คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาลฯมาตรา62ทวิได้บัญญัติถึงกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมต้องปฏิบัติตามนั้นจะนำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาลพ.ศ.2496ข้อ49ซึ่งใช้แก่ญัตติร่างเทศบัญญัติทั่วๆไปมาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ที่1เป็นนายกเทศมนตรีโจทก์ที่2เป็นเทศมนตรีในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่1ครั้งแรกสภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ.2526แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว(ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน)เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่1ครั้งที่2เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรกอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาลฯมาตรา62ทวิดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่2จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา71ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้นร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่มาตรา62ทวิบัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่งและจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ตามมาตรา45การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น นายกเทศมนตรีเทศบาล เมืองอุดรธานี โจทก์ ที่ 2 เป็น เทศมนตรี จำเลย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด อุดรธานี เมื่อ วันที่ 12 มกราคม 2526 ได้ มีการ ประชุม สภาเทศบาล เมืองอุดรธานี สมัย วิสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี2526 ครั้งที่ 1 สมาชิก สภาเทศบาล ได้ มี มติ ไม่ รับ หลักการ แห่งร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ รายจ่าย เพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) ประจำปี 2526ซึ่ง คณะเทศมนตรี เป็น ผู้เสนอ คณะ เทศมนตรี จึง ได้ ขอ ถอน ญัตติต่างๆ ที่ เหลือ ทั้งหมด เพื่อ พิจารณา ทบทวน ใหม่ ต่อมา วันที่16 มกราคม 2526 สภา เทศบาล เมืองอุดรธานี ได้ ประชุม สมัยวิสามัญสมัยที่ 1 ประจำปี 2526 ครั้งที่ 2 ประธาน สภาเทศบาล ได้ อนุญาต ให้คณะเทศมนตรี เสนอ ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ รายจ่าย เพิ่มเติม (ฉบับที่1) ประจำปี 2526 เข้า พิจารณา ใหม่ สภา เทศบาล เมืองอุดรธานี มีมติ กลับ มติเดิม ให้ รับ หลักการ ตาม ร่าง เทศบัญญัติ ดังกล่าวและ ได้ พิจารณา วาระ ที่ 2 และ ที่ 3 จน ครบถ้วน พร้อมกับ ได้ ลงมติให้ ตรา เป็น เทศบัญญัติ ได้ อัน เป็น ผล ให้ ลบล้าง มติ ที่ ไม่ รับหลักการ ใน การ ประชุม ครั้งที่ 1 จำเลย โดย ไม่ มี อำนาจ ตาม กฎหมายได้ สั่ง ให้ ประธาน สภา เทศบาล จัดส่ง รายงาน การ ประชุม สภา เทศบาลสมัย วิสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2526 ครั้งที่ 1 ไป ยัง จังหวัด โดยด่วนที่สุด ซึ่ง ประธาน สภา เทศบาล ได้ จัดส่ง สำเนา รายงาน การ ประชุมทั้งสอง ครั้ง ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ รายจ่าย เพิ่มเติม (ฉบับที่1) ประจำปี 2526 (ฉบับ ทบทวน ใหม่) พร้อมด้วย สรุป รายงาน มติ ต่างๆใน การ ประชุม ไป ยัง จำเลย เพื่อ ให้ ดำเนินการ ตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 62 แต่ จำเลย ได้ ใช้ อำนาจ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 62 ทวิ โดย ที่ ไม่ มี อำนาจกระทำ ได้ ออก คำสั่ง จังหวัด อุดรธานี เรื่อง ให้ ระงับ การ นำ มติสภา เทศบาล ที่ มิชอบ ด้วย กฎหมาย ไป ใช้ บังคับ หรือ ดำเนินการต่อไป ไม่ ว่า กรณี ใดๆ เป็น การ ชั่วคราว คำสั่ง เรื่อง ให้ ระงับการ นำ มติ สภา เทศบาล ที่ มิชอบ ด้วย กฎหมาย ไป ใช้ บังคับ หรือดำเนินการ ไม่ ว่า ใน กรณี ใดๆ คำสั่ง เรื่อง พิจารณา เห็นชอบ ด้วยกับ สภา เทศบาล ที่ ไม่ รับ หลักการ แห่ง ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) ประจำปี 2526 ใน การ ประชุม สมัย วิสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2526 ครั้งที่ 1 คำสั่ง เรื่อง ให้ คณะเทศมนตรีเทศบาล เมืองอุดรธานี สิ้นสุด ลง คำสั่ง เรื่อง แต่งตั้ง คณะเทศมนตรีเทศบาล เมืองอุดรธานี ชั่วคราว และ ให้ คณะเทศมนตรี มอบหมาย งาน ในหน้าที่ ให้ กับ คณะเทศมนตรี ชั่วคราว และ คำสั่ง เรื่อง แต่งตั้งคณะเทศมนตรี เทศบาล เมืองอุดรธานี ชั่วคราว อัน เป็น การ กระทำ ละเมิดต่อ โจทก์ ทั้งสอง ขอ ให้ ศาล พิพากษา ว่า คำสั่ง ของ จำเลย ทั้ง 6ฉบับ ดังกล่าว เป็น โมฆะ ให้ จำเลย สั่ง เพิกถอน หาก จำเลย ไม่ ปฏิบัติตาม ก็ ให้ ถือ เอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การ แสดง เจตนา แทน
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด อุดรธานี มี อำนาจหน้าที่ ควบคุม ดูแล เทศบาล เมืองอุดรธานี ให้ ปฏิบัติ ตาม กฎหมายการ สั่งการ ของ จำเลย ตาม ฟ้อง เป็น การ กระทำ หน้าที่ โดยชอบ ด้วยกฎหมาย ตาม ขั้นตอน ที่ กฎหมาย บัญญัติ ไว้ คำสั่ง จึง ไม่ เป็น โมฆะและ ไม่ เป็น ละเมิด ต่อ โจทก์ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ ทั้งสอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์มี ว่า จะ นำ ระเบียบ กระทรวง มหาดไทย ว่าด้วย ข้อบังคับ การ ประชุมสภา เทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ 49 มา ใช้ บังคับ แก่ ญัตติ ร่าง เทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่าย เพิ่มเติม ได้ หรือไม่
พิเคราะห์ แล้ว ระเบียบ กระทรวง มหาดไทย ว่าด้วย ข้อบังคับ การประชุม สภา เทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ 49 วรรคแรก มี ข้อความ ว่า’ญัตติ ร่าง เทศบัญญัติ ใด ซึ่ง ที่ ประชุม ได้ ลง มติ ไม่ รับ หลักการตาม ความ ใน ข้อ 44 ก็ ดีฯลฯ ให้ ถือ ว่า ร่าง เทศบัญญัติ นั้น เป็นอัน ตก ไป มิให้ เสนอ ญัตติ ร่าง เทศบัญญัติ ที่ มี หลักการ อย่างเดียวกัน ใน สมัย ประชุม นั้น อีก เว้นแต่ ประธาน สภา เทศบาล จะ อนุญาตใน เมื่อ เหตุการณ์ เปลี่ยนแปลง ไป’ จาก ข้อความ ดังกล่าว เห็น ได้ ว่า ข้อบังคับ นี้ ใช้ ได้ แก่ ญัตติ ร่าง เทศบัญญัติ ทั่วๆ ไป ที่พระราชบัญญัติ เทศบาล มิได้ บัญญัติ ไว้ โดย เฉพาะ แต่ ใน กรณีญัตติ ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ นั้น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 62 ทวิ ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติเทศบาล(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติ ว่า’ ‘ใน กรณี ที่ สภา เทศบาลไม่ รับ หลักการ แห่ง ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ ใน กรณี แห่ง เทศบาลตำบล ให้ ประธาน สภา เทศบาล ส่ง ร่าง เทศบัญญัติ นั้น ไป ยัง นายอำเภอเพื่อ ส่ง ไป ยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเร็ว ใน กรณี แห่ง เทศบาลเมือง และ เทศบาลนคร ให้ ประธาน สภา เทศบาล ส่ง ร่าง เทศบัญญัติ นั้นไป ยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณา ร่างเทศบัญญัติ นั้น ถ้า ผู้ว่าราชการจังหวัด เห็นชอบ ด้วย กับ สภา เทศบาลที่ ไม่ รับ หลักการ แห่ง ร่าง เทศบัญญัติ ให้ ร่าง เทศบัญญัติ นั้นตกไป ถ้า ผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่ เห็นชอบ ด้วย กับ สภา เทศบาล ที่ไม่ รับ หลักการ แห่ง ร่าง เทศบัญญัติ นั้น ให้ ส่งคืน สภา เทศบาลพิจารณา ใหม่ ใน กรณี ที่ สภา เทศบาล ยืนยัน ตาม เดิม ด้วย คะแนน เสียงไม่ น้อยกว่า สอง ใน สาม ของ จำนวน สมาชิก สภา เทศบาล ทั้งหมด ให้ร่าง เทศบัญญัติ นั้น ตก ไป แต่ ถ้า สภา เทศบาล ยืนยัน ตาม เดิม ด้วยคะแนน เสียง น้อยกว่า สอง ใน สาม ของ จำนวน สมาชิก สภา เทศบาล ทั้งหมดให้ ประธาน สภา เทศบาล ส่ง ร่าง เทศบัญญัติ นั้น ไป ยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อ ลงชื่อ อนุมัติ’ เมื่อ พระราชบัญญัติเทศบาลอัน เป็น กฎหมาย ได้ บัญญัติ ถึง กรณี ที่ สภา เทศบาล ไม่ รับ หลักการแห่ง ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ ไว้ โดย เฉพาะ ดังกล่าว แล้ว ก็ ต้องปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ แห่ง กฎหมาย ดังกล่าว จะ นำ ระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ว่า ด้วย ข้อบังคับ การ ประชุม สภาเทศบาล พ.ศ.2496 ข้อ 49มา ใช้ บังคับ ไม่ ได้ คดีนี้ ข้อเท็จจริง ที่ รับ กัน ฟัง ได้ ว่าใน การ ประชุม สภาเทศบาล เมืองอุดรธานี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1ประจำปี 2526 ครั้งที่ 1 เมื่อ วันที่ 12 มกราคม 2526 สภาเทศบาลได้ มี มติ ไม่ รับ หลักการ แห่ง ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2526 แต่ ประธาน สภาเทศบาลมิได้ ส่ง ร่าง เทศบัญญัติ นั้น ไป ยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด กลับอนุญาต ให้ นำ ร่าง เทศบัญญัติ งบประมาณ รายจ่าย เพิ่มเติม (ฉบับที่1) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2526 ซึ่ง มี ข้อความ เหมือน กับ ร่างเทศบัญญัติ งบประมาณ รายจ่าย เพิ่มเติม ที่ สภา ลงมติ ไม่ รับ หลักการดังกล่าว ยกเว้น ข้อความ ใน หน้า 27 รายการ สุดท้าย เข้า พิจารณาใน การ ประชุม สภา เทศบาล เมืองอุดรธานี สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1ประจำปี 2526 ครั้งที่ 2 เมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2526 เพื่อ จะ เอามติ ใน การ ประชุม ครั้งหลัง นี้ ไป ลบล้าง มติ ที่ สภา เทศบาล ไม่ รับหลักการ แห่ง ร่าง เทศบัญญัติ นั้น ใน การ ประชุม ครั้งแรก ซึ่ง เป็นการ ไม่ ปฏิบัติ ตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 62 ทวิจำเลย ใน ฐานะ ผู้ว่าราชการจังหวัด มี อำนาจ หน้าที่ ควบคุม ดูแลเทศบาล ใน จังหวัด ให้ ปฏิบัติ การ ตาม อำนาจ หน้าที่ โดย ถูกต้องตาม กฎหมาย มี อำนาจ เรียก รายงาน และ เอกสาร ใดๆ จาก เทศบาล มา ตรวจตาม ที่ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 71 บัญญัติ ไว้ จึง มีอำนาจ เรียก รายงาน การ ประชุม สภาเทศบาล และ ร่าง เทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่าย เพิ่มเติม ที่ สภา เทศบาล ไม่ รับ หลักการ จากประธาน สภาเทศบาล ได้ และ เมื่อ จำเลย ได้ พิจารณา ร่าง เทศบัญญัติดังกล่าว แล้ว เห็นชอบ ด้วย กับ สภา เทศบาล ที่ ไม่ รับ หลักการ แห่งร่างเทศบัญญัติ นั้น ร่างเทศบัญญัติ นั้น ก็ตก ไป ตาม ที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 62 ทวิ บัญญัติ ไว้ เทศมนตรีทั้ง คณะ ต้อง ออก จาก ตำแหน่ง และ จำเลย ใน ฐานะ ผู้ว่าราชการจังหวัดมี อำนาจ แต่งตั้ง คณะเทศมนตรี ชั่วคราว ได้ ตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 45 ซึ่ง แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติเทศบาล(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2519 มาตรา 3 ที่ จำเลย มี คำสั่ง ตาม หนังสือ ที่โจทก์ กล่าว ใน ฟ้อง จึง เป็น การ กระทำ ตาม อำนาจ หน้าที่ โดย ชอบด้วย กฎหมาย ไม่ เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ ที่ ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน ให้ โจทก์ ที่ 1 ใช้ ค่าทนายความ ชั้นฎีกา 1,000 บาทแทน จำเลย

Share