แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกอีกสองคนร่วมดื่มสุราอยู่ในที่เกิดเหตุเมื่อจำเลยที่2ใช้ปืนจี้และขู่ผู้เสียหายไม่ให้ร้องจำเลยที่1กับพวกต่างก็ใช้มีดจี้ผู้เสียหายทันทีแสดงว่าจำเลยที่1กับพวกพร้อมที่จะช่วยเหลือจำเลยที่2เพื่อมิให้ผู้เสียหายต่อสู้ขัดขวางครั้นจำเลยที่2ผลักผู้เสียหายล้มลงและเอาเท้าเหยียบคอผู้เสียหายไว้จำเลยที่1ก็แทงผู้เสียหายในเวลาติดต่อกันไปและหลังจากปล้นได้ทรัพย์แล้วก็หลบหนีไปพร้อมกันนั้นเป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกระทำผิดโดยตลอดจำเลยที่2ย่อมต้องรับผิดในการที่จำเลยที่1แทงผู้เสียหายด้วยแต่มีดที่จำเลยที่1ใช้แทงผู้เสียหายนั้นยาวประมาณ4-5นิ้วกว้างประมาณ1นิ้วจำเลยที่1แทงเพียงทีเดียวแล้วหยุดเลิกไปเองทั้งๆที่มีโอกาสจะแทงซ้ำและได้ความจากแพทย์ผู้ตรวจบาดแผลว่าบาดแผลรักษาหายภายใน7วันจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1แทงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าแต่เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกัน.อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทไม่ใช่ความผิดหลายกรรมแม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองได้. ในการปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา340ตรีลงโทษหนักขึ้นเฉพาะตัวผู้มีหรือใช้อาวุธปืนเมื่อจำเลยที่1เป็นเพียงผู้ที่ร่วมปล้นและมีอาวุธมีดติดตัวเท่านั้นจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นด้วย.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก อีก สอง คน ร่วมกัน มี อาวุธปืนมี ทะเบียน ของ ผู้อื่น ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาต และพา ติดตัว ไป ใน หมู่บ้าน ทาง สาธารณะ โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาต และไม่ มี เหตุ จำเป็น และ เร่งด่วน ตาม สมควร แก่ พฤติการณ์ แล้ว จำเลยทั้ง สอง กับพวก รวม สี่ คน ดังกล่าว ได้ ร่วมกัน ปล้นทรัพย์ โดย ใช้อาวุธปืน และ มีด และ จำเลย ที่ 1 ได้ ใช้ มีด แทง ผู้เสียหาย โดย มีเจตนา ฆ่า เป็น เหตุ ให้ ผู้เสียหาย ได้ รับ อันตราย แก่ กาย ขอ ให้ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 340 ตรี, 289, 80, 83, 33, 91พระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ คำสั่งของ คณะปฏิรูป การปกครอง แผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลง วันที่ 21 ตุลาคม 2519ข้อ 3, 6, 7 ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลง วันที่ 21 พฤศจิกายน2514 ข้อ 2, 14, 15 ริบ มีด ของกลาง ส่วน ของกลาง อื่น คืน ให้ผู้เสียหาย และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ที่ ยัง ไม่ ได้ คืน อีก 72 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ฐาน มี อาวุธปืน ไว้ ใน ความครอบครอง จำคุก คนละ 1 ปี ฐาน พกพา อาวุธปืน ไป ใน ทาง สาธารณะ จำคุกคนละ 6 เดือน ฐาน ปล้น ทรัพย์ โดย มี และ ใช้ อาวุธปืน จำคุก คนละ30 ปี และ ลงโทษ จำคุก จำเลย ที่ 1 ฐาน พยายาม ฆ่า ผู้อื่น 50 ปีรวม จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 81 ปี 6 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ 31 ปี6 เดือน จำเลย ทั้ง สอง ให้การ รับสารภาพ ชั้น สอบสวน ลดโทษ ให้ หนึ่งใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 54ปี 4 เดือน จำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ 21 ปี อาศัย อำนาจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คงให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 50 ปี ริบ มีดของกลาง ของกลาง อื่น คืน ผู้เสียหาย และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันคืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ ได้ คืน 72 บาท แก่ ผู้เสียหาย
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ฐาน ทำร้ายร่างกาย จำคุก 2 ปี และ ฐาน ปล้นทรัพย์ จำคุก 16 ปี รวม จำคุก 18 ปีกับ ลงโทษ จำเลย ที่ 6 ฐาน ปล้นทรัพย์ โดย มี และ ใช้ อาวุธปืนจำคุก 24 ปี ฐาน มี อาวุธปืน ไว้ ใน ความ ครอบครอง จำคุก 1 ปี และฐาน พก พา อาวุธปืน ไป ใน ทาง สาธารณะ จำคุก 6 เดือน รวม จำคุก 25 ปี6 เดือน จำเลย ทั้ง สอง ให้การ รับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม และ ชั้นสอบสวน ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุกจำเลย ที่ 1 ไว้ 12 ปี และ จำคุก จำเลย ที่ 2 ไว้ 17 ปี นอกจาก ที่แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ก่อน เกิด เหตุ จำเลย กับพวก อีก 2 คน ได้ ร่วมดื่ม สุรา อยู่ ด้วย กัน ที่ เกิด เหตุ เมื่อ จำเลย ที่ 2 ถือ อาวุธปืนจี้ และ ขู่ ผู้เสียหาย ไม่ ให้ ร้อง จำเลย ที่ 1 กับพวก ต่าง ใช้อาวุธ มีด จี้ ผู้เสียหาย ทันที แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 กับพวก พร้อม ที่จะ ช่วยเหลือ จำเลย ที่ 2 เพื่อ มิให้ ผู้เสียหาย ต่อสู้ ขัดขวางครั้น จำเลย ที่ 2 ผลัก ผู้เสียหาย ล้มลง และ เอา เท้า เหยียบ คอ ของผู้เสียหาย ไว้ จำเลย ที่ 1 ก็ แทง ผู้เสียหาย ใน เวลา ติดต่อ กัน ไปหลังจาก ปล้น ได้ ทรัพย์ แล้ว ก็ หลบหนี ไป พร้อมกัน นั้น เป็นพฤติการณ์ ที่ เห็น ได้ ชัด ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ได้ ร่วมกันกระทำ ผิด โดย ตลอด ดังนั้น จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ใน การ ที่จำเลย ที่ 1 ใช้ มีด แทง ผู้เสียหาย ด้วย สำหรับ บาดแผล ของ ผู้เสียหายนั้น ได้ ความ จาก แพทย์ ผู้ ตรวจ บาดแผล ของ ผู้เสียหาย ว่า บาดแผลรักษา หาย ภายใน 7 วัน สำหรับ มีด ที่ จำเลย ที่ 1 ใช้ แทง ผู้เสียหายคง ได้ ความ จาก บิดา ผู้เสียหาย ว่า ตัว มีด ยาว ประมาณ 4-5 นิ้วกว้าง ประมาณ 1 นิ้ว เห็นว่า จำเลย ที่ 1 แทง เพียง ที เดียว แล้วหยุดยั้ง เลิก ไป เอง ทั้งๆ ที่ มี โอกาส จะ แทง ซ้ำ แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 แทง ผู้เสียหาย เพื่อ ความ สะดวก ใน การ ปล้นทรัพย์ เท่านั้น และบาดแผล ตาม ผล การ ตรวจ ชันสูตร ของ แพทย์ ท้ายฟ้อง ก็ ไม่ ถึง เป็นอันตราย สาหัส จึง ยัง ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 แทง ผู้เสียหาย โดยมี เจตนา ฆ่า และ จำเลย ที่ 1 ใช้ มีด แทง ผู้เสียหาย ก็ เพื่อ ความสะดวก ใน การ กระทำ ผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ อัน เป็น การ กระทำ ความผิด ในวาระ เดียวกัน จึง เป็น ความผิด ฐาน ปล้นทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค สอง ซึ่ง แก้ไข แล้ว และ ฐาน ทำร้าย ร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296 ซึ่ง เป็น กรรมเดียว เป็น ความผิด ต่อกฎหมาย หลาย บท ไม่ ใช่ ความผิด หลาย กรรม แม้ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ฎีกา แต่ ก็ เป็น ปัญหา เกี่ยวกับ ความ สงบ เรียบร้อย ศาลฎีกา มี อำนาจหยิบยก ขึ้น วินิจฉัย ให้ เป็น คุณ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ได้ และ ไม่เพิ่มโทษ จำเลย ที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เพราะ ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ โดย มี หรือ ใช้ อาวุธปืน ตาม มาตรา 340 ตรี ลงโทษหนัก ขึ้น เฉพาะ ตัว ผู้ มี หรือ ใช้ อาวุธปืน จำเลย ที่ 1 เป็น เพียงผู้ ที่ ร่วม ปล้น และ มี อาวุธ มีด ติดตัว เท่านั้น จึง ไม่ ต้อง รับโทษ หนัก ขึ้น ด้วย
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ความผิด ฐาน ทำร้าย ร่างกาย และ ความผิด ฐานปล้น ทรัพย์ ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ เป็น กรรมเดียว เป็น ความผิด ต่อกฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ฐาน ปล้นทรัพย์ ซึ่ง เป็น กฎหมายบท ที่ มี โทษ หนัก ที่สุด จำคุก 16 ปี จำเลย ที่ 1 ให้การ รับสารภาพชั้น สอบสวน ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง จำคุก จำเลย ที่ 1 ไว้ 10 ปี 8 เดือน จำเลย ที่ 2 มี ความผิด ฐานทำร้าย ร่างกาย ด้วย แต่ ความผิด ฐาน นี้ เป็น กรรมเดียว กับ ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ โดย มี และ ใช้ อาวุธปืน ให้ ลงโทษ ฐาน ปล้นทรัพย์ โดยมี และ ใช้ อาวุธปืน ซึ่ง เป็น กฎหมาย บท ที่ มี โทษ หนัก ที่สุดนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์.