แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ.2522มาตรา13บัญญัติเพียงให้ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังรายงานและความเห็นของพนักงานคุมประพฤติเท่านั้นมิใช่เป็นบทบัญญัติเด็ดขาดที่จำต้องให้ศาลรับฟังเสมอไป. จำเลยเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3แล้วออกมาช่วยมารดาและพี่น้องค้าขายและขับรถรับส่งคนโดยสาร.จนตอนเกิดเหตุมาทำงานเป็นพนักงานจำหน่ายตั๋วรถยนต์โดยสารประจำทางปรับอากาศถือได้ว่าจำเลยประกอบอาชีพโดยสุจริตตลอดมาไม่เคยกระทำผิดใดๆมาก่อนกระสุนปืนที่จำเลยมีไว้ที่ใช้กับอาวุธปืนก็เพียงนัดเดียวไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยจะใช้ก่อเหตุร้ายควรรอการลงโทษจำเลยและคุมความประพฤติไว้เหมาะสมกับความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดและเพียงพอให้จำเลยได้สำนึกปฏิบัติตนไม่ประพฤติผิดกฎหมายต่อไปแล้ว.(ที่มา-เนติฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 55, 72, 72 ทวิ, 78ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ฐาน มี อาวุธปืน จำคุก 1 ปี ปรับ 4,000บาท ฐาน พา อาวุธปืน ไป ใน ทางสาธารณะ จำคุก 6 เดือน รวม จำคุก 1 ปี6 เดือน ปรับ 4,000 บาท จำเลย รับสารภาพ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง คง จำคุก9 เดือน ปรับ 2,000 บาท รอ การ ลงโทษ ไว้ 2 ปี ริบ ของกลาง และ กำหนดเงื่อนไข คุมประพฤติ จำเลย โดย ให้ มา รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติ ทุก 1 เดือน ใน ระยะ 6 เดือน แรก หลังจาก นั้น ให้ มา รายงานตัว 3 เดือน ต่อ ครั้ง ตลอด ระยะ เวลา ที่ รอ การ ลงโทษ ให้ เว้น การเกี่ยวข้อง กับ ยาเสพติด ทุกชนิด ห้าม ยุ่งเกี่ยว หรือ มี พฤติการณ์เกี่ยวข้อง กับ ของ ผิด กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ไม่ปรับ ไม่ วาง เงื่อนไข คุมประพฤติ และ ไม่ รอ การ ลงโทษ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ ไม่หยิบ ยก เอา รายงาน ของ พนักงาน คุมประพฤติ ขึ้น มา ประกอบ การวินิจฉัย เป็น การ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมาย นั้น เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 13บัญญัติ เพียง ให้ ศาล มี อำนาจ ที่ จะ รับ ฟัง รายงาน และ ความเห็นของ พนักงานคุมประพฤติ เท่านั้น มิใช่ เป็น บท บังคับ เด็ดขาด ที่จำต้อง ให้ ศาล รับฟัง เสมอ ไป ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟัง ไม่ ขึ้น ส่วนที่ จำเลย ฎีกา ขอ ให้ พิพากษา ลงโทษ จำเลย ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นนั้น คดี นี้ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำเลย ในความผิด ฐาน มี อาวุธปืน และ เครื่องกระสุนปืน ต่ำกว่า อัตรา ที่กฎหมาย กำหนด โดย ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 78ที่ แก้ไข แล้ว กำหนด อัตราโทษ ขั้นต่ำ ไว้ ให้ จำคุก ตั้งแต่ 2 ปีขึ้น ไป จริง แต่ ศาลอุทธรณ์ มิได้ หยิบยก ปัญหา นี้ ขึ้น มา วินิจฉัย และ โจทก์ มิได้ ฎีกา ขึ้น มา ศาลฎีกา จึง ไม่ อาจ หยิบยก ขึ้น มา ได้ส่วน ที่ จำเลย ขอ ให้ ลงโทษ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ได้ความ ตามรายงาน การ สืบเสาะ และ พินิจ จำเลย ของ พนักงาน คุมประพฤติ ว่า จำเลยจบ ชั้น มัธยมศึกษา ปี ที่ 3 แล้ว ออก มา ช่วย มารดา และ พี่น้องค้าขาย และ ขับรถ รับส่ง โดยสาร จน ตอน เกิดเหตุ มา ทำงาน จำหน่ายตั๋วรถยนต์ โดยสาร ประจำทาง ปรับอากาศ ของ บริษัท ภูหลวง ทรานสปอร์ตจำกัด ถือ ได้ ว่า จำเลย ประกอบ อาชีพ โดย สุจริต ตลอดมา ไม่เคย กระทำความผิด ใดๆ มา ก่อน กระสุนปืน ที่ จำเลย มี ไว้ ที่ ใช้ กับ อาวุธปืนมี เพียง นัด เดียว ไม่ มี พฤติการณ์ บ่ง ให้ เห็น ว่า จำเลย จะ ไปก่อ เหตุร้าย ที่ ศาลชั้นต้น รอ การ ลงโทษ จำเลย และ คุม ความประพฤติไว้ เหมาะสม กับ ความ ร้ายแรง แห่ง การ กระทำ ผิด และ เพียงพอ ให้ จำเลยได้ สำนึก ปฏิบัติ ตน ไม่ ประพฤติ ผิด กฎหมาย อีก ต่อไป แล้ว’
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์