คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้แม้ภายหลังจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินในสัญญานั้นก็ไม่ทำให้การกู้ยืมเงินอันมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้แต่เดิมเสียไปโจทก์ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีตามหนังสือสัญญากู้ที่ทำไว้เดิมได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ บังคับ จำเลย ชำระ หนี้ เงิน กู้ แก่ โจทก์ พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ เงิน แก่ โจทก์ 200,000 บาทพร้อมด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่ วันที่ 2 ตุลาคม2522 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ กับ ให้ จำเลย ใช้ ค่า ฤชาธรรมเนียม แทนโจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ 1,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘…จำเลย ได้ กู้ เงิน โจทก์ จำนวน 200,000บาท และ ได้ ทำ หนังสือ กู้ยืม เงิน ลง ลายมือชื่อ จำเลย เป็น ผู้ กู้ให้ โจทก์ ไว้ การ กู้ยืม จึง มี หลักฐาน เป็น หนังสือ ลง ลายมือชื่อจำเลย ผู้กู้ เป็น สำคัญ ซึ่ง โจทก์ ย่อม ฟ้องร้อง ให้ บังคับ คดี ตามหนังสือ สัญญา กู้ยืม เดิม จำนวน 200,000 บาท จาก จำเลย ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก การ ที่ นาย สมนึก ผู้เขียน สัญญา อ้างว่า ได้ รับ มอบอำนาจ จาก จำเลย ให้ มา กู้ยืม เงินเพิ่มเติม และ ได้ แก้ไข เพิ่มเติม จำนวน เงิน จาก เดิม 200,000 บาทเป็น 450,000 บาท เป็น การ เพิ่มเติม จำนวน เงิน กู้ยืม อีก จำนวน หนึ่งหา ทำให้ การ กู้ยืม อัน มี หลักฐาน แห่ง การ กู้ยืม เป็น หนังสือ ที่จำเลย ทำ ให้ ไว้ แก่ โจทก์ เดิม เสีย ไป ไม่ จำเลย จึง ต้อง รับผิดใช้ หนี้ เงิน กู้ยืม จำนวน 200,000 บาท ตาม หลักฐาน เป็น หนังสือ ที่ทำ ไว้ เดิม ให้ แก่ โจทก์ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบ แล้ว ฎีกา จำเลยฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน’

Share