แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
เอกสารมีข้อความว่า’……เรียนนายบุญมีเนื่องด้วยท่านได้ประพฤติผิดระเบียบของห้างดังนี้……16ขาดงานบ่อยไม่ตั้งใจทำงาน……ถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบของห้างฯจึงขอแจ้งให้ท่านทราบไว้เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งนี้เพื่อท่านจะได้แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไปโดยการลงโทษดังนี้เตือนด้วยวาจา……’ท้ายเอกสารนี้โจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบต่อท้ายลายมือชื่อผู้ตักเตือนไว้เอกสารดังกล่าวมีข้อความที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความผิดที่กระทำและให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไปจึงมีลักษณะเป็นการตักเตือนโจทก์ในความผิดนั้นแล้วหาใช่เป็นเพียงบันทึกการเตือนด้วยวาจาไม่เมื่อโจทก์ขาดงานเป็นการละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีกจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ47(3).
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย จำเลย เลิกจ้างโจทก์ โดย ไม่ มี ความผิด และ ไม่ ปรากฏ สาเหตุ เป็น การ เลิกจ้าง ท ี่ไม่ เป็นธรรม ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหาย จาก การ เลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม และ ค่าชดเชย
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ ปฏิบัติ ฝ่าฝืนคำสั่ง และ ระเบียบ การ ทำงาน ของ จำเลย อัน เป็น การ เสียหาย อย่างร้ายแรง ต่อ จำเลย มี เหตุ อัน สมควร ที่ จะ เลิกจ้าง และ เป็นธรรม แก่โจทก์ กล่าวคือ โจทก์ ไม่ ตั้งใจ ปฏิบัติงาน เสพสุรา หรือ ของมึนเมาจน ไม่ สามารถ ปฏิบัติงาน ได้ ขาดงาน เป็น ประจำ ละทิ้ง หน้าที่ เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อ กัน โดย ไม่ มี เหตุ อัน สมควร โจทก์ ได้ ทำ หนังสือภาคทัณฑ์ ไว้ ว่า ยอม ให้ จำเลย ลงโทษ พักงาน 7 วัน และ สัญญา ว่า จะไม่ ขาดงาน หรือ ดื่ม สุรา จน เมามาย อีก มิฉะนั้น ยอม ให้ ปลด จาก งานได้ ใน ทันที แต่ โจทก์ ก็ ยัง ดื่มสุรา เมามาย จน ทำงาน ไม่ ได้ และขาดงาน เป็น เวลา สาม วัน ติดต่อ กัน โดย ไม่ มี เหตุ อัน สมควร อีกหลายครั้ง จำเลย ได้ ว่ากล่าว ตักเตือน ด้วย วาจา และ ลายลักษณ์ อักษรแล้ว แต่ โจทก์ ไม่ เชื่อฟัง กลับ ทำ การ อัน เป็น ที่ เสียหาย แก่จำเลย ต่อไป จำเลย จึง บอก เลิกจ้าง โจทก์ โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับเงิน ต่างๆ ตาม ฟ้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า โจทก์ ขาด งาน เป็น การ ละทิ้ง หน้าที่แต่ ไม่ ถึง 3 วัน ทำงาน ติดต่อ กัน มี เหตุ สมควร ที่ จะ เลิกจ้าง ได้ไม่ เป็น การ เลิกจ้าง ที่ ไม่ เป็นธรรม จำเลย ไม่ ต้อง ใช้ ค่าเสียหายและ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า แต่ จำเลย ไม่ ได้ เตือน โจทก์เป็น หนังสือ ก่อน เลิกจ้าง จึง ต้อง จ่าย ค่าชดเชย พิพากษา ให้ จำเลยจ่าย ค่าชดเชย คำขอ อื่นๆ ให้ ยกเสีย
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า พิเคราะห์ แล้ว เอกสาร หมาย ล.1มี ข้อความ ว่า ‘……เรียน นาย บุญมี เนื่องด้วย ท่าน ได้ ประพฤติผิดระเบียบ ของ ห้าง ดังนี้ …. 16. ขาดงาน บ่อย ไม่ ตั้งใจ ทำงาน….ถือ ว่า เป็น การ กระทำ ผิด ระเบียบ ของ ห้างฯ จึง ขอ แจ้ง ให้ ท่านทราบ ไว้ เป็น ลายลักษณ์ อักษร ทั้งนี้ เพื่อ ท่าน จะ ได้ แก้ไขปรับปรุง ตนเอง ให้ เหมาะสม ต่อไป โดย การ ลงโทษ ดังนี้ เตือน ด้วย วาจา …….’ ซึ่ง ท้าย เอกสาร ฉบับนี้ โจทก์ ได้ ลง ลายมือชื่อ รับ ทราบต่อท้าย ลายมือชื่อ ผู้ ตักเตือน รับทราบ รายงาน ความประพฤติ แล้วยอมรับ ว่า มี ความผิด ดังกล่าว จริง และ รับ ว่า จะ แก้ไข ปรับปรุงความ ประพฤติ ให้ เหมาะสม ต่อไป ดังนี้ เห็นว่า เอกสาร ดังกล่าว มีข้อความ ที่ จำเลย ได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ถึง ความผิด ที่ กระทำ และให้ โจทก์ แก้ไข ปรับปรุง ตนเอง ให้ เหมาะสม ต่อไป หนังสือ ดังกล่าว จึงมี ลักษณะ เป็น การ ตักเตือน โจทก์ ใน ความผิด นั้น แล้ว หา ใช่ เพียงบันทึก การ เตือน ด้วย วาจา ดัง ความเห็น ของ ศาลแรงงานกลาง ไม่ เมื่อโจทก์ ยัง กระทำ ผิด ระเบียบ ข้อบังคับ โดย การ ขาดงาน เป็น การ ละทิ้งหน้าที่ ซ้ำ อีก จำเลย จึง มี สิทธิ เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ ต้อง จ่ายค่าชดเชย ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย แก่ โจทก์ นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง.