คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เงินบำเหน็จค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินคนละประเภทและกำหนดขึ้นโดยกฎหมายต่างกันการวินิจฉัยเงินประเภทหนึ่งหามีผลกระทบถึงเงินอีกประเภทหนึ่งไม่เพราะหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกับการจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างดังกล่าวตามกฎหมาย.อาจกำหนดแตกต่างกันได้การกระทำของลูกจ้างกรณีเดียวกันจึงอาจเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างและในคราวเดียวกันอาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ได้.ซึ่งจะทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวแตกต่างกันได้ฉะนั้นเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเพราะเหตุที่ถูกควบคุมตัวนั้นไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร.โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับจำเลยซึ่งจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จและจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตา583หรือไม่แล้วจึงเป็นการวินิจฉัยไม่ครบถ้วนทุกประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ จำเลย จ่าย เงิน บำเหน็จ ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทนการ บอกล่าว ล่วงหน้า จาก การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ จำเลย ให้การว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย เงิน ใดๆ ให้ แก่ โจทก์ เนื่องจาก โจทก์ปฏิบัติ ผิด วินัย อย่าง ร่ายแรง ตาม ข้อบังคับ ว่า ด้วย วินัย พนักงานศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย เงิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ แต่จำเลย มี สิทธิ หัก กลบ ลบ หนี้ ก่อน จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี แรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ได้ความ เป็น ยุติว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ต่อมา วันที่ 14 มกราคม 2528โจทก์ ถูก เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับกุม และ ถูก ควบคุม ตัว อยู่ ที่เรือนจำกลาง สมุทรปราการ ตลอดมา จึง ทำ ให้ โจทก์ ไม่ สามารถ ไป ทำงานตาม ปกติ ได้ นับ ตั้งแต่ วันนั้น ติดต่อ กัน มา จน ถึง วันที่ 12มีนาคม 2528 โดย มิได้ ลา ตาม ระเบียบ ของ จำเลย จำเลย จึง มี คำสั่งไล่ โจทก์ ออก จาก งาน ฐาน ละทิ้ง หน้าที่ โดย กล่าวหา ว่า โจทก์ ได้ละทิ้ง หน้าที่ ขาด งาน ไป ตั้งแต่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2528 ถึงวันที่ 12 มีนาคม 2528 ซึ่ง เป็น วัน มี คำสั่ง ไล่ ออก จาก งาน โดยไม่ ทราบ เหตุผล หรือ มี ใบลา ตาม ระเบียบ เป็น การ ประพฤติ ผิด วินัยอย่าง ร้ายแรง ตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์ ว่า การ ที่ โจทก์ ขาด งาน ติดต่อ กัน เกินกว่า 3 วันซึ่ง จะ ถือ ว่า ไม่ เป็น ความผิด นั้น ต้อง เป็น กรณี ที่ มี เหตุสุดวิสัย ซึ่ง โจทก์ ไม่ สามารถ ติดต่อ หรือ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ถึงเหตุ ที่ ไม่ มา ทำงาน ตาม ปกติ แต่ ตาม ข้อเท็จจริง คดีนี้ โจทก์ยอมรับ อยู่ แล้ว ว่า ใน ระหว่าง ที่ ถูก ควบคุม ตัว โจทก์ ได้ ใช้ให้ เพื่อน ไป แจ้ง เหตุ ต่อ จำเลย เพียง แต่ ปฏิเสธ ว่า ไม่ ทราบ ว่าเพื่อน ได้ ไป แจ้ง เหตุ แก่ จำเลย หรือ ไม่ เท่านั้น แสดงว่า โจทก์สามารถ ติดต่อ บุคคล อื่น หรือ แจ้ง เหตุ ต่อ จำเลย ได้ ไม่ ใช่ มีเหตุ สุดวิสัย เมื่อ โจทก์ มิได้ แจ้ง เหตุ แก่ จำเลย ต้อง ถือ ว่าโจทก์ ขาด งาน โดย ไม่ มี เหตุ อัน สมควร อัน เป็น การ ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับ ของ จำเลย จำเลย มี สิทธิ เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ ต้อง จ่ายเงิน ใดๆ ให้ แก่ โจทก์
ศาลฎีกา พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า เงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และ สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ซึ่ง โจทก์ ฟ้อง เรียก จาก จำเลย เป็น เงินคน ละ ประเภท และ สิทธิ ของ ลูกจ้าง ที่ จะ ได้ รับ เงิน ดังกล่าวกำหนด ขึ้น โดย กฎหมาย ต่างกัน การ วินิจฉัย ถึง สิทธิ ของ ลูกจ้าง ว่าจะ ได้ รับ เงิน ประเภท ใด เมื่อ ถูก เลิกจ้าง หรือ นายจ้าง มี สิทธิที่ จะ ปฏิเสธ ไม่ จ่าย เงิน ประเภท ใด ให้ แก่ ลูกจ้าง ต้อง พิจารณาตาม บทกฎหมาย เกี่ยวกับ เงิน นั้นๆ แต่ ละ ประเภท ไป กล่าวคือ เงินบำเหน็จ ต้อง พิจารณา ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของ นายจ้าง ส่วน ค่าชดเชยและ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ต้อง พิจารณา ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 หรือ ข้อ 47 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 หรือ มาตรา 583 แล้วแต่ กรณีการ วินิจฉัย เงิน ประเภท หนึ่ง หา มี ผล กระทบ ถึง เงิน อีก ประเภทหนึ่ง ไม่ เพราะ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ นายจ้าง เกี่ยวกับ เงิน บำเหน็จอาจ กำหนด หลักเกณฑ์ หรือ เงื่อนไข ใน การ จ่ายเงิน แตกต่าง กับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ ได้ กรณี ที่ ระเบียบ ข้อบังคับ ของนายจ้าง กำหนด หลักเกณฑ์ หรือ เงื่อนไข ใน การ จ่าย เงิน บำเหน็จแตกต่าง กับ บทกฎหมาย ดังกล่าว ก็ จะ เห็น ได้ ชัด ว่า การ กระทำ ของลูกจ้าง กรณี เดียวกัน อาจ เป็น ความผิด ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของนายจ้าง ซึ่ง นายจ้าง มี สิทธิ ที่ จะ ปฏิเสธ ไม่ จ่าย เงิน บำเหน็จและ ใน คราว เดียวกัน อาจ ไม่ เป็น ความผิด ที่ เข้า ข้อยกเว้น ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ คุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่ง ทำให้ นายจ้าง ต้อง จ่ายค่าชดเชย หรือ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ก็ ได้ มิได้ หมายความว่า ถ้า การ กระทำ ของ ลูกจ้าง ไม่ เป็น ความผิด หรือ เป็น ความผิดแต่ ไม่ เข้า ข้อยกเว้น ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 แล้ว จะ ถือ ว่า ไม่ เป็น ความผิด ตามระเบียบ ข้อบังคับ ของ นายจ้าง หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 เสมอไป คดีนี้ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ว่า โจทก์ กระทำ ผิดฐาน ละทิ้ง หน้าที่ โดย ขาด งาน ไป ตั้งแต่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2528จน ถึง วันที่ 12 มีนาคม 2528 ซึ่ง เป็น วัน มี คำสั่ง ไล่ ออก จาก งานโดย ไม่ ทราบ เหตุผล โดย มิได้ ลา ตาม ระเบียบ ของ จำเลย ตาม ระเบียบข้อบังคับ ของ จำเลย กำหนด ว่า กรณี ที่ มี ความ จำเป็น ซึ่ง ไม่ อาจมา ทำงาน ตาม ปกติ ต้อง แจ้ง เหตุ ให้ จำเลย ทราบ เมื่อ โจทก์ มิได้แจ้ง เหตุ แก่ จำเลย เป็น การ ประพฤติ ผิด วินัย อย่าง ร้ายแรงตาม ข้อบังคับ ของ จำเลย เป็น การ ต่อสู้ ว่า ความผิด ของ โจทก์ นอกจากจะ เป็น ความผิด ซึ่ง ต้อง ด้วย ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แล้ว ยัง เป็น การ ต่อสู้ ว่า ความผิดของ โจทก์ เป็น ความผิด ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย ซึ่ง จำเลยไม่ ต้อง จ่าย เงิน บำเหน็จ และ เป็น ความผิด ซึ่ง ต้อง ด้วย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่ง จำเลย ไม่ ต้อง จ่ายค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า หา ใช่ ต่อสู้ เพียงว่า เป็น ความผิด ซึ่ง ต้อง ด้วย ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) ข้อเดียว ไม่ แต่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัยเฉพาะ ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า การ ที่ โจทก์ ไม่ ได้ ไป ทำงาน ตาม ปกติเพราะ เหตุ ที่ ถูก ควบคุม ตัว นั้น ไม่ ใช่ เป็น การ ละทิ้ง หน้าที่โดย ไม่ มี เหตุ อัน สมควร ซึ่ง จะ ต้อง ด้วย ประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) โดย ยัง มิได้ วินิจฉัย ว่า เป็นความผิด ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ จำเลย ซึ่ง จำเลย มี สิทธิ ปฏิเสธ ไม่จ่าย เงิน บำเหน็จ และ เป็น การ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบเกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย เป็น กรณี ที่ ร้ายแรง และ เป็น ความผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่ง จำเลย มี สิทธิ ที่ จะไม่ จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ให้ แก่โจทก์ หรือไม่ เป็น การ วินิจฉัย ไม่ ครบถ้วน ทุก ประเด็น ตาม ข้อต่อสู้ของ จำเลย แต่ เนื่องจาก ใน การ วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ดังกล่าวจำเป็น ต้อง อาศัย ข้อเท็จจริง ที่ ว่า จำเลย มี ระเบียบ ข้อบังคับหรือไม่ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย กำหนด ไว้ อย่างไร ทั้ง จำเลยโต้เถียง อยู่ ว่า ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ ถูก ควบคุม ตัว โจทก์ สามารถติดต่อ หรือ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ถึง เหตุ ขัดข้อง ที่ ไม่ อาจ มาทำงาน ตาม ปกติ ได้ การ ที่ โจทก์ ไม่ แจ้ง เหตุ แก่ จำเลย เป็น การฝ่าฝืน ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย นั้น เป็น ข้อเท็จจริง ที่ ยัง ไม่ยุติ ซึ่ง ข้อเท็จจริง ข้อ นี้ เป็น สาระ สำคัญ ใน การ วินิจฉัย ปัญหา ที่ว่า โจทก์ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของจำเลย เป็น กรณี ที่ ร้ายแรง ซึ่ง ต้อง ด้วย ประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) หรือไม่ หาก ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ตาม ที่ จำเลย โต้เถียง และ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย กำหนด ไว้เช่นนั้น จริง ก็ อาจ ถือ ได้ ว่า โจทก์ ฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบเกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย เป็น กรณี ที่ ร้ายแรง อัน เป็น ผล ให้จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย เงิน ทั้ง สาม ประเภท ให้ แก่ โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริง ดังกล่าว ยัง ไม่ ยุติ และ ข้อเท็จจริง ที่ มี อยู่ ไม่เพียงพอ แก่ การ วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย จำเป็น ต้อง ย้อน สำนวน ไปให้ ศาลแรงงานกลาง ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป เพื่อ ให้ ข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็น อัน ยุติ
พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ให้ ศาลแรงงานกลาง ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป เพื่อ ให้ ได้ ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ว่า จำเลย มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือไม่ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย กำหนด ไว้ว่า อย่างไร และ ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ ถูก ควบคุม ตัว โจทก์ สามารถติดต่อ หรือ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ ถึง เหตุ ที่ ไม่ สามารถ มา ทำงานตาม ปกติ หรือไม่ แล้ว วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ใน ประเด็น ที่ ยัง ขาด ให้ครบถ้วน และ พิพากษา ใหม่

Share