คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เลี่ยมกรอบพระเครื่องให้4องค์แต่ไม่ไปรับพระเครื่องที่โจทก์เลี่ยมกรอบเสร็จแล้วคืนโจทก์จึงขายพระเครื่องไปเช่นนี้การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ฐานยักยอกทรัพย์โดยไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งกล่าวหาย่อมถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตและการที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาควบคุมตัวและดำเนินการสอบสวนโจทก์จนกระทั่งพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์. การฟ้องเรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164.(ที่มา-ส่งเสิรมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย มอบ พระเครื่อง 4 องค์ ให้ โจทก์ เลี่ยม กรอบทองเมื่อ เลี่ยม เสร็จ แล้ว จำเลย ไม่ ยอม รับ คืน โจทก์ จึง ขายพระเครื่อง ไป โดย คิด เฉพาะ ราคา ทองคำ ต่อมา จำเลย กลับ ดำเนิน ดคีอาญา ต่อ โจทก์ใน ข้อหา ยักยอก ซึ่ง ศาล พิพากษา ยกฟ้อง การ กระทำ ของจำเลย เป็น การ กลั่นแกล้ง ใส่ความ โจทก์ เป็น การ ละเมิด ขอ ให้ ศาลพิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่า เสียหาย แก่ โจทก์ 100,000 บาท
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย มอบ พระเครื่อง มี มูลค่า ไม่น้อยกว่า 22,000 บาท ให้ โจทก์ ไป เลี่ยม กรอบทอง จำเลย ไม่ เคย ทราบว่า โจทก์ เลี่ยม พระ เสร็จ แต่ ทราบ ว่า มี คน นำ พระเครื่อง ที่ มอบให้ โจทก์ ไว้ ไป ขาย จึง ร้องทุกข์ ให้ ดำเนินคดี แก่ โจทก์ มิได้จงใจ ใส่ความ โจทก์ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่า เสียหาย ขอ ให้ ศาลยกฟ้อง และ บังคับ ให้ โจทก์ คืน พระเครื่อง 4 องค์ แก่ จำเลย ถ้า คืนไม่ ได้ ให้ ใช้ ราคา เป็น เงิน 22,000 บาท
โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า พระเครื่อง ของ จำเลย มี เพียง องค์เดียว ที่ สามารถ ให้ เช่า ได้ ไม่เกิน 3,000 บาท อีก 3 องค์ ได้ รับแจก มา ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ขาด อายุความ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ และ ให้ โจทก์ คืน พระเครื่อง ทั้ง4 องค์ แก่ จำเลย ถ้า ไม่ สามารถ คืน ได้ ก็ ให้ ชำระ ราคา แทน เป็นเงิน 10,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันฟ้องแย้ง ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน ให้ แก่ จำเลย เสร็จ และ ให้ โจทก์ชำระ ค่าฤชา ธรรมเนียม แทน จำเลย โดย กำหนด ค่า ทนายความ 1,200 บาท
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้น อุทธรณ์ ให้ เป็น พับทั้ง สอง ฝ่าย
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า จำเลย ว่าจ้าง โจทก์เลี่ยม กรอบ พระเครื่อง 4 องค์ โดย เมื่อ เลี่ยม เสร็จ แล้ว จึง คิดราคา ค่า ทองคำ ที่ ใช้ เลี่ยม และ ค่า แรง กัน โจทก์ เลี่ยม เสร็จ แล้วก็ ได้ นำ ไป ส่ง ให้ จำเลย แต่ ไม่ พบ จำเลย เมื่อ พบ กับ ภริยา จำเลยภริยา จำเลย ไม่ ยอม รับ เอา พระเครื่อง นั้น ไว้ แทน จำเลย ต่อมา โจทก์ได้ ขาย พระเครื่อง ของ จำเลย ไป เมื่อ จำเลย ทราบ และ ติดตาม เอาพระเครื่อง คืน ไม่ ได้ จำเลย จึง แจ้งความ ดำเนินคดี แก่ โจทก์ ในความผิด ฐาน ยักยอก แต่ ศาล พิพากษา ยกฟ้อง โดย วินิจฉัย ว่า โจทก์(จำเลย ใน คดี นั้น) ไม่ มี เจตนา ทุจริต ปรากฏ ตาม คดี อาญา หมายเลขแดง ที่ 3259/2524 ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ กล่าวอ้าง ว่า การ ที่ จำเลยแจ้งความ ดำเนิน คดี แก่ โจทก์ ใน คดี ดังกล่าว นั้น เป็น การ จงใจกลั่นแกล้ง ใส่ความ โจทก์ โดย ไม่ มี มูลความจริง เพราะ เมื่อ โจทก์นำ พระเครื่อง ไป ส่ง ภริยา จำเลย ได้ บอก โจทก์ ว่า ราคา ทองคำ สูงและ ไม่ ขอ เอา พระเครื่อง ทั้ง 4 องค์ นั้น ทั้ง โจทก์ ยัง ได้ บอกว่าจะ เก็บ พระเครื่อง นั้น ไว้ ให้ อีก ระยะ หนึ่ง แต่ จำเลย ก็ ไม่ ไปรับ พระเครื่อง คืน ภายใน กำหนด โจทก์ จึง ขาย พระเครื่อง ของ จำเลย ไปเพราะ ถือว่า จำเลย สละ กรรมสิทธิ์ พระเครื่อง ดังกล่าว นั้น แล้วข้อนี้ นาง นิภา เหล่าดุสิต ภริยา จำเลย เบิกความ ยืนยัน ว่า ได้ บอกโจทก์ แต่ เพียง ว่า ตน มิได้ เป็น ผู้ ว่าจ้าง ให้ โจทก์ มอบพระเครื่อง ดังกล่าว แก่ จำเลย เอง และ ไม่ ได้ บอก สละ กรรมสิทธิ์พระเครื่อง นั้น เพราะ ไม่ ใช่ เจ้าของ โจทก์ เอง ก็ เบิกความ ว่า จำเลยไม่ เคย บอก กับ โจทก์ ว่า จำเลย ไม่ เอา พระเครื่อง ดังกล่าว นั้นและ ยัง รับ ว่า พระเครื่อง ของ จำเลย บาง องค์ มี ราคา ถึง 3,000 บาทกรณี จึง ไม่ น่า เชื่อ ว่า จำเลย สละ กรรมสิทธิ์ พระเครื่อง ดังกล่าวตาม ที่ โจทก์ อ้าง เมื่อ จำเลย ไม่ ไป รับ พระเครื่อง และ ชำระ ราคาค่าจ้าง เลี่ยมกรอบ ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ก็ ชอบ ที่ จะ ใช้ สิทธิเรียกร้อง ค่าจ้าง จาก จำเลย ได้ แต่ โจทก์ กลับ เอา พระเครื่อง ของจำเลย ไป ขาย ให้ บุคคล อื่น เป็น เหตุ ให้ จำเลย ติดตาม เอาคืน ไม่ ได้เช่นนี้ ศาลฎีกา เห็น ว่า ข้อเท็จจริง ไม่ ได้ ความ ว่า จำเลย จงใจกลั่นแกล้ง แจ้งความ กล่าวหา โจทก์ การ ที่ จำเลย แจ้งความ ต่อ พนักงานสอบสวน ให้ ดำเนินคดี แก่ โจทก์ นั้น กรณี ก็ มี เค้ามูล และ เหตุผลที่ ทำ ให้ จำเลย เข้าใจ โดย สุจริต ว่า โจทก์ กระทำ ผิด ตาม ที่ จำเลยแจ้งความ เพราะ จำเลย มิได้ สละ กรรมสิทธิ์ พระเครื่อง ดังกล่าว นั้นการ ที่ พนักงาน สอบสวน ตั้ง ข้อหา ควบคุม ตัว และ ดำเนิน การ สอบสวนโจทก์ จน กระทั่ง พนักงาน อัยการ ฟ้อง โจทก์ ต่อ ศาล เป็น เรื่อง ที่อยู่ ใน อำนาจ หน้าที่ ของ พนักงาน สอบสวน และ พนักงาน อัยการ กรณีเป็น เรื่อง ที่ จำเลย ใช้ สิทธิ ตาม กฎหมาย โดย สุจริต ดังนั้น การกระทำ ของ จำเลย จึง ไม่ เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ และ ไม่ ต้อง รับผิดชดใช้ ค่า เสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น
ปัญหา ข้อ ต่อไป มี ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ขาด อายุความ หรือไม่พิเคราะห์ แล้ว เห็น ว่า จำเลย ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ รับ มอบ พระเครื่องของ จำเลย ไป เลี่ยม กรอบทอง ต่อมา เดือน พฤษภาคม 2523 จำเลย ทราบ ว่าโจทก์ เอา พระเครื่อง ของ จำเลย ไป ขาย ให้ ผู้อื่น โดย จำเลย มิได้อนุญาต และ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ หรือ อำนาจ ที่ จะ เอา พระเครื่อง ของจำเลย ไป ขาย เป็น การ ละเมิด ต่อ จำเลย โดย จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อเป็น การ ผิด ต่อ กฎหมาย ทำ ให้ จำเลย เสียหาย ต่อ ทรัพย์ คือพระเครื่อง ดังกล่าว ขอ ให้ โจทก์ คืน พระเครื่อง หรือ ใช้ ราคาพระเครื่อง แก่ จำเลย นั้น กรณี เป็น การ ฟ้อง เรียก ทรัพย์ คืน หรือให้ ใช้ ราคา ทรัพย์สิน นั้น อายุความ ใน กรณี ดังกล่าว ไม่ มี กฎหมายบัญญัติ ไว้ จึง มี กำหนด 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 กรณี นี้ หา ใช่ เป็น การ ฟ้อง เรียกร้อง ค่า เสียหาย อัน เกิด แต่มูลละเมิด ใน อัน ที่ จะ นำ อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มา ใช้ บังคับ ไม่ ฟ้องแย้ง ของจำเลย จึง ยัง ไม่ ขาด อายุความ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย มา ชอบ แล้วฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น อีก เช่นกันฯ’

Share