คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่ตัวการให้สัตยาบันต่อการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทนต่อบุคคลภายนอกอันมีผลทำให้นิติกรรมซึ่งไม่ผูกพันตัวการกลับเป็นผูกพันตัวการโดยตรงและทำให้ตัวแทนหลุดพ้นความรับผิดที่มีต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823นั้นไม่ทำให้ตัวแทนหลุดพ้นจากความรับผิดต่อตัวการในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนกระทำนอกเหนือขอบอำนาจนั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา812 จำเลยที่1เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันบ.เป็นลูกค้าได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับสาขาธนาคารโจทก์โดยมีส.เป็นผู้ค้ำประกันก่อนที่จำเลยที่1จะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการเมื่อจำเลยที่1เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการได้ให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ทำสัญญาไว้มากเป็นการเกินขอบอำนาจของผู้จัดการสาขาต่อมาบ.ถึงแก่กรรมธนาคารโจทก์ทราบแล้วไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องหรือฟ้องเรียกหนี้จากกองมรดกของบ.ลูกหนี้หรือจากส.ผู้ค้ำประกันทั้งๆที่มีโอกาสจะทำได้จนโจทก์หมดสิทธิฟ้องเพราะขาดอายุความมรดกเมื่อบ.มีทรัพย์สินและโจทก์มีโอกาสจะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงหากดำเนินการฟ้องร้องหนี้นั้นดังนี้การที่โจทก์ไม่ฟ้องร้องย่อมเป็นการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายถือเป็นเหตุที่เจ้าหนี้มีส่วนทำความผิดให้เกิดความเสียหายหรือนัยหนึ่งความเสียหายเกิดจากการละเว้นการกระทำของโจทก์ที่ไม่ยอมบำบัดปัดป้องไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้นจำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวแทนผู้กระทำการนอกเหนือขอบอำนาจจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย.(ที่มา-เนติฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ จำเลย ที่ 1ชำระ เงิน 441,746.38 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 1ไม่ ชำระ ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ แทน เป็น เงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ข้อเท็จจริง รับ ฟัง เป็น ยุติ ตามที่ โจทก์ จำเลย นำสืบ รับกัน ว่า ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาบางกะปิ ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ได้ รับ แต่ตั้ง เป็น ผู้จัดการ ธนาคาร สาขาดังกล่าว เมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2519 โดย มี จำเลย ที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การ ปฏิบัติงาน ของ จำเลย ที่ 1 ว่า หาก จำเลย ที่ 1ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท หรือ เจตนา ทุจริต หรือ ทุจริต ต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกง หรือ อื่นๆ อัน เป็น เหตุ ให้ ธนาคาร โจทก์ ได้รับ ความ เสียหาย ไม่ ว่า ด้วย ประการ ใดๆ จำเลย ที่ 2 ยินยอม ใช้ค่า เสียหาย ให้ ธนาคาร โจทก์ ใน วงเงิน 200,000 บาท จำเลย ที่ 1 มีหน้าที่ ต้อง ปฏิบัติ ตาม หนังสือ มอบอำนาจ ของ ธนาคาร โจทก์ เอกสารหมาย จ.2 รวมทั้ง ระเบียบ และ ข้อบังคับ การ ปฏิบัติ งาน ที่ ธนาคารโจทก์ กำหนด ไว้ การ ให้ ลูกค้า เบิก เงิน เกิน บัญชี ถ้า มี หลักทรัพย์ประกัน ผู้จัดการ สาขา มี อำนาจ ให้ เบิก เงิน เกิน บัญชี ได้ ไม่เกิน100,000 บาท แต่ ถ้า ไม่ มี หลักทรัพย์ ประกัน มี แต่ บุคคล ค้ำประกันต้อง ไม่เกิน 50,000 บาท นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ ใจหาญ ได้ ทำสัญญา เบิก เงิน เกิน บัญชี กับ ธนาคาร โจทก์ สาขา บางกะปิ ก่อน ที่จำเลย ที่ 1 จะ รับ หน้าที่ เป็น ผู้จัดการ สาขา ใน วงเงิน ไม่เกิน50,000 มี กำหนด 6 เดือน โดย มี นาย สันทัด นิพิฏฐกุล เป็น ผู้ค้ำประกันใน วงเงิน 50,000 บาท ต่อมา เมื่อ จำเลย ที่ 1 เข้า รับ หน้าที่ผู้จัดการ สาขา ดังกล่าว ใน วันที่ 18 มีนาคม 2520 นางสาว บรรจง ได้ ขอต่ออายุ สัญญา เบิก เงิน เกิน บัญชี ต่อไป อีก 2 ครั้ง ครั้ง ละ 6 เดือน จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ อนุมัติ และ หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 1 ยังคง ให้นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ เบิก เงิน เกิน บัญชี ต่อไป เกิน วงเงินที่ ทำ สัญญา เบิก เงิน เกิน บัญชี ไว้ มาก จน ธนาคาร โจทก์ ต้อง มีหนังสือ ถึง จำเลย ที่ 1 ให้ แก้ไข รวม 2 ครั้ง ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ก็ ได้จัดการ ให้ นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ ติดต่อ กับ ธนาคาร โจทก์ และธนาคาร โจทก์ ได้ อนุญาต เมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2521 ให้ นางสาว บรรจงหรือ สิรินิตย์ ผ่อน ชำระ ไม่ ต่ำกว่า เดือนละ 15,000 บาท ตั้งแต่เดือน กันยายน 2521 ถึง เดือน ธันวาคม 2521 ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล.1แต่ จำเลย ที่ 1 ยัง คง ให้ นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ เบิก เงินเกิน บัญชี ต่อ ธนาคาร โจทก์ ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 1แก้ไข อีก นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ คง เบิก เงิน เกิน บัญชี จน ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2522 ธนาคาร โจทก์ ทราบ เรื่องดังกล่าว เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 และ ธนาคาร โจทก์ ได้ มีหนังสือ ให้ จำเลย ที่ 1 ชี้แจง ว่า จะ แก้ไข อย่างไร ธนาคาร จึง จะ ไม่เสียหาย เมื่อ วันที่ 19 มีนาคม 2523 ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ.17 ปรากฏว่า นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ เป็น หนี้ เบิก เงิน เกิน ชัญชี จากธนาคาร โจทก์ ถึง 441,746.38 บาท ธนาคาร โจทก์ จึง มี คำสั่ง ไล่ จำเลยที่ 1 ออก เมื่อ วันที่ 9 เมษายน 2523
มี ปัญหา ที่ โต้เถียง กัน ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 จะ ต้อง รับผิด ในความ เสียหาย เนื่องจาก การ กระทำ นอกเหนือ ขอบ อำนาจ ของ จำเลย ที่ 1ต่อ ธนาคาร โจทก์ หรือ ไม่ เพียงใด จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา เป็น ประการแรก ว่า การ ที่ ธนาคาร โจทก์ ยอม รับ ข้อเสนอ ของ นางสาว บรรจง หรือสิรินิตย์ โดย ยอม ให้ ผ่อน ชำระ หนี้ ต่อ ธนาคาร โจทก์ โดย ตรง เป็นรายเดือน ตาม เอกสาร หมาย ล.1 นับ ได้ ว่า เป็น การ ให้ สัตยาบัน แก่การ ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ นอกเหนือ ขอบอำนาจ ตัวแทน จน เป็น นิติกรรมผูกพัน ขึ้น ระหว่าง โจทก์ กับ บุคคล ภายนอก โดยตรง แล้ว จำเลย ที่ 1จึง หลุดพ้น ความ รับผิด เห็นว่า การ ที่ ธนาคาร โจทก์ ยินยอม ให้นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ ผ่อน ชำระ หนี้ กับ ธนาคาร เป็น การ ให้สัตยาบัน ของ ธนาคาร โจทก์ ต่อ การ กระทำ นอกเหนือ ขอบอำนาจ ของ จำเลยที่ 1 ตัวแทน กับ นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ บุคคล ภายนอก อัน มี ผลทำ ให้ นิติกรรม ซึ่ง ไม่ ผูกพัน ตัวการ กลับ เป็น ผูกพัน ตัวการ โดยตรง และ ทำ ให้ จำเลย ที่ 1 ตัวแทน หลุดพ้น ความ รับผิด ที่ มี ต่อ นางสาวบรรจง หรือ สิรินิตย์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823ส่วน ความ รับผิด ระหว่าง จำเลย ที่ 1 ตัวแทน กับ ธนาคาร โจทก์ ตัวการจะ มี เพียงใด หาก มี ความ เสียหาย เกิด ขึ้น เป็น ไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 ไม่ เกี่ยวกับ การ ให้ สัตยาบันดังกล่าว จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ หลุดพ้น ความ รับผิด เนื่องจาก มี การ ให้สัตยาบัน ของ ธนาคาร โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ประการ ต่อมา ว่า การที่ ธนาคาร โจทก์ เพิกเฉย ไม่ บังคับ ชำระ หนี้ เอา จาก ลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้ จน ลูกหนี้ ถึงแก่กรรม และ สิทธิ เรียกร้อง จากกองมรดก ขาด อายุความ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์เห็นว่า ประเด็น ดังกล่าว จำเลย ทั้ง สอง ได้ ยกขึ้น เป็น ข้อ ต่อสู้ไว้ ใน คำ ให้การ แล้ว แต่ ศาลชั้นต้น ไม่ ได้ กำหนด เป็น ประเด็นข้อ พิพาท ไว้ เพราะ เห็น ว่า โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1 รับผิด ในเรื่อง ตัวแทน จึง ต่างกับ ความ รับผิด ของ ลูกหนี้ ซึ่ง จำเลย ทั้ง สองได้ โต้แย้ง คัดค้าน ไว้ ตาม คำแถลง คัดค้าน ลง วันที่ 8 มีนาคม 2525และ ใน ชั้นอุทธรณ์ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ก็ ได้ แก้ อุทธรณ์ ใน ประเด็นดังกล่าว ไว้ เช่นกัน ประเด็น ดังกล่าว จึง ยัง ไม่ หมด ไป และ เห็นว่าประเด็น ดังกล่าว นี้ เป็น ประเด็น เรื่อง ความ เสียหาย ของ โจทก์ ที่โจทก์ จะ ได้ รับ และ เป็น หน้าที่ ของ โจทก์ ซึ่ง เป็น ตัวการ จะ ต้องนำสืบ ถึง ความ เสียหาย อยู่ แล้ว แต่ ปรากฏ ว่า โจทก์ นำสืบ แต่ เพียงจำนวน หนี้ ที่ นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ เบิก เงิน เกิน บัญชี จากธนาคาร โจทก์ โดย โจทก์ หา ได้ นำสืบ ถึง ความ เสียหาย ที่ ธนาคาร โจทก์จะ ได้ รับ อัน เนื่องมา จาก การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ไม่ และ ไม่ปรากฏ ว่า ธนาคาร โจทก์ ต้อง เสียหาย เพราะ ไม่ อาจ ติดตาม เรียกหนี้สิน คืน จาก ลูกหนี้ ได้ เพียงใด ตรงข้าม จำเลย ทั้ง สอง กลับ นำสืบได้ ความ ว่า ธนาคาร โจทก์ ไม่ ได้ ดำเนินการ เรียกร้อง หรือ ฟ้องเรียก หนี้ จาก นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ ลูกหนี้ หรือ จาก นายสันทัด นิพิฏฐกุล ผู้ค้ำประกัน และ หลังจาก นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ลูกหนี้ ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2522 ธนาคาร โจทก์ ทราบเรื่อง เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ธนาคาร โจทก์ มี คำสั่ง ไล่จำเลย ที่ 1 ออก จาก งาน เมื่อ วันที่ 9 เมษายน 2523 ปรากฏ ตาม คำสั่งธนาคาร โจทก์ เอกสาร หมาย ล.3 ธนาคาร โจทก์ เพิ่ง มา ฟ้อง คดี นี้เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2524 โดย ที่ ธนาคาร โจทก์ หา ได้ ดำเนินการฟ้องร้อง เอา จาก กองมรดก ของ นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ ไม่ จน หมดสิทธิ ฟ้อง เรียก ให้ กองมรดก ของ นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ รับผิดใช้ หนี้ เพราะ เกิน 1 ปี ได้ ความ ต่อไป ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สอง นำสืบว่า นางสาว บรรจง หรือ สิรินิตย์ มี ที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 90 ตารางวาเอกสาร หมาย ล.8 สิทธิ การ เช่า ตึกแถว 4 ชั้น 2 ห้อง เอกสาร หมาย ล.9ล.10 นาย สันทัด พยาน จำเลย เบิกความ ยืนยัน ว่า ทรัพย์สิน ดังกล่าว มีราคา สี่ ถึง ห้าแสน บาท และ นอกจาก นี้ นาย สันทัด ก็ ยัง ได้ค้ำประกันหนี้ ดังกล่าว ไว้ ใน วงเงิน 50,000 บาท อีกด้วย แต่ ธนาคารโจทก์ ก็ หา ได้ ดำเนินการ เรียกร้อง เอา กับ กอง มรดก หรือผู้ค้ำประกัน ไม่ ทั้งๆ ที่ ธนาคาร โจทก์ มี โอกาส จะ ทำ ได้ ซึ่ง จะ ทำให้ ธนาคาร โจทก์ ไม่ ต้อง ได้ รับ ความ เสียหาย เพราะ ธนาคาร โจทก์ มีโอกาส จะ ได้ รับ ชำระ หนี้ โดย สิ้นเชิง แต่ ธนาคาร โจทก์ กลับ ไม่กระทำ เช่นนั้น ซึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223 วรรคสองการ ที่ ละเลย ไม่ บำบัด ปัดป้อง หรือ บรรเทา ความ เสียหาย นั้น ถือเป็น เหตุ ที่ เจ้าหนี้ มี ส่วน ทำ ความผิด ให้ เกิด ความ เสียหายหรือ นัย หนึ่ง ความ เสียหาย เกิดจาก การ ละเว้น การ กระทำ ของ ธนาคารโจทก์ ผู้ เป็น เจ้าหนี้ ที่ ไม่ ยอม บำบัด ปัดป้อง ไม่ ให้ ความเสียหาย เกิดขึ้น นั่นเอง ดังนั้น จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ต่อโจทก์ เมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 2 ในฐานะ ผู้ค้ำประกัน จึง ไม่ ต้อง รับผิด ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สองนอกจาก นี้ ไม่ จำ ต้อง วินิจฉัย ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้งสอง รับผิด ต่อ โจทก์ ศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ทั้ง สองฟัง ขึ้น’
พิพากษา กลับ ยกฟ้อง โจทก์ ค่าฤชา ธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล เป็น พับ

Share