คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352-353/2521

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

สัญญาจะซื้อขายที่ดินกำหนดโอนกรรมสิทธิ์เมื่อที่ดินพ้นจากการอายัด อายุความมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ที่ดินพ้นจากการอายัด เกินนั้นไปผู้ซื้อฟ้องให้ผู้ขายโอนไม่ได้ขาดอายุความ

ย่อยาว

จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “ปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยมีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยคดีของนางกานดาโจทก์ว่า คดีขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่ก่อน พิเคราะห์แล้วนางกานดาเป็นผู้รับมรดกของนางสาวจำรวยทางพินัยกรรม นางกานดาจึงได้สิทธิเรียกร้องตามพินัยกรรมให้นางสาวอนงค์โอนที่พิพาทให้ตนตามสัญญาจะซื้อขายนั้น การนับอายุความใช้สิทธิเรียกร้องให้นางสาวอนงค์โอนที่พิพาทให้ก็ต้องนับจากวันที่นางสาวจำรวยคู่สัญญากับนางสาวอนงค์มีสิทธิเรียกร้องบังคับจากนางสาวอนงค์ได้เป็นต้นไป คือนับตั้งแต่ที่พิพาทผ่านพ้นจากการอายัดของนางสาวประจงกับพวกตามเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายแล้ว ทั้งนี้ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2500 ซึ่งเป็นวันพ้นจากการอายัดมาจนถึงวันที่นางสาวจำรวยตายตอนหนึ่ง หลังจากนั้นนางกานดาก็ได้สิทธิเรียกร้องของนางสาวจำรวยตามพินัยกรรมสืบเนื่องติดต่อจากนางสาวจำรวยต่อมาในอันที่จะเรียกร้องให้นางสาวอนงค์โอนที่พิพาทให้แก่นางกานดา แต่นางกานดาก็ละเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาเกิน 10 ปี แล้วจึงฟ้องนางสาวอนงค์ให้โอนที่พิพาทให้ตามสิทธิเรียกร้องในพินัยกรรมของนางสาวจำรวย คดีของนางกานดาโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้อง”

พิพากษายืน

Share