แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา13มิได้บังคับว่าในการพิจารณาของศาลทุกครั้งจะต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศในกรณีที่จำเลยเป็นชาวต่างประเทศการจะให้มีล่ามแปลหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แม้ในวันสอบคำให้การจำเลยศาลชั้นต้นจะมิได้จัดล่ามแปลคำฟ้องเป็นภาษาอังกฤษให้แก่จำเลยซึ่งเป็นชาวออสเตรเลียฟังแต่จำเลยยังมิได้ให้การในวันนั้นโดยได้แต่งตั้งทนายความและยื่นคำให้การต่อศาลในอีกหนึ่งเดือนต่อมาโดยมีลายมือชื่อของล่ามลงไว้ด้วยแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องที่ศาลได้อ่านให้ฟังในวันสอบคำให้การจำเลยแล้วทั้งต่อมาก็ปรากฏว่ามีล่ามแปลทุกครั้งที่มีการพิจารณาคดีจึงไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนและพิจารณาพิพากษาใหม่
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย ทั้ง สองตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ตาม ฟ้อง โจทก์ จำเลย ที่2 ฎีกา ว่า ศาล มิได้ ปฏิบัติ ให้ เป็น ไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 โดย ไม่ มี ล่าม แปล ให้จำเลย ที่ 2 ใน วัน ชี้สองสถาน กระบวน พิจารณา ของ ศาล ทั้งหมด เป็นโมฆะ ขอ ให้ สั่ง ยกเลิก กระบวน พิจารณา ศาลชั้นต้น ทำการ พิจารณาและ พิพากษา ใหม่ ต่อไป
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า ใน วัน ชี้สองสถาน ของ ศาลอาญา ปรากฏตาม รายงาน กระบวน พิจารณา ลง วันที่ 1 กรกฎาคม 2526 ว่า ใน การ ที่ศาล อ่าน คำฟ้อง และ อธิบาย คำฟ้อง ให้ จำเลย ทั้งสอง ฟัง นั้น ไม่ปรากฏ ว่า ได้ ใช้ ล่าม แปล ภาษา ไทย เป็น ภาษา อังกฤษ ให้ จำเลยทั้งสอง ซึ่ง เป็น ชาว ออสเตรเลีย ฟัง ใน รายงาน กระบวน พิจารณา มีว่า จำเลย ขอ ต่อสู้ คดี และ จะ ให้การ ใน วันนัด พิจารณาคดี และจำเลย ทั้งสอง จะ หา ทนายความ เอง จึง มี ปัญหา ตาม ที่ จำเลย ที่2 ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น ไม่ ปฏิบัติ ให้ เป็น ไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 นั้น จะ เป็น เหตุ ให้เพิกถอน กระบวน พิจารณา ทั้งหมด ของ ศาลชั้นต้น หรือไม่ เห็นว่า ในวัน ชี้สองสถาน แม้ จะ ไม่ มี ล่าม แปล ให้ จำเลย ทั้งสอง ฟัง ก็ ตามแต่ ต่อมา ปรากฏ ว่า ใน วันที่ 2 สิงหาคม 2526 จำเลย ทั้งสอง ได้แต่งตั้ง ทนายความ และ ยื่น คำให้การ ต่อ ศาล โดย มี ลายมือชื่อ ของล่าม ได้ ลง ไว้ ด้วย จึง แสดง ให้ เห็น ว่า จำเลย ทั้งสอง ต่าง เข้าใจคำฟ้อง ที่ ศาล ได้ อ่าน ให้ ฟัง ใน วัน ชี้สองสถาน แล้ว นอกจากนี้ปรากฏ ตาม รายงาน กระบวน พิจารณา ของ ศาล ภายหลัง ที่ มี การ สืบพยานโจทก์ และ จำเลย ทุกครั้ง ว่า มี ล่าม แปล โดย ล่าม ได้ ลง ลายมือชื่อไว้ ใน รายงาน กระบวน พิจารณา เมื่อ ได้ พิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ซึ่ง บัญญัติ ว่า ใน การพิจารณา ให้ ใช้ ภาษา ไทย แต่ ถ้า มี การ จำเป็น ต้อง แปล ภาษา ไทยเป็น ภาษา ต่างประเทศ ก็ ให้ ใช่ ล่าม แปล บทบัญญัติ ดังกล่าว มิได้บังคับ ว่า ใน การ พิจารณา ของ ศาล ทุกครั้ง จะ ต้อง แปล ภาษา ไทยเป็น ภาษา ต่างประเทศ ใน กรณี ที่ จำเลย เป็น ชาวต่างประเทศ การ จะใช้ ล่าม แปล หรือไม่ จึง เป็น ดุลพินิจ ของ ศาล การ ที่ ศาลชั้นต้นมิได้ ใช้ ล่าม แปล ใน วันชี้ สองสถาน ดังกล่าว มา แล้ว น่าเชื่อ ว่าศาลชั้นต้น ได้ พิจารณา เล็งเห็น ว่า ยัง ไม่ จำเป็น เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏ ต่อมา ว่า การ ยื่น คำให้การ ของ จำเลย ทั้งสอง โดย แต่งทนายความ ให้ ว่าต่าง และ ต่อมา มี ล่าม แปล ทุกครั้ง ที่ มี การพิจารณา นั้น ดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้น ไม่ ได้ ใช้ ล่าม แปล ใน วันชี้สองสถาน จึง ไม่ ทำ ให้ กระบวน พิจารณา ของ ศาล เสีย ไป อัน จะเป็น เหตุ ให้ เพิกถอน และ พิจารณา พิพากษา ใหม่ ฎีกา จำเลย ที่ 2ฟัง ไม่ขึ้น
พิพากษายืน