น การ ที่ จำเลย ที่ 1ได้ ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง เสียชื่อเสียง หรือ หมิ่นประมาท โจทก์ ทั้ง สองอย่างร้ายแรง ดังนั้น แม้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ก็ ไม่มี เหตุ ที่ จะ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ทั้ง สอง อัน จะ ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง เรียก ที่ดินพิพาท คืน จาก จำเลย ที่ 1ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่อย่างใดโจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่อาจ เรียก ที่ดินพิพาท คืน จาก จำเลย ที่ 1 ได้และ เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่อาจ เรียก ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 แล้วโจทก์ ทั้ง สอง ก็ ย่อม ไม่มี สิทธิ ขอให้ เพิกถอน การ ให้ ที่ดินพิพาทระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 และ นิติกรรม การ ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลย ที่ 2 กับ ที่ 3 และ ที่ 4 ได้ ด้วย
อนึ่ง ปัญหา ว่า โจทก์ ทั้ง สอง จะ ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาท คืน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ หรือไม่ เป็น ปัญหา เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง อันเป็น ข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนแม้ จำเลย ที่ 1 มิได้ ฎีกา ศาลฎีกา ก็ เห็นสมควร ยก ปัญหา ดังกล่าวขึ้น วินิจฉัย ซึ่ง ข้อ นี้ ได้ วินิจฉัย ไว้ แล้ว ว่า แม้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ตาม ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ก็ ไม่มี เหตุ ที่ จะ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1ได้ ประพฤติ เนรคุณ ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง อัน จะ ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง เรียกที่ดินพิพาท คืน จาก จำเลย ที่ 1 ได้ โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท คืน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง

Share