แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยที่1ต้องโทษจำเลยจำคุกอยู่ในเรือนจำจังหวัดสงขลาเรือนจำดังกล่าวมิใช่ท้องที่ที่จำเลยที่1มีถิ่นที่อยู่จึงไม่อาจถือว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่1ขณะฟ้องโจทก์ทั้งห้าจะฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลชั้นต้นมิได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิมโจทก์ทั้งห้าต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยที่1มีภูมิลำเนาคือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาแต่เนื่องจากขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา4(1)บัญญัติว่า”คำฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”เช่นนี้จึงทำให้โจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วยศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจรับฟ้องโจทก์ทั้งห้าไว้พิจารณา จำเลยที่2ต้องเสียค่าบริการให้จำเลยที่3เป็นรายวันเพื่อตอบแทนการนำรถเข้าร่วมแล่นกับจำเลยที่3การเดินรถคันเกิดเหตุจึงเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่2และที่3ฉะนั้นการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุโดยรับจ้างจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่3ด้วย
ย่อยาว
คดี ทั้ง ห้า สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกันโดย เรียก โจทก์ ใน สำนวน แรก ว่า โจทก์ ที่ 1 โจทก์ ใน สำนวน ที่ สอง ว่า โจทก์ที่ 2 โจทก์ ใน สำนวน ที่ สาม ว่า โจทก์ ที่ 3 โจทก์ ใน สำนวน ที่ สี่ ว่าโจทก์ ที่ 4 และ โจทก์ ใน สำนวน ที่ ห้า ว่า โจทก์ ที่ 5 ตามลำดับ
โจทก์ ทั้ง ห้า สำนวน ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง โดย โจทก์ ที่ 3ถึง ที่ 5 ได้รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คนอนาถา ใจความ ว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2530 เวลา กลางวัน จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์โดยสาร คัน หมายเลข ทะเบียน 10-0203 นครศรีธรรมราช รับ ส่ง คนโดยสารไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 โดย แล่น จาก จังหวัด สงขลามุ่งหน้า ไป ทาง อำเภอ ระโนดด้วย ความ เร็ว สูง เกินกว่า อัตรา ที่ กฎหมายกำหนด เมื่อ ถึง บริเวณ ที่เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์โดยสาร แซง ขึ้น หน้า รถยนต์ อีก คัน หนึ่ง เข้า ไป ใน ช่อง เดินรถ ที่ สวน มาและ ได้ พุ่งเข้า ชน รถยนต์กระบะ ที่นาย เจือ สามี โจทก์ ที่ 2 ขับ สวน มา อย่าง แรง เป็นเหตุ ให้ นาย เจือ และ ผู้โดยสาร มา ใน รถ อีก 4 คน ถึงแก่ความตาย ทั้งหมด จำเลย ที่ 1 ได้ ถูก ดำเนินคดี อาญาที่ ศาลชั้นต้น ใน ข้อหา ขับ รถ โดยประมาท เป็นเหตุ ให้ ผู้อื่น ถึงแก่ความตายและ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำพิพากษา ให้ จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด 2 ปี6 เดือน การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว เป็น การกระทำ ละเมิดใน ทางการที่จ้าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง เป็น นายจ้าง จึง ต้องร่วมรับผิด ใน ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น ต่อ โจทก์ ทั้ง ห้า ขอให้ จำเลยทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง ห้า พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา ทั้ง ห้า สำนวน
จำเลย ที่ 2 ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ ทั้ง ห้าเกี่ยวกับ การ จัดการ ศพ ของ ผู้ตาย เป็น ฟ้อง ที่ เคลือบคลุม จำเลย ที่ 2มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เขตอำนาจศาล จังหวัด นครศรีธรรมราช โจทก์ ทั้ง ห้าจึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 2 ต่อ ศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
จำเลย ที่ 3 ทั้ง ห้า สำนวน ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่าจำเลย ที่ 3 ไม่ได้ มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เขตอำนาจศาล ชั้นต้น โจทก์ ทั้ง ห้าไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 3 ที่ ศาลชั้นต้น โจทก์ ทั้ง ห้า ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหาย ตาม ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 100,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 2เป็น เงิน 240,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 3 เป็น เงิน 100,000 บาท ให้ แก่โจทก์ ที่ 4 เป็น เงิน 100,000 บาท และ ให้ แก่ โจทก์ ที่ 5 เป็น เงิน100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันชำระ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 จำนวน 40,000 บาท โจทก์ ที่ 2 จำนวน223,200 บาท
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม คำฟ้อง โจทก์ ทั้ง ห้า ระบุ ว่า จำเลย ที่ 1มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เรือนจำจังหวัด สงขลา เนื่องจาก จำเลย ที่ 1ต้องโทษ จำคุก อยู่ ใน เรือนจำ ดังกล่าว มี กำหนด 2 ปี 6 เดือน เรือนจำจังหวัด สงขลา มิใช่ ท้องที่ ที่ จำเลย ที่ 1 มี ถิ่นที่อยู่ จึง ไม่อาจถือว่า เป็น ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ 1 ขณะที่ โจทก์ ทั้ง ห้า ยื่นฟ้องโจทก์ ทั้ง ห้า จะ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ต่อ ศาลชั้นต้น มิได้ ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)เดิม โจทก์ ทั้ง ห้าต้อง ฟ้อง ต่อ ศาล ที่ จำเลย ที่ 1 มี ภูมิลำเนา คือ ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลชั้นต้น ไม่มี อำนาจ พิจารณา พิพากษา ได้ แต่ เนื่องจากขณะ คดี นี้ อยู่ ใน ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ได้ มีพระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 ซึ่ง ใช้ บังคับ แล้ว แก้ไข เพิ่มเติม มาตรา 4(1)บัญญัติ ว่า “คำฟ้อง ให้ เสนอ ต่อ ศาล ที่ จำเลย มี ภูมิลำเนา ใน เขต ศาล หรือต่อ ศาล ที่ มูลคดี เกิดขึ้น ใน เขต ศาล ไม่ว่า จำเลย จะ มี ภูมิลำเนา อยู่ ในราชอาณาจักร หรือไม่ ” เช่นนี้ จึง ทำให้ โจทก์ ทั้ง ห้า มีอำนาจ ฟ้องคดี ต่อ ศาลชั้นต้น ซึ่ง เป็น ศาล ที่ มูลคดี เกิด ได้ ด้วย ศาลชั้นต้น จึง มีอำนาจ รับฟ้อง โจทก์ ทั้ง ห้า ไว้ พิจารณา และ วินิจฉัย ต่อไป ว่า การ ที่จำเลย ที่ 2 ต้อง เสีย ค่าบริการ ให้ จำเลย ที่ 3 เป็น เงิน 40 บาท ต่อ วันเพื่อ ตอบแทน การ นำ รถ เข้าร่วม แล่น กับ จำเลย ที่ 3 การ เดินรถ คัน เกิดเหตุจึง เป็น กิจการ ร่วมกัน ระหว่าง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฉะนั้น การ ที่จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ใน ขณะ เกิดเหตุ โดยรับจ้าง จำเลย ที่ 2 จึง เป็น การกระทำ ของ ลูกจ้าง ใน ทางการที่จ้าง ของจำเลย ที่ 2 จึง เป็น การกระทำ ของ ลูกจ้าง ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 3ด้วย
พิพากษายืน