แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินโฉนดของจำเลยตามสัญญาข้อ13ระบุไว้ว่าผู้ก่อสร้างจะต้องสร้างตึกแถวได้ไม่ต่ำกว่า90-110ห้องตามสัญญาข้อ15ระบุว่าผู้ให้ก่อสร้างรับว่าจะอำนวยความสะดวกต่างๆรวมทั้งการให้ความร่วมมือในการติดต่อกับทางราชการเพื่อให้การก่อสร้างและการเซ้งห้องเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและตามสัญญาข้อ17ระบุว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องได้ทันทีดังนั้นเมื่อโจทก์ผู้ก่อสร้างทำผังให้ปลูกตึกแถวในที่ดินโฉนดของจำเลยผู้ให้ก่อสร้างได้91ห้องก็ถือได้ว่าถูกต้องตามสัญญาการที่จำเลยไม่ยอมลงชื่อในแบบพิมพ์คำขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวของทางราชการให้โจทก์โจทก์ไม่อาจสร้างตึกแถวได้พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญากับจำเลยแล้วคู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะตามที่เป็นอยู่เดิมและโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ค่าเสียหายเรื่องขาดผลกำไรเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอนศาลเห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายส่วนนี้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ตกลง ให้ โจทก์ ทำการ ก่อสร้าง อาคาร พาณิชย์จำนวน 90 – 110 ห้อง ลง บน ที่ดิน ของ จำเลย โดย โจทก์ เป็น ผู้ออกค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้น และ เป็น ผู้ มี สิทธิ นำ อาคาร ดังกล่าว ไปให้ บุคคล ภายนอก เช่า และ เรียก ค่าตอบ แทน ได้ เมื่อ มี ผู้ใด เช่าห้อง ใด แล้ว ให้ กรรมสิทธิ์ ใน ห้อง นั้น ตก เป็น ของ จำเลย เมื่อทำ สัญญา กัน แล้ว โจทก์ ได้ เตรียม การ ก่อสร้าง โดย การ ถม ทราย ในที่ดิน และ เขียน แบบแปลน แผนผัง เพื่อ จะ ขอ อนุญาต ต่อ ทาง ราชการใน นาม ของ จำเลย ตาม สัญญา แต่ จำเลย บ่ายเบี่ยง ไม่ ยอม ลงชื่อ ในคำร้อง เพื่อ ขอนุญาต ทำการ ปลูกสร้าง อาคาร ต่อ ทาง ราชการ และ ทำ ให้โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย โจทก์ จึง บอก เลิก สัญญา และ ขอ ให้ บังคับจำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิด สัญญาโจทก์ ไม่ เคย ขอร้อง ให้ จำเลย ลงชื่อ ใน คำร้อง ขออนุญาต ก่อสร้างและ หนังสือ รับรอง ให้ ทำการ ปลูกสร้าง เพื่อ ยื่น ขออนุญาต ต่อ ทางราชการ แต่ อย่างใด โจทก์ ไม่ เคย ทำ แบบแปลน การ ก่อสร้าง โจทก์ มิใช่ผู้เสียหาย ไม่ มี สิทธิ เรียก ค่าจ้าง เขียน แบบแปลน ก่อสร้าง ที่โจทก์ ว่า จะ ได้ กำไร ห้อง ละ 5,000 บาท เป็น เรื่อง ใน อนาคต ไม่แน่นอน โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก เงิน ส่วน นี้ โจทก์ บอกเลิก สัญญาไม่ ถูกต้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา โจทก์ บอกเลิกสัญญา โดย ชอบ พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 518,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน บอกเลิก สัญญา
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง พิพากษา กลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ มี อำนาจ ฟ้อง พิพากษา ยก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา พิพากษา ใน ประเด็น ข้อ อื่น ตามรูปคดี
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า โจทก์ สมัครใจ เลิก การ ก่อสร้าง เอง เพราะวัสดุ ก่อสร้าง มี ราคา สูง ขึ้น จำเลย ไม่ ได้ ผิด สัญญา จึง ไม่ ต้องรับผิด ใช้ ค่าเสียหาย ต่อ โจทก์ พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ใน ปัญหา ว่า จำเลย ผิด สัญญา หรือไม่ โจทก์ มี สิทธิ บอกเลิก สัญญาหรือไม่ ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ จำเลย ได้ ทำ สัญญาปลูกสร้าง อาคาร พาณิชย์ ใน ที่ดิน ของ จำเลย ปรากฏ ตาม เอกสาร หมายจ.5 เมื่อ สร้าง ตึกแถว ตาม สัญญา นี้ แล้ว โจทก์ มี สิทธิ จะ นำ ไปให้ คนอื่น เช่า เป็น ระยะ เวลา 25 ปี ค่าเช่า ห้องละ 80 บาท ตกลงสร้าง 90 – 110 ห้อง ต่อมา ได้ ตกลง เปลี่ยนแปลง การ ก่อสร้าง ลง มาเหลือ เพียง 86 ห้อง ใน อัตรา ค่าเช่า ห้องละ 90 บาท ตาม เอกสาร หมายจ.6 และ ได้ ทำ แผนผัง บริเวณ ก่อสร้าง ใหม่ ตาม เอกสาร หมาย จ.7จำเลย ได้ ตรวจ เอกสาร หมาย จ.7 แล้ว ไม่ พอใจ ว่า ห้อง มี น้อย ไปให้ โจทก์ ไป เขียน แปลน หรือ แผนผัง มา ใหม่ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมายจ.8 โจทก์ จึง ไป เขียน แบบแปลน มา อีก 4 – 5 ครั้ง ตาม เอกสาร หมายจ.3 จำเลย ไม่ ตกลง ด้วย โจทก์ ได้ เขียน แบบแปลน อีก ฉบับหนึ่ง ซึ่งจะ ก่อสร้าง ตึกแถว ได้ 91 ห้อง ตาม เอกสาร หมาย จ.2 แต่ ผล สุดท้ายจำเลย ไม่ ตกลง ให้ ก่อสร้าง แบบใด และ จำเลย ไม่ ยอม เซ็น ขื่อ ในแบบพิมพ์ ขออนุญาต ก่อสร้าง ตึกแถว ของ ทาง ราชการ ให้ โจทก์ จึง ไม่อาจ สร้าง ตึกแถว ได้ จึง ได้ บอกเลิก สัญญา ต่อ จำเลย และ ศาลฎีกาวินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ว่า ตาม สัญญา ปลูกสร้าง อาคาร พาณิชย์ เอกสารหมาย จ.5 เมื่อ โจทก์ ทำ ผัง ให้ ปลูก ตึกแถว ได้ 91 ห้อง ก็ ถือ ได้ว่า ถูกต้อง ตาม สัญญา เอกสาร หมาย จ.5 ซึ่ง ระบุ ไว้ ตาม ข้อ 13 ซึ่งให้ ผู้ก่อสร้าง จะ ต้อง สร้าง ได้ ไม่ ต่ำกว่า 90 – 110 ห้อง แล้วและ ใน ข้อนี้ จำเลย ก็ เบิกความ รับ ใน การ ตอบ คำถาม ค้าน ทนาย โจทก์ว่า โจทก์ จะ วาง ผัง อย่างไร ก็ ได้ ขอ ให้ ได้ จำนวน ห้อง 90 ถึง100 ห้อง และ การ ที่ จำเลย เบิกความ ว่า โจทก์ จะ ต้อง ปลูกสร้าง ให้เต็ม เนื้อที่ ทาง ด้าน ตะวันตก จำเลย ก็ ไม่ นำสืบ ให้ เห็นว่าเนื้อที่ ด้าน ตะวันตก ตาม แผนผัง เอกสาร หมาย จ.2 จะ ปลูก อาคาร ลง ไปได้ ทาง ทิศ ดังกล่าว ตรง ส่วน ไหน อย่างไร พฤติการณ์ ดังกล่าว ถือ ได้ว่า จำเลย ผิด สัญญา ต่อ โจทก์ โจทก์ ย่อม มี สิทธิ เลิก สัญญา ได้
ใน ปัญหา เรื่อง ค่าเสียหาย ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เมื่อ โจทก์ ใช้สิทธิ เลิก สัญญา แล้ว คู่สัญญา ย่อม กลับคืน สู่ ฐานะ ที่ เป็น อยู่เดิม และ โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ที่ จะ เรียกร้อง ค่าเสียหาย ได้ ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลย มิได้ ปฏิเสธ ฟ้องของ โจทก์ ที่ ว่า โจทก์ ได้ ให้ ค่า หน้าดิน แก่ จำเลย ไป เพื่อ ทำการปลูกสร้าง อาคาร ลง ใน ที่ดิน ของ จำเลย เป็น เงิน จำนวน 330,000 บาทจำเลย จึง มี หน้าที่ ต้อง คืน เงิน จำนวน นี้ แก่ โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย นับแต่ วัน โจทก์ ใช้ สิทธิ เลิก สัญญา โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ได้ เสีย ค่าถมทราย ลง ใน ที่ดิน ที่ จะ ทำการ ปลูกสร้าง เป็น เงิน150,000 บาท และ ว่าจ้าง สถาปนิก เขียน แบบแปลน เป็น เงิน 38,000บาท จำเลย มิได้ นำสืบ คัดค้าน อย่างไร ว่า โจทก์ มิได้ จ่าย ไป จริงจึง ฟัง ได้ ว่า โจทก์ ได้ ใช้จ่าย ไป เพื่อ เตรียม การ ปลูกสร้างเมื่อ โจทก์ เลิก สัญญา จำเลย จึง ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ให้ แก่ โจทก์ พร้อมด้วย ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2521อัน เป็น วัน ครบ กำหนด ตาม ที่ โจทก์ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย โดย หนังสือ บอกเลิก สัญญา ส่วน ค่า เสียหาย เรื่อง ขาด ผล กำไรนั้น เห็นว่า เป็น เรื่อง อนาคต ยัง ไม่ แน่นอน ดัง ที่ ศาลชั้นต้นได้ วินิจฉัย ไว้ แล้ว โจทก์ จึง ไม่ ควร ได้ รับ ค่า เสียหาย ส่วน นี้
พิพากษา กลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เว้นแต่ ดอกเบี้ยของ เงิน จำนวน 188,000 บาท ให้ นับแต่ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2521จนกว่า จำเลย จะ ชำระ เสร็จ