แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายหรือกล่าวในฟ้องด้วยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดเพราะอายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่จำเป็นต้องบรรยายหรือกล่าวในฟ้อง โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่2เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจำเลยที่2ยอมชดใช้ค่าเสียหายเพียง10,000บาทแก่โจทก์แสดงว่าจำเลยที่2ไม่ได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดค่าเสียหายต่อโจทก์แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วก็ตามถือเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหาจำต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งเพียงอย่างเดียวไม่จำเลยที่2จึงไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192เดิม(มาตรา193/24ใหม่)การนับอายุความจึงเริ่มนับต่อไปใหม่เสมือนไม่เคยนับอายุความมาก่อนโดยถืออายุความแห่งมูลหนี้เดิมคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโจทก์ยื่นคำฟ้องวันที่16ตุลาคม2532นับอายุความเริ่มต่อไปใหม่ตั้งแต่เดือนกันยายน2532จนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน1ปีคดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน 670,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน570,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ใน เบื้องต้น ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ ผู้ครอบครอง รถโดยสารประจำทาง สาย 3 หมายเลข ทะเบียน 10-3794 กรุงเทพมหานคร โดย มีจำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง ขับ รถ คัน ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม2527 เวลา กลางวัน โจทก์ โดยสาร รถ คัน ดังกล่าว ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ขับ ไปใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ไป ตาม ถนน จักรพงษ์ โฉม หน้า ไป ทาง สนามหลวง คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 2 ว่า จำเลย ที่ 1ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ตก จาก รถ ลง ไป ที่ พื้น ถนนหรือไม่ คดี โจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 ขาดอายุความ หรือไม่ และ โจทก์เสียหาย เพียงใด
ปัญหา เรื่อง ประมาท เลินเล่อ นั้น ข้อเท็จจริง ฟัง ตาม พยานหลักฐานโจทก์ ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว สูง ไป ถึง ที่เกิดเหตุซึ่ง เป็น ทางโค้ง และ แคบ เป็นเหตุ ให้ ล้อรถ ด้านหลัง ขวา ปีน เกาะกลางถนนทำให้ เกิด แรง เหวี่ยง จน เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ตก จาก รถ ลง ไป ที่ พื้น ถนนได้รับ บาดเจ็บ ดังนี้ ที่ โจทก์ ตก จาก รถ ลง ไป ที่ พื้น ถนน ได้รับ บาดเจ็บจึง เกิดจาก จำเลย ที่ 1 ขับ รถ โดยประมาท เลินเล่อ หาใช่ โจทก์ กระโดด ลงจาก รถ ไป เอง ไม่
ปัญหา เรื่อง อายุความ นั้น แม้ ตาม ฟ้อง จะ ปรากฏว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้เมื่อ พ้น 1 ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึงต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน แล้ว ก็ ตาม โจทก์ ก็ ไม่จำเป็น ต้อง บรรยาย หรือกล่าว ใน ฟ้อง ด้วย ว่าคดี โจทก์ ไม่ขาดอายุความ เพราะ เหตุใด เพราะ อายุความมิใช่ สภาพแห่งข้อหา ที่ จำเป็น ต้อง บรรยาย หรือ กล่าว ใน ฟ้อง แต่ อย่างไรก็ ดี โจทก์ ได้ กล่าว ใน ฟ้อง ด้วย ว่า โจทก์ ทวงถาม ค่าเสียหาย ตลอดมาจำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ชดใช้ ให้ ตาม ที่ โจทก์ เรียกร้อง แต่ ใน ที่สุดจำเลย ที่ 2 จะ ชดใช้ ให้ เพียง 10,000 บาท โจทก์ ไม่ ตกลง จำเลย ที่ 2ไม่ได้ ให้การ ปฏิเสธ ฟ้องโจทก์ ใน ข้อ นี้ ถือได้ว่า จำเลย ที่ 2 ยอมรับ ว่าหลัง เกิดเหตุ ละเมิด แล้ว จำเลย ที่ 2 ยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย 10,000 บาทแก่ โจทก์ แต่ โจทก์ ไม่ ตกลง ที่ จำเลย ที่ 2 ให้การ ต่อสู้ ว่า คดี โจทก์ขาดอายุความ โจทก์ จึง นำสืบ ได้ว่า คดี โจทก์ ไม่ขาดอายุความ เพราะ เหตุใดข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า เมื่อ เดือน กันยายน 2532 จำเลย ที่ 2 ยอม ชดใช้ค่าเสียหาย 10,000 บาท แก่ โจทก์ แสดง ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ ยก อายุความขึ้น ปฏิเสธ ความรับผิด ค่าเสียหาย ต่อ โจทก์ ตาม ที่ เรียกร้อง แต่อย่างใดดังนี้ แม้ สิทธิเรียกร้อง ของ โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว ก็ ตาม แต่ พฤติการณ์ของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว ย่อม ถือ เป็น การแสดง ออก โดย ปริยาย ว่า ได้ ละ เสียซึ่ง ประโยชน์ แห่ง อายุความ นั้น แล้ว การ ละ เสีย ซึ่ง ประโยชน์ แห่งอายุความ หา จำต้อง แสดง เจตนา โดยชัดแจ้ง เพียง อย่างเดียว ดัง ที่จำเลย ที่ 2 ฎีกา ไว้ ไม่ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่อาจ อ้าง อายุความ มา เป็นข้อ ตัด ฟ้อง เพื่อ ปฏิเสธ ความรับผิด ตาม นัย แห่ง ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 192 เดิม (มาตรา 193/24 ใหม่ ) การ นับ อายุความจึง เริ่ม นับ ต่อไป ใหม่ เสมือน ไม่เคย นับ อายุความ มา ก่อน โดย ถือ อายุความแห่ง มูลหนี้เดิม คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง เรียกร้อง ให้ ชดใช้ ค่าเสียหาย อัน เกิดแต่ มูลละเมิด โจทก์ ยื่น คำฟ้อง เมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2532นับ อายุความ เริ่ม ต่อไป ใหม่ ตั้งแต่ เดือน กันยายน 2532 จน ถึง วันฟ้องยัง ไม่เกิน 1 ปี คดี โจทก์ เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ขาดอายุความ ”
พิพากษายืน