คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานรวมทั้งวันหยุดวันลาหรือจ่ายให้ตามผลงานไม่ว่าค่าตอบแทนนี้จะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ถือว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ทั้งสิ้นแต่ค่าน้ำมันที่จำเลยกำหนดให้โจทก์เบิกเป็นค่าใช้จ่ายได้เดือนละไม่เกิน5,000บาทจำเลยมิได้จ่ายให้โจทก์ในอัตราตายตัวโจทก์ต้องนำใบเบิกจ่ายพร้อมแนบใบเสร็จรับเงินด้วยทุกครั้งมิได้จ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้าง.(ที่มา-เนติฯ)

ย่อยาว

ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ข้อ ที่ โจทก์ อุทธรณ์เป็น ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า ค่า น้ำมัน รถ เป็น ค่าจ้าง ตาม ความหมายของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลง วันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลง วันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่ง มี ผล บังคับ ใช้ เป็นกฎหมาย ได้ กำหนด ไว้ ใน ข้อ 2 ว่า ‘ค่าจ้าง หมายความ ว่า เงิน หรือเงิน และ สิ่งของ ที่ นายจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง เป็น การ ตอบแทน การทำงาน ใน เวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน หรือ จ่าย ให้ โดย คำนวณ ตามผลงาน ที่ ลูกจ้าง ทำ ได้ และ หมายความ รวมถึง เงิน หรือ เงิน และสิ่งของ ที่ จ่าย ให้ ใน วันหยุด ซึ่ง ลูกจ้าง ไม่ ได้ ทำงาน และ วันลาด้วย ทั้งนี้ ไม่ ว่า จะ กำหนด คำนวณ หรือ จ่าย เป็น การ ตอบแทน ในวิธี อย่างไร และ ไม่ ว่า จะ เรียก ชื่อ อย่างไร’ ดังนี้ เห็น ได้ ว่าเงิน หรือ เงิน และ สิ่งของ ใด ที่ นายจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง เพื่อตอบแทน การ ทำงาน ใน เวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน รวมทั้ง วัน หยุดวัน ลา หรือ จ่าย ให้ ตาม ผลงาน ไม่ ว่า ค่า ตอบแทน นี้ จะ เรียก ชื่อหรือ กำหนด คำนวณ อย่างไร ก็ ถือ เป็น ค่าจ้าง ทั้งสิ้น สำหรับ เงินจำนวน 5,000 บาท ที่ จำเลย จ่าย ให้ โจทก์ เป็น รายเดือน ตาม เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.11 นั้น ได้ ความ ว่า จำเลย กำหนด ให้ โจทก์ เบิก เงินค่าใช้จ่าย ได้ เดือนละ ไม่เกิน 5,000 บาท จำเลย มิได้ จ่ายเงิน จำนวนนี้ ให้ โจทก์ ใน อัตรา ตายตัว แต่ อย่างใด โจทก์ ต้อง นำ เอกสาร ใบเบิกจ่าย พร้อม แนบ ใบเสร็จรับเงิน ด้วย ทุกครั้ง ข้อเท็จจริง ไม่ ปรากฏว่า จำเลย จ่าย เงิน จำนวน นี้ ให้ โจทก์ เพื่อ ตอบแทน การ ทำงาน ในเวลา ทำงาน ตาม ปกติ ของ วัน ทำงาน ศาลฎีกา เห็น ว่า เงิน จำนวน 5,000บาท ที่ จำเลย จ่าย ให้ โจทก์ เป็น ค่า น้ำมัน นี้ ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็นค่าจ้าง อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
ปัญหา ต่อไป ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ว่า ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยข้อเท็จจริง ผิด ไป จาก สำนวน ว่า หาก มี ใบเสร็จรับเงิน ค่า น้ำมันรถ เดือนใด ไม่ ถึง 5,000 บาท โจทก์ ก็ จะ ได้ รับ เท่ากับใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง ความจริง จำเลย ได้ จ่าย ค่า น้ำมัน รถ ให้ โจทก์เท่ากัน ทุกเดือน นั้น เห็นว่า ข้อวินิจฉัย ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางเพียง ยก เหตุผล มา ประกอบ เอกสาร หมาย ล.1 ถึง ล.11 ไม่ ปรากฏ ว่าโจทก์ มี ใบเสร็จ มา เบิก น้อยกว่า เดือนละ 5,000 บาท เท่านั้น หา เป็นการ วินิจฉัย ผิด ไป จาก สำนวน ไม่ อุทธรณ์ ของ โจทก์ จึง เป็น อุทธรณ์เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับ ฟัง พยาน หลักฐาน ซึ่ง เป็น ข้อเท็จจริงต้องห้าม ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกา ไม่ รับ วินิจฉัย’
พิพากษา ยืน.

Share