คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยแทงผู้ตายและแทงผู้เสียหายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุแล้วพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยแทงผู้ตายเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุและแทงผู้เสียหายโดยมิได้มีเจตนาฆ่าแต่มีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจึงลงโทษฐานทำร้ายผู้เสียหายนั้นทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยใช้มีดของกลางแทงผู้ตายและผู้เสียหายตรงอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกายจำเลยมีเจตนาฆ่าซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงมิได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 91,288
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็น การ ป้องกัน พอสมควร แก่ เหตุ พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลย แทง ผู้ตาย เป็น การ ป้องการ พอ สมควรแก่ เหตุ และ แทง ผู้เสียหาย โดย มิได้ มี เจตนา ฆ่า จำเลย มี เจตนาเพียง ทำร้าย ร่างกาย ผู้เสียหาย เท่านั้น พิพากษาแก้ เป็น ว่าจำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ให้ จำคุก 1 ปีและ ริบ มีด ของกลาง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ฟ้อง กล่าวหา จำเลย กระทำความผิด เป็น 2 กรรม คือ ฆ่า นาย ประกอบ ผู้ตาย และ พยายาม ฆ่านาย เกรียงศักดิ์ ผู้เสียหาย ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย การ กระทำของ จำเลย ที่ แทง ผู้ตาย และ ผู้เสียหาย เป็น การ ป้องกัน พอ สมควรแก่ เหตุ แล้ว พิพากษา ยกฟ้อง นั้น เป็น การ ยกฟ้อง โดย อาศัยข้อเท็จจริง ทั้ง สอง กรรม และ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลยแทง ผู้ตาย เป็น การ ป้องกัน พอ สมควร แก่ เหตุ จำเลย แทง ผู้เสียหายโดย มิได้ มี เจตนา ฆ่า จำเลย เจตนา เพียง ทำร้าย ร่างกาย ผู้เสียหายจึง ลงโทษ จำเลย ฐาน ทำร้าย ร่างกาย ผู้เสียหาย นั้น ก็ เป็น การ ยกฟ้องข้อหา ฐาน ฆ่า ผู้ตาย และ พยายาม ฆ่า ผู้เสียหาย โดย อาศัย ข้อเท็จจริงเช่นเดียว กัน ส่วน ฎีกา ของ โจทก์ ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย อ้าง ว่าจำเลย ใช้ มีด ของกลาง แทง ผู้ตาย และ ผู้เสียหาย ตรง อวัยวะ ส่วนสำคัญ ของ ร่างกาย จำเลย มี เจตนา ฆ่า ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ฟ้อง ปัญหาว่า จำเลย มี เจตนา ห่า หรือ ไม่ เป็น ปัญหา ข้อเท็จจริง ฎีกา ของโจทก์ จึง เป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ซึ่ง ต้องห้าม ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
พิพากษา ยก ฎีกา ของ โจทก์

Share