แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างนายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานได้หากลูกจ้างประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงการที่ลูกจ้างพกพาอาวุธปืนและนำไปจ่อหน้าอกเด็กชายต.ในขณะที่ลูกจ้างมึนเมาสุรากระสุนปืนลั่นโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กชายต.ถึงแก่ความตายศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้และลูกจ้างยังถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯอีกกระทงหนึ่งซึ่งศาลได้พิพากษาจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้อีกเช่นเดียวกันกรณีดังกล่าวถือได้ว่าลูกจ้างได้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุที่นายจ้างจะไล่ออกจากงานได้ตามระเบียบดังกล่าวแล้วการเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมและนายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง จำเลย จำเลย มี คำสั่ง พักงานโจทก์ และ มี คำสั่ง ไล่ โจทก์ ออก จาก งาน โดย กล่าวหา ว่า โจทก์ประพฤติชั่ว อย่าง ร้ายแรง ขัด คำสั่ง ผู้บังคับบัญชา ประพฤติ ตน ไม่เหมาะสม กับ ตำแหน่ง หน้าที่ จำเลย อาศัย เหตุ ที่ โจทก์ กระทำ ความผิดโดย ประมาท ลงโทษ ทาง วินัย ซึ่ง มิใช่ การ ประพฤติ ชั่ว อย่าง ร้ายแรงโจทก์ ดื่ม สุรา ที่ บ้าน ของ โจทก์ และ ไม่ เคย ถูก ตักเตือน การกระทำ ของ จำเลย จึง ไม่ เป็นธรรม ต่อ โจทก์ และ เลิกจ้าง โดย มิได้บอกกล่าว ล่วงหน้า ขอ ให้ บังคับ จำเลย รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ในตำแหน่ง หน้าที่ เดิม หรือ ให้ จ่าย เงิน บำเหน็จ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า และ เงินเดือน ระหว่าง พักงาน พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ กระทำ ความผิดอย่าง ร้ายแรง หลาย ประการ ตาม คำสั่ง เอกสาร ท้ายฟ้อง การ ที่ จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ จึง เป็น การ เลิกจ้าง ที่ เป็นธรรม และ เมื่อ โจทก์ถูก ไล่ออก จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ บำเหน็จ จำเลย มี สิทธิ ไล่ โจทก์ออก ได้ โดย ไม่ ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า การ เลิกจ้าง โจทก์ เป็น การ เลิกจ้างโดย โจทก์ ประพฤติ ชั่ว อย่าง ร้ายแรง มิใช่ เป็น การ เลิกจ้าง ที่ไม่ เป็นธรรม โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ บำเหน็จ จำเลย มี สิทธิเลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ อุทธรณ์ ว่าจำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ มี สาเหตุ การ ที่ ศาลอาญา พิพากษา ว่าโจทก์ มี ความผิด ฐาน กระทำ โดย ประมาท เป็น เหตุ ให้ คนตาย และ รอการ ลงโทษ จำคุก ไว้ นั้น ตาม ข้อ ระเบียบฯ ข้อ 24 จำเลย จะ ลงโทษ ให้ไล่ออก ได้ นั้น จะ ต้อง เป็น การ กระทำ ผิด ถึง ต้อง จำคุก เว้นแต่ความผิด ฐาน ลหุโทษ หรือ ความผิด อัน ได้ กระทำ โดย ประมาท การ กระทำของ โจทก์ จึง มิใช่ เป็น การ ประพฤติ ชั่ว อย่าง ร้ายแรง จึง เป็น การเลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า จำเลย มี คำสั่ง ลงโทษโจทก์ ด้วย การ ไล่ออก โดย อ้าง เหตุ การ กระทำ ผิด วินัย 4 ประการเฉพาะ ข้อ ระเบียบฯ ข้อ 24 จำเลย ได้ อ้าง เหตุ ตาม (4) และ (6) คือขัด คำสั่ง ที่ ผู้บังคับบัญชา สั่ง โดย ชอบ และ ประพฤติ ชั่ว อย่างร้ายแรง ส่วน (2) คือ กระทำ ผิด ถึง ต้อง คำพิพากษา ให้ จำคุก เว้นแต่ความผิด ฐาน ลหุโทษ หรือ ความผิด อัน ได้ กระทำ โดย ประมาท นั้น จำเลยหา ได้ ยก เป็น ข้อกล่าวหา ด้วย ไม่ เนื่องจาก กรณี ไม่ ต้อง ด้วยความผิด ใน ข้อ นี้ แต่ การ ที่ โจทก์ พกพา อาวุธปืน ซึ่ง เป็น อาวุธที่ ร้ายแรง ใน การ ทำลาย แล้ว นำ มา จ่อ ที่ หน้าอก ของ เด็กชาย ตั้มหรือ ไพบูลย์ แย้มเอิบสิน ซึ่ง มี อายุ เพียง 4 ปี ใน ขณะ ที่ โจทก์มึนเมา สุรา อยู่ และ แม้ ศาล ได้ พิพากษา ลงโทษ จำคุก แต่ ให้ รอการ ลงโทษ ไว้ ก็ ดี โจทก์ ก็ ยัง ถูก ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ อีก กระทง หนึ่ง ซึ่ง ศาล ได้ พิพากษา จำคุก แต่ ให้ รอการ ลงโทษ จำคุก ไว้ อีก เช่นเดียว กัน ซึ่ง เป็น กรณี ที่ มี ความรุนแรง มิใช่ น้อย กรณี เช่นนี้ ถือ ได้ ว่า โจทก์ ได้ ประพฤติ ชั่วอย่าง ร้ายแรง อัน เป็น เหตุ ที่ จำเลย จะ พึง ไล่ โจทก์ ออก จาก งานได้ ตาม ข้อ ระเบียบ ดังกล่าว กรณี จึง เป็น การ เลิกจ้าง ที่ เป็นธรรมโจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ บำเหน็จ และ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ได้โดย ไม่ ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ เงินเดือนระหว่าง ถูก พักงาน ด้วย
พิพากษา ยืน.