คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยที่1เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ไปใช้โดยให้ช.ลูกจ้างของตนเป็นคนขับและห้างหุ้นส่วนจำกัดน.นำรถยนต์ดังกล่าวไปประกันภัยไว้กับจำเลยที่2กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า’บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายและบริษัทจะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง’ดังนี้การที่ช.ขับรถไปทำละเมิดต่อโจทก์ต้องถือว่าช.ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ผู้เอาประกันภัยมีฐานะเสมือนผู้เอาประกันภัยเองจำเลยที่2จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของ และ ผู้ ครอบครอง รถยนต์บรรทุก 10 ล้อ หมายเลข ทะเบียน น.ว.10513 มี นาย เทพ ลูกจ้าง เป็น คนขับ โจทก์ ที่ 2 เป็น นิติบุคคล ได้ รับ ประกันภัย รถยนต์ คัน ดังกล่าวของ โจทก์ ที่ 1 โจทก์ ที่ 3 เป็น มารดา ของ นาย เทพ จำเลย ที่ 1 เป็นเจ้าของ ผู้ ครอบครอง รถยนต์ บรรทุก 10 ล้อ หมายเลข ทะเบียน ก.จ.06078มี นาย ชัยทรัพย์ ลูกจ้าง เป็น คน ขับ จำเลย ที่ 2 เป็น นิติบุคคลได้ รับ ประกันภัย รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 3 เป็น เจ้าของผู้ ครอบครอง รถยนต์ บรรทุก 10 ล้อ หมายเลข ทะเบียน น.ว.11755 มีนาย กว้าง เป็น คน ขับ จำเลย ที่ 4 เป็น นิติบุคคล ได้ รับ ประกันภัยรถยนต์ ของ จำเลย ที่ 3 เมื่อ วันที่ 12 มิถุนายน 2520 นาย ชัยทรัพย์ลูกจ้าง ได้ ขับรถ ใน ทาง การ ที่ จ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ไป ตาม ถนนสายเอเซีย จาก กรุงเทพมหานคร ไป จังหวัด นครสวรรค์ เมื่อ ไป ถึง หลักกิโลเมตร ที่ 175 – 176 อำเภอ สรรพยา จังหวัด ชัยนาท ได้ มี รถยนต์ ของจำเลย ที่ 3 โดย นาย กว้าง เป็น คนขับ แล่น สวน ทาง มา และ ด้วย ความประมาท ของ คนขับ รถ ทั้ง สอง คัน เป็น เหตุ ให้ รถ ทั้ง สอง คัน ล้ำเส้น แบ่ง กลางถนน และ ชนกัน อย่างแรง รถ ของ จำเลย ที่ 3 ส่าย ไป มาและ กระสอบ ข้าวสาร ที่ รถ ของ จำเลย ที่ 3 บรรทุก อยู่ กระเด็น ไปถูก หน้า รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ ขับ ตาม รถ จำเลย ที่ 1 และ เป็นเหตุ ให้ รถ ของ โจทก์ ที่ 1 เสีย หลัก ตก ถนน พลิก คว่ำ โจทก์ ที่ 1ได้ รับ ความ เสียหาย จาก สินค้า ที่ บรรทุก และ สิ่งของ ค่า ขาดประโยชน์ และ ค่า รถเสื่อม ราคา เป็น เงิน 77,455 บาท โจทก์ ที่ 2ซ่อม รถ โจทก์ ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย เสีย ค่าซ่อม และ ค่า ลากรถเป็น เงิน 53,989 บาท โจทก์ ที่ 3 ซึ่ง เป็น มารดา ได้ จัดการ ศพ และเสียหาย จาก การ ขาดไร้ อุปการะ เป็น เงิน 58,000 บาท ซึ่ง จำเลย ทั้งสี่ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชอบ ขอ ให้ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันชำระ ค่าเสียหาย ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า เหตุ คดี นี้ มิได้ เกิดจาก ความ ประมาท ของคนขับ รถ ของ จำเลย ที่ 1 หาก แต่ เกิดจาก ความ ประมาท ของ คนขับ รถจำเลย ที่ 3 ที่ ขับ ล้ำ เส้น แบ่ง กลางถนน มา ชน รถ จำเลย ที่ 1ค่าเสียหาย ไม่ เท่า ที่ โจทก์ ฟ้อง ฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุม
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 รับ ประกันภัย รถยนต์ จำเลย ที่1 ไว้ จริง แต่ จำเลย ที่ 2 ไม่ ต้อง รับผิด เพราะ เหตุ คดี นี้ มิได้เกิดจาก ความ ประมาท ของ คน ขับรถ จำเลย ที่ 1 หาก แต่ เกิดจาก ความประมาท ของ คน ขับรถ ของ จำเลย ที่ 3 ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย จำเลย ที่2 ต้อง รับผิด แทน ผู้เอา ประกัน แต่ โจทก์ มิได้ ฟ้อง ผู้เอา ประกันภัย จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ค่าเสียหาย สูง เกินไป ฟ้อง โจทก์เคลือบคลุม
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า เหตุ รถชน กัน เกิดจาก ความ ประมาท ของ คนขับรถ จำเลย ที่ 1 และ คนขับ รถ ของ โจทก์ ที่ 1 นาย เทพ ไม่ ใช่ บุตรของ โจทก์ ที่ 3 ค่าเสียหาย สูง เกินไป ฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุม
จำเลย ที่ 4 ให้การ ว่า ได้ รับ ประกันภัย รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 3จริง แต่ เหตุ รถชน กัน เกิดจาก ความ ประมาท ของ คนขับ รถ จำเลย ที่ 1และ คนขับ รถ โจทก์ ที่ 1 มิใช่ เกิดจาก ความ ประมาท ของ คนขับ รถ ของจำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 4 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ค่าเสียหาย สูง เกินไปฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุม
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 54,455 บาท แก่ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 44,100บาท แก่ โจทก์ ที่ 3 เป็น เงิน 58,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ทั้ง สาม ยกฟ้อง จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 2 จะ ต้องร่วม รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สาม หรือไม่ นั้น เมื่อข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ รับ ประกันภัย รถยนต์ ของจำเลย ที่ 1 และ รถ ดังกล่าว เกิดเหตุ ใน ระหว่าง อายุ สัญญา ประกันภัยและ คน ขับรถ จำเลย ที่ 1 เป็น ฝ่าย ประมาท และ ทำ ละเมิด ตาม ฟ้อง แม้ห้างหุ้นส่วน จำกัด นครปฐม ยนตรกาญจน์ จะ เป็น ผู้เอา ประกันภัย ไว้กับ จำเลย ที่ 2 และ มี ข้อสัญญา ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย ข้อ 2.3 ว่าบริษัท จะ ใช้ ค่าสินไหม ทดแทน ในนาม ของ ผู้เอา ประกันภัย เมื่อผู้เอา ประกันภัย ต้อง รับผิด ตาม กฎหมาย แต่ ตาม กรมธรรม์ ประกันภัยดังกล่าว ข้อ 2.7 มี ข้อความ ว่า บริษัท จะ ถือ บุคคล ใด ซึ่ง ขับขี่รถยนต์ โดย ได้ รับ ความ ยินยอม จาก ผู้เอา ประกันภัย เสมือน หนึ่งเป็น ผู้เอา ประกันภัย เอง ซึ่ง กรณี นี้ เป็น ผู้ เช่าซื้อ รถยนต์ คันดังกล่าว และ นำ รถยนต์ คัน นั้น ไป ใช้ โดย ให้ นาย ชัยทรัพย์ ลูกจ้างของ ตน เป็น คนขับ แล้ว เกิดเหตุ คดี นี้ จึง ต้อง ถือ ว่า นายชัยทรัพย์ ขับรถ โดย ได้ รับ ความ ยินยอม จาก ห้างหุ้นส่วน จำกัดนครปฐมยนตรกาญจน์ และ มี ฐานะ เสมือน ผู้เอา ประกันภัย เอง ตาม ข้อ2.7 เมื่อ นาย ชัยทรัพย์ ขับรถ โดย ประมาท ทำ ละเมิด จน เกิด ความเสียหาย ขึ้น ก็ ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์ ทั้ง สามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 เพียง แต่ ไม่ ได้ ถูก ฟ้องมา ด้วย เท่านั้น ส่วน จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ใน ฐานะ นายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 และ จำเลย ที่ 2 ก็ ต้อง รับผิดใน ฐานะ ผู้รับ ประกันภัย ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย ดัง วินิจฉัย มา แล้ว
พิพากษา ยืน

Share