คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกจำเลยอ้างว่าป่วยขอเลื่อนคดีนัดที่สองอ้างว่าทนายจำเลยป่วยขอเลื่อนคดีนัดที่สามจำเลยและโจทก์แถลงขอเลื่อนคดีเพื่อเจรจานัดที่สี่จำเลยยอมรับว่าจำเลยผิดนัดไม่ไปตรวจสอบหนี้สินตามที่โจทก์นัดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำพยานเข้าสืบแต่จำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานปากเดียวส่วนพยานอื่นไม่มาศาล.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จในนัดหน้าถ้าพยานไม่มาให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบนัดที่ห้าจำเลยนำพยานเข้าสืบ4ปากแล้วแถลงว่ายังติดใจสืบพยานอีก2ปากซึ่งมาศาลแล้วแต่กลับไปก่อนและติดธุระมาศาลไม่ได้ปรากฏว่าพยานที่จำเลยยังติดใจสืบนั้นก็เพื่อประโยชน์คดีอื่นของจำเลยไม่เกี่ยวกับเช็คพิพาทคดีนี้และไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้พฤติการณ์ของจำเลยส่อเจตนาประวิงคดีชอบที่ศาลชั้นต้นจะตัดพยานจำเลยดังกล่าว. จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจึงต้องสันนิษฐานว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900เมื่อจำเลยอ้างว่าออกเช็คให้โจทก์ยืมไปแลกเงินสดเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของโจทก์โดยจำเลยไม่มีมูลหนี้ที่จักต้องชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้งเมื่อพิสูจน์ไม่ได้ก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คมอบแก่โจทก์ไปแลกเงินสดจากส.ให้จำเลยโดยโจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คนั้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงได้ใช้เงินตามเช็คนั้นไปและรับมอบเช็คคืนมาเช็คดังกล่าวเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโจทก์ได้เช็คไว้ในครอบครองก็นับว่าเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินตามเช็คจากจำเลยผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายได้ดังนี้คำบรรยายฟ้องและทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบหาขัดแย้งกันไม่.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ลง ลายมือชื่อ สั่งจ่ายเช็ค ชนิด ออก ให้ แก่ผู้ถือ 13 ฉบับ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ โจทก์ สลักหลัง เช็ค และ นำ ไป แลกเงินสด จาก ผู้ มี ชื่อ เมื่อ เช็ค ถึง กำหนด ผู้ มี ชื่อ นำ เช็ค ไปเรียก เก็บ เงิน ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน ผู้ทรงเช็คทวงถาม โจทก์ ใน ฐาน ผู้ สลักหล้ง โจทก์ ใช้ เงิน ตาม เช็ค ไป แล้วจึง ขอ ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มิได้ จ่าย เช็ค ชำระหนี้ โจทก์ โจทก์ ยืมเช็ค ไป แลก เงินสด จาก ผู้อื่น โดย สัญญา ว่า จะ เป็น ผู้ รับผิด ชอบควบคุม เงิน ใน บัญชี ของ จำเลย ใน ธนาคาร ซึ่ง โจทก์ เป็น ผู้จัดการอยู่ ต่อมา โจทก์ ผิดใจ กับ จำเลย จึง แกล้ง จำเลย โดย ลง วันที่ ในเช็ค ที่ ยืม พร้อมกับ นำเช็ค ไป เข้า บัญชี บุคคล อื่น แล้ว นำ คดีมา ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน พร้อม ดอกเบี้ย ตาม ฟ้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เมื่อ ศาลชั้นต้น ชี้ สอง สถาน กำหนด ให้ จำเลยมี หน้าที่ นำสืบ ก่อน และ นัดสืบพยาน จำเลย แล้ว นัดแรก จำเลย ขอเลื่อนคดี อ้าง ว่า ตัว จำเลย ป่วย นัด ที่ สอง จำเลย ขอ เลื่อนคดี อีกอ้าง ว่า ทนายความ จำเลย ป่วย นัด ที่ สาม จำเลย และ โจทก์ แถลง ขอเลื่อนคดี เพื่อ เจรจา ตรวจสอบ หนี้สิน ที่ เกิดขึ้น ระหว่าง กันครั้น นัด ที่ สี่ จำเลย แถลง ยอมรับ ว่า จำเลย ผิดนัด ไม่ ไป ตรวจสอบ หนี้สิน ตาม ที่ โจทก์ นัด ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง ให้ จำเลยนำ พยาน เข้า สืบ แต่ จำเลย อ้าง ตนเอง เบิกความ เป็น พยาน ปากเดียวส่วน พยาน อื่น ไม่ มา ศาล ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง กำชับ ให้ จำเลย นำพยาน มา สืบ ให้ เสร็จ ใน นัดหน้า ถ้า พยาน ไม่ มา ให้ ถือ ว่า จำเลยไม่ ติดใจ สืบ นัด ที่ ห้า จำเลย นำ พยาน เข้า สืบ 4 ปาก แล้ว แถลงติดใจ สืบ นาย มงคล ซึ่ง มา ศาล แล้ว แต่ กลับ ไป ก่อน เข้า เบิกความกับ นาย วีระชัย ซึ่ง ติดธุระ มา ศาล ไม่ ได้ โดย จะ สืบ นาย วีระชัยที่ มี พฤติการณ์ สมคบ กับ โจทก์ นำ เช็ค ไม่ มี มูลหนี้ มา ฟ้อง จำเลยเป็น คดี อาญา ส่วน นาย มงคล เป็น บุตร โจทก์ ซึ่ง จำเลย โอน ที่ดินใส่ ชื่อ นาย มงคล เป็น เจ้าของ ที่ดิน เพื่อ เป็น ประกัน หนี้ ที่โจทก์ อ้าง ว่า จำเลย เป็น ลูกหนี้ ธนาคาร และ นาย มงคล เอา ที่ดินนั้น ไป ขาย เสีย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า พยาน จำเลย ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับ ข้อ ต่อสู้ ของ จำเลย คดี นี้ ส่วน พยาน จำเลย ที่ มา ศาลแล้ว กลับ ไป เสียก่อน เข้า เบิกความ ก็ ไม่ ใช่ เหตุ ที่ จะ ขอ เลื่อนคดี จึง ไม่ อนุญาต ให้ จำเลย เลื่อนคดี และ ตัด พยาน จำเลย ศาลฎีกาเห็นว่า นอกจาก พฤติการณ์ จำเลย ส่อ เจตนา ประวิงคดี แล้ว การ ที่จำเลย ติดใจ สืบพยาน ปาก นาย มงคล ก็ เพื่อ ประโยชน์ คดี อื่น ของจำเลย และ สืบพยาน ปาก นาย วีระชัย ก็ ไม่ เป็น ประโยชน์ แก่ การพิจารณา คดี นี้ ศาลล่าง ทั้ง สอง เห็นพ้อง กัน ให้ ตัดพยาน จำเลยดังกล่าว จึง ชอบ แล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 บัญญัติ ว่า ‘บุคคล ผู้ ลงลายมือชื่อ ของ ตน ใน ตั๋วเงิน ย่อม จะ ต้อง รับผิด ตาม เนื้อความใน ตั๋วเงิน นั้น’ จำเลย ได้ ลง ลายมือชื่อ เป็น ผู้ สั่งจ่าย เช็คพิพาท จึง ต้อง สันนิษฐาน ว่า จำเลย ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ เมื่อ จำเลยอ้าง ว่า ออก เช็ค ให้ โจทก์ ยืม ไป แลก เงินสด เพื่อ ประโยชน์ ส่วนตัวโจทก์ โดย จำเลย ไม่ มี มูลหนี้ ที่ จักต้อง ชำระ เงิน ตาม เช็ค ให้ แก่โจทก์ จำเลย ผู้ สั่งจ่าย จึง มี หน้าที่ ต้อง นำสืบ พิสูจน์ ให้ เห็นโดย ชัดแจ้ง เมื่อ พยาน หลักฐาน ของ จำเลย ไม่ อาจ รับ ฟัง ได้ ว่าจำเลย สั่งจ่าย เช็ค พิพาท โดย ไม่ มี มูลหนี้ จำเลย จึง ต้อง รับผิดตาม เนื้อความ ใน เช็ค นั้น
จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ออก เช็ค เพื่อ ชำระ หนี้ แก่โจทก์ แต่ กลับ นำสืบ ว่า จำเลย ออก เช็ค พิพาท ให้ โจทก์ นำ ไป แลกเงินสด ให้ จำเลย จึง ขัดแย้ง กัน ทำ ให้ จำเลย หลง ข้อ ต่อสู้ และเสียเปรียบ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย ออก เช็คให้ โจทก์ นำ ไป แลก เงินสด ให้ จำเลย นั้น เป็น เหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้นก่อน ที่ โจทก์ จะ เป็น ผู้ ทรงเช็ค และ มา ฟ้องคดี นี้ เมื่อ ได้ ความว่า จำเลย เป็น ผู้สั่งจ่าย เช็ค พิพาท มอบ ให้ โจทก์ ไป แลก เงินสดจาก นาง สุจิณา โดย ใน การ นี้ โจทก์ ได้ ลง ลายมือชื่อ สลักหลัง เช็คพิพาท ซึ่ง เป็น เช็ค ที่ สั่ง ให้ ใช้ เงิน แก่ ผู้ถือ การ สลักหลังนั้น จึง เป็น เพียง ประกัน (อาวัล) สำหรับ ผู้ สั่งจ่าย คือ จำเลยดังนั้น เมื่อ โจทก์ ได้ ใช้ เงิน ตาม เช็ค ซึ่ง ธนคาร ได้ ปฏิเสธการ จ่าย เงิน แล้ว ให้ แก่ นาง สุจิณา ผู้ทรง คนเดิม และ รับมอบ เช็คนั้น คืน มา แล้ว โจทก์ ผู้ มี เช็ค พิพาท ซึ่ง เป็น เช็ค สั่งจ่าย ให้แก่ ผู้ถือ ไว้ ใน ครอบครอง โจทก์ ผู้ถือ ก็ นับ ว่า เป็น ผู้ทรง มีอำนาจ ฟ้อง เรียกร้อง เงิน ตาม เช็คพิพาท จาก จำเลย ผู้ ลงลายมือชื่อเป็น ผู้สั่งจ่าย ได้ คำบรรยายฟ้อง และ ทาง พิจารณา ที่ โจทก์ นำสืบหา ขัดแย้ง กัน ไม่
พิพากษา ยืน.

Share